รีเซต

โควิด-19 : ใส่หน้ากากอนามัยนาน เสี่ยงภาวะเลือดเป็นกรด?

โควิด-19 : ใส่หน้ากากอนามัยนาน เสี่ยงภาวะเลือดเป็นกรด?
Ingonn
20 พฤษภาคม 2564 ( 11:34 )
381
โควิด-19 : ใส่หน้ากากอนามัยนาน เสี่ยงภาวะเลือดเป็นกรด?

ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องทำให้หลายจังหวัดต้องออกกฎหมายควบคุมโรคด้วยการใส่หน้ากากอนามัยนอกเคหะสถาน จนทำให้การใส่หน้ากากอนามัยยาวนานกว่า 10 ชม.ใน 1 วัน ซึ่งเคยมีโพสต์บางโพสต์ หรือการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ว่า “การใส่หน้ากากอนามัยนานเกินไปทำให้เลือดเป็นกรด” แต่ข้อมูลนี้จริงหรือ

 

 

ตัวอย่างข้อมูลการแชร์เกี่ยวกับ “การใส่หน้ากากอนามัยนานเกินไปทำให้เลือดเป็นกรด”

 

 

 

ภาพที่อยู่ในโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิดถูกนำมาดัดแปลงมาจากภาพต้นฉบับของ WikiJournal of Medicine โดยเป็นผลงานของ Mikael Häggström แพทย์ชาวสวีเดนและผู้สร้างเว็บไซต์ WikiJournal of Medicine

 

แต่ภาพต้นฉบับไม่มีข้อความที่เขียนว่า “การใส่หน้ากากอย่างต่อเนื่อง” จะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด

 

เปรียบเทียบภาพถ่ายหน้าจอระหว่างโพสต์ที่ทำให้เข้าใจผิด (ซ้าย) และภาพต้นฉบับจาก WikiJournal (ขวา)

 

 


วันนี้ TrueID จึงรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะเลือดเป็นกรด ที่เกิดจากการใส่หน้ากากอนามัยที่นานเกินไป เกี่ยวข้องกันจริงหรือไม่ เรื่องราวเป็นอย่างไร ไปดูกัน

 

 


รู้จักภาวะเลือดเป็นกรด


ภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) เป็นภาวะที่ของเหลวในร่างกายไม่สมดุลกันทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด และมีอันตรายต่อสุขภาพ ในทางการแพทย์ค่า PH ของเลือดในคนปกติจะอยู่ที่ 7.35-7.45 ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนก๊าซ ภาวะเลือดเป็นกรดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท หากเกิดจากปอดจะเรียกว่า ภาวะกรดจากระบบหายใจ (Carbondioxide Acidosis) แต่หากเกิดจากการทำงานของไตจะเรียกว่า ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ (Metabolic Acidosis) ภาวะกรดจากระบบหายใจ ซึ่งเกิดได้จากสาเหตุป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินหายใจอุดกั้น เรื้อรัง โรคทางระบบประสาท หรือการรับประทานยา ที่กดประสาท ทำให้การหายใจลดลง

 


ภาวะเลือดเป็นกรดจากระบบหายใจและกระบวนการเผาผลาญส่วนใหญ่จะมีอาการหลาย ๆ อย่างคล้ายกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นหลัก

 

 

ภาวะกรดจากระบบหายใจ


1.อ่อนเพลีย เซื่องซึม


2.เหนื่อยง่ายกว่าปกติ


3.รู้สึกสับสน


4.ปวดศีรษะ


5.บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการไม่รู้ตัว หรือเสียชีวิต

 

 

ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ


1.หายใจตื้นและถี่


2.รู้สึกสับสน


3.อ่อนเพลีย


4.ปวดศีรษะ


5.อาเจียน เบื่ออาหาร 


6.อาการดีซ่าน


7.หัวใจเต้นเร็วขึ้น


8.ในกรณีที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลมหายใจอาจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ (Ketoacidosis)

 

 

 

ใส่หน้ากากอนามัยนานเสี่ยงภาวะเลือดเป็นกรด?


การใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้านานๆ อาจทำให้หายใจอึดอัด เกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ แต่ยังไม่มีการวิจัยรองรับว่าทำให้เลือดเป็นกรด เพราะภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) คือความผิดปกติของเลือดหรือของเหลวในร่างกายที่ไม่สมดุลทำให้เลือดมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น โดยภาวะนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ได้แก่ โรคทางเดินหายใจอุดกั้น การรับประทานยากดประสาท การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือการได้รับบาดเจ็บทางช่องอก ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด อึดอัด หายใจไม่ออก สบสน มึนงง เวียนศีรษะ

 

 

 

คำแนะนำการใส่หน้ากากอนามัย


การใส่หน้ากากอนามัย/ผ้านานๆ อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะและอ่อนเพลียได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการสวมหน้ากากอนามัยแบบ N95 ซึ่งเป็นหน้ากากที่ออกแบบมาสำหรับวงการแพทย์ใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้อโรค หน้ากากจึงแนบสนิทกับใบหน้า ไม่ระบายอากาศ ทำให้ต้องออกแรงหายใจมากขึ้น และอาจทำให้ขาดออกซิเจนจนถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้ ดังนั้นควรเลือกใช้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา หรือแบบผ้าที่มีช่องลมระบายอากาศด้านข้างทำให้สามารถใส่ได้หลายชั่วโมงและไม่มีปัญหากับระบบทางเดินหายใจ สำหรับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยง การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่ต้องใส่หน้ากากนานๆ

 

 

 

 

 

การใส่หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

 

คำแนะนำสำหรับหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป


ควรใส่ให้พอดีกับใบหน้า หันด้านที่มีสีออก หากเป็นแบบไม่มีสี ให้สังเกตรอยพับของหน้ากากอนามัย หากมุมของรอยพับชี้ลงด้านล่าง ด้านนั้นจะเป็นด้านนอกของหน้ากากอนามัย ให้ด้านที่มีลวดอยู่ด้านบน และดึงหน้ากากอนามัยให้ครอบคลุมทั้งจมูกและปาก

 


คำแนะนำสำหรับหน้ากากอนามัยแบบ N95


ให้ถือหน้ากากอนามัยไว้ในอุ้งมือ แล้วครอบหน้ากากบริเวณปากและจมูก ดึงสายรัดที่อยู่ด้านล่างคล้องศีรษะ แล้วดึงลงไปบริเวณใต้ใบหู จากนั้นดึงสายรัดเส้นบนคล้องให้อยู่บริเวณหลังศีรษะ บีบบริเวณเส้น ลวดให้พอดีกับจมูก ทดสอบความพอดีของหน้ากากโดยใช้มือทั้งสองข้างทาบบริเวณหน้ากาก แล้วลองหายใจ หากหน้ากากพอดีกับใบหน้าเวลาหายใจเข้าหน้ากากจะยุบตัว หายใจออกจะพองตัวออก

 


สำหรับหน้ากากที่ใช้แล้วเปียกจากสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทันที และไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ ก่อนทิ้งควรนำหน้ากากที่ใช้แล้วใส่ถุงปิดให้มิดชิด หรือทิ้งในถังขยะติดเชื้อ และล้างมือทำความสะอาดเพื่อป้องกันการตกค้างของเชื้อโรค

 

 

 


ข้อมูลจาก AFP Thailand , กรมควบคุมโรค , พบแพทย์

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง