รีเซต

ฟังเสียงของดวงจันทร์แกนีมีดบริวารของดาวพฤหัสบดีที่ถูกส่งมาจากยาน Juno

ฟังเสียงของดวงจันทร์แกนีมีดบริวารของดาวพฤหัสบดีที่ถูกส่งมาจากยาน Juno
TNN ช่อง16
20 ธันวาคม 2564 ( 17:20 )
640

นาซาเปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากภารกิจยานสำรวจ Juno แสดงให้เห็นว่าอวกาศนั้นไม่ได้เงียบสงบและมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ยานสำรวจ Juno ส่งข้อมูลเสียงที่เกิดขึ้นจากบริเวณรอบดวงจันทร์แกมีมีด (Ganymede) ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี โดยเสียงที่ถูกส่งมามีความยาวประมาณ 50 วินาที การบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2021 นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเสียงดังกล่าวเกิดขึ้นจากกิจกรรมบริเวณสนามแม่เหล็กรอบดวงจันทร์แกนีมีด


นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วดาวพฤหัสบดีเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะและมีสนามแม่เหล็กความแรงสูงรบกวนดวงจันทร์บริวารตลอดเวลา อิทธิพลของสนามแม่เหล็กดาวพฤหัสบดีมีผลต่อกับดวงจันทร์แกนีมีดซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่มีสนามแม่เหล็กล้อมรอบทำให้เกิดเสียงที่มาจากความถี่ไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ข้อมูลใหม่ที่ถูกนำเสนอนี้เกิดขึ้นในระหว่างการเปิดเผยข้อมูลการสำรวจดาวพฤหัสบดีที่ได้จากยานสำรวจ Juno


ยานสำรวจ Juno ถูกออกแบบและพัฒนาโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาและห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นเจพีแอล ภารกิจหลักของยานอวกาศลำนี้ คือ การเดินทางไปสำรวจดาวพฤหัสบดี ยานออกเดินทางจากโลกในวันที่ 5 สิงหาคม 2011 เข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสบดีในวันที่ 5 กรกฎาคม 2016 โดยยานจะโคจรรอบดาวพฤหัสบดีประมาณ 37 รอบ ตลอดระยะเวลาภารกิจ 20 เดือน นอกจากอุปกรณ์สำรวจที่ทันสมัยยานสำรวจลำนี้ยังบรรทุกแผ่นโลหะจารึกชื่อ รูปภาพและข้อความการค้นพบดวงจันทร์ของกาลิโลโอ กาลิเลอี ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสำนักงานอวกาศอิตาลี (ASI) เพื่อเป็นเกียรติให้กับการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ด้านอวกาศของกาลิโลโอ กาลิเลอี ในปี 1610


นอกจากข้อมูลเสียงที่ได้จากดวงจันทร์แกมีมีด (Ganymede) ยานสำรวจ Juno ยังส่งข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับวงการอวกาศกลับมายังโลกอีกมากมาย เช่น การวัดสภาพแวดล้อมการแผ่รังสีใกล้ดวงจันทร์แกนีมีด การถ่ายภาพพื้นผิวระยะใกล้ของดวงจันทร์แกนีมีด ภาพถ่ายความละเอียดสูงของดาวพฤหัสบดี การเฝ้าสังเกตการณ์จุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บานดาวพฤหัสบดีความกว้าง 16,000 กิโลเมตร ความลึก 300-500 กิโลเมตร ยานสำรวจ Juno มีกำหนดการเสร็จสิ้นภารกิจในช่วงเดือนกันยายน 2025




ข้อมูลจาก engadget.com 

ภาพจาก jpl.nasa.gov

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง