เจาะ! แผนบริหารวัคซีนโควิด-19 ก่อนฉีดจริงทั่วประเทศ
วันที่ 7 มิถุนายน 2564 นี้ จะเป็นการปูพรมฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไปทุกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งต้องฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของจำนวนประชาชนในแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีการระบาด เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
แต่ล่าสุดมีโรงพยาบาลหลายแห่งเลื่อนรับวัคซีนแอสตราเซเนกา เข็มที่ 2 เนื่องจากวัคซีนไม่เพียงพอต่อการฉีดทำให้ หลายคนเริ่มเป็นกังวลต่อการฉีดว่าจะได้เริ่มฉีดเมื่อไหร่ หากฉีดเข็มที่ 1 แล้ว ต้องรอเข็มที่ 2 อีกนานแค่ไหน วันนี้ TrueID จึงสรุปแผนการบริหารจัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาฝากกัน แต่ต้องขอแจ้งก่อนว่า แผนการบริหารอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
สรุป “วัคซีนแอสตราเซเนกา” จะเพียงพอไหม?
วัคซีนแอสตราเซเนกาจะส่งมาเดือน มิถุนายน 2564 ตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข แต่ปัจจุบันไทยมีเพียงวัคซีนซิโนแวค โดยขณะนี้รอล็อตลีลีสประมาณ 2.5 ล้านโดส และเดือนมิถุนายน จะสั่งอีก 3 ล้านโดสเป็นอย่างน้อย นำมาประกบกับวัคซีนแอสตราฯอีกด้วย
การฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกา เข็มที่ 2 จะมีการประกาศขยายเวลาการฉีดเข็มไปก่อน จากเดิมรับเข็มที่ 2 ประมาณ 10 สัปดาห์ เปลี่ยนเป็น 16 สัปดาห์แทน หรือ ฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกาเข็มที่ 1 เดือนมิถุนายน 2564 ส่วนเข็มที่ 2 เป็นเดือนตุลาคม 2564
สำหรับแผนการฉีดวัคซีนในกลุ่มบุคคลทั่วไป ที่จะเริ่มในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ จะใช้วัคซีนแอสตราเซนเนกาเป็นหลักตามที่มีวัคซีนเข้ามา ส่วนวัคซีนซิโนแวคเป็นส่วนเสริม ที่เริ่มมีการฉีดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา
แผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประเทศไทย
ประเทศไทย ได้กำหนดให้วัคซีนแอสตราเซเนกาเป็นวัคซีนหลักสำหรับการป้องกันโรคโควิด 19
- มิถุนายน-กันยายน 2564 มีแผนการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาจำนวน 36 ล้านโดส เพื่อฉีดวัคซีนปูพรมเป็นเข็มที่ 1
- ตุลาคม-ธันวาคม 2564 มีแผนการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เป็นเข็มที่ 2
กลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนโควิด-19
1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
2. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 หรือบริการประชาชน และมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
3. ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว
4. ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
5. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค เช่น ครู พนักงานขับรถสาธารณะ ชาวไทยที่จะไปศึกษา/ทำงาน/ประกอบธุรกิจยังต่างประเทศ
6. คณะทูตานุทูตและครอบครัวรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ
7. ประชาชนทั่วไป
8. ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม
9. นักธุรกิจ/ผู้ประกอบการ/ชาวต่างชาติ/แรงงานต่างด้าว ที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย
10. อื่นๆ ตามความจำเป็น และสถานการณ์การระบาด
หลักการสำคัญในการฉีดวัคซีนจากกระทรวงสธ.
1. เพื่อให้ประชากร ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 50 ล้านคน ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ร้อยละ 70 ภายในเดือนกันยายน 2564 ด้วยความสมัครใจ (จำเป็นต้องใช้วัคซีนชนิดอื่นเพิ่มเติมอีก 11 ล้านโดส)
2. ผู้ที่ลงทะเบียนผ่านระบบหมอพร้อมจะได้รับประกันการจัดสรรวัคซีน
3. ควบคุมการแพร่เชื้อในพื้นที่ระบาดรุนแรงให้สงบโดยเร็ว
4. เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิตในประชากรกลุ่มเสี่ยง
5. เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศตามแผนที่กำหนด
แผนการส่งมอบวัคซีนโควิด-19
โดยตั้งแต่เดือน มิถุนายน เป็นต้นไป วัคซีนแอสตราเซเนกาจะเป็นวัคซีนหลักสำหรับการป้องกันโรคโควิด 19
ภาครัฐจัดหาวัคซีนอื่นๆเพิ่ม
วัคซีนไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเท็ค จำนวน 20 ล้านโดส
วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน จำนวน 10 ล้านโดส
วัคซีนซิโนแวค จำนวน 7 ล้านโดส
หมายเหตุ กำลังจัดหาเพิ่มเติม 37 ล้านโดส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตและส่งมอบวัคซีนจากบริษัทผู้ผลิต
การเตรียมความพร้อมการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19
ระยะที่ 1 ตั้งแต่ปัจจุบัน – 6 มิถุนายน 2564
ทยอยฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สธ.กำหนด ตามโควตาวัคซีนแต่ละหน่วยงาน / องค์กร ได้รับ
เตรียมความพร้อมการลงทะเบียน
- ทำแผนการกระจายวัคซีนโควิด โดยแต่ละจังหวัดลำดับวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19
- สำรวจหน่วยงานที่เข้ามาร่วมฉีดวัคซีนโควิดทั้งหมดในระบบ (มท. กทม. อว. คค. กท. รง. กต.)
- แจ้งแผนกระจายวัคซีนโควิด ให้หน่วยงานต่างๆทราบเพื่อกำหนด Slot การจอง
ระยะที่ 2 วันที่ 7 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
เริ่มการฉีดวัคซีนทั้งระบบเป็นวาระแห่งชาติ โดยฉีดให้แก่บุคคลกลุ่มต่อไปนี้
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ยังไม่รับวัคซีน
- เจ้าหน้าที่อื่นด่านหน้า และกลุ่มอาชีพเสี่ยงติดเชื้อ รวมทั้งผู้มีอาชีพ / กิจการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน เช่น สาธารณูปโภค อาหาร ยา
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
- ตัวแทนนักกีฬาไปแข่งขันต่างประเทศ
- นักเรียน / นักศึกษาไปศึกษาต่างประเทศ
- วัยทำงานผู้มีสิทธิประกันสังคม
- ประชาชนทั่วไป
เปิดขั้นตอนการนัดหมายฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบกลุ่ม << คลิก
แผนกำหนดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามกลุ่มเป้าหมาย
3 ช่องทางกระจายฉีดวัคซีน รับมือโควิด-19
1.ลงทะเบียนหมอพร้อม ประกอบด้วย LINE และ App หมอพร้อม ซึ่งที่ผ่านมาได้เปิดให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรคลงทะเบียนแล้ว และจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปอายุต่ำกว่า 60 ปี ลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 31 พ.ค.นี้
เช็ก! ขั้นตอนการลงทะเบียน "หมอพร้อม" ฉีดวันไหนบ้าง << คลิก
2.การลงทะเบียน ณ จุดบริการ หรือ On-site Registration ช่องทางนี้ปรับจากการเรียกว่า วอร์คอิน (Walk in) โดยจุดบริการจะมีระบบรองรับและแจ้งประชาชนเมื่อเดินทางไปลงทะเบียนว่า มีวัคซีนสนับสนุนเพียงพอ ณ จุดบริการในวันนั้นหรือไม่ หากมีความพร้อมสามารถฉีดได้เลย หากไม่เพียงพอสามารถลงทะเบียนเพื่อนัดฉีดในวันอื่นได้
3.การจัดสรรฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเฉพาะ เน้นจัดสรรวัคซีนไปยังประชาชนกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่มีความจำเป็นพิเศษ หรือมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต เช่น บุคลากรทางการแพทย์ อสม. ทหาร ตำรวจ ครู อาจารย์ ผู้ขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์สาธารณะ พนักงานรถไฟและรถไฟฟ้า พนักงานโรงแรม คณะทูต นักธุรกิจ นักเรียน นักศึกษาที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ คนพิการ ฯลฯ
สำหรับช่องทางที่ 3 ประชาชนสามารถติดต่อนัดหมายผ่านสถานพยาบาล หรือ อสม. ได้โดยตรง หรือหากเป็นกลุ่มบุคคลหรือสมาคมที่มีเหตุผลความจำเป็นเร่งด่วน ก็สามารถยื่นเรื่องต่อกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาจัดสรรวัคซีนและจัดเตรียมสถานที่ฉีดต่อไป
ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด ไม่ Walk in แต่เป็น On-site แตกต่างกันยังไง << คลิก
จุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19
ต่างจังหวัด 779,868 คน / วัน
- จุดฉีดวัคซีนในโรงพยาบาล 993 แห่ง
- โรงพยาบาลสนาม 261 แห่ง
- On-site Registration 221 แห่ง
กรุงเทพมหานคร 80,000 คน / วัน
- ความร่วมมือกับหอการค้า 25 จุด
-โรงพยาบาล 126 แห่ง
- หน่วยบริการเชิงรุก
- หน่วยบริการของ อว. และ ปกส.
- รพ.ในสังกัด สธ.
รวม มี โรงพยาบาล เอกชน ที่ไหนบ้าง? เปิดขั้นตอนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด << คลิก
ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข , เพจไทยคู่ฟ้า , Hfocus
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก เข็มฉีดยา Low Dead-Space Syringe สำหรับฉีดวัคซีนโควิด คุ้มทุกหยดปราบหมดทุกเชื้อ
- รวมบริจาคช่วยคลัสเตอร์โรงงานแคลคอมพ์ และโรงพยาบาลสนาม ม.ศิลปากร และโรงพยาบาลอื่นๆ สู้วิกฤตโควิด-19 (อัปเดต 24 พ.ค.)
- 10 วิธีสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องโควิด-19 ด้วยตัวเอง
- โควิด-19 : ใส่หน้ากากอนามัยนาน เสี่ยงภาวะเลือดเป็นกรด?
- ถูกเลื่อนหรือยกเลิกคิวจองฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านหมอพร้อม ต้องทำอย่างไร