รีเซต

พบแสงออโรราสีแดงบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี

พบแสงออโรราสีแดงบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
TNN ช่อง16
21 กุมภาพันธ์ 2566 ( 15:41 )
138
พบแสงออโรราสีแดงบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี

ทีมนักดาราศาสตร์นำโดยนักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology) และมหาวิทยาลัยบอสตัน (Boston University) พบแสงออโรราสีแดงบนดวงจันทร์บริวารหลักทั้ง 4 ดวง ของดาวพฤหัสบดีหรือที่เรียกว่าดวงจันทร์กาลิเลียน (Galilien Moons) อันได้แก่ ไอโอ (Io), ยูโรปา (Europa), แกนิมีด (Ganimede) และคาลิสโต (Calisto)

กระบวนการสังเกตการ 

โดยทีมนักดาราศาสตร์ได้ใช้อุปกรณ์สเปกโตรมิเตอร์เอเชลความละเอียดสูง (HIRES) ของกล้องโทรทรรศน์เคค (Keck Observatory) ที่ตั้งอยู่บริเวณภูเขาไฟเมานาเคอา (Maunakea) ในรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกาหันไปทางดาวพฤหัสบดีขณะที่ดาวพฤหัสบดีกำลังเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์เพื่ออาศัยเงาของดาวพฤหัสบดีในการบังแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้เห็นแสงออโรราสีแดง เนื่องจากแสงดวงอาทิตย์ในยามปกติจะตกกระทบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์และสะท้อนกลับมายังโลก ส่งผลให้ผู้สังเกตการเห็นเป็นดวงจันทร์ส่องสว่างแต่ไม่อาจมองเห็นแสงออโรร่าได้

โดยแสงออโรราเผยให้เห็นองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศที่เบาบางของดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวง รวมถึงร่องรอยของออกซิเจนและโซเดียม รวมถึงไอน้ำอีกเล็กน้อย ซึ่งแสงออโรราของดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวง มีองค์ประกอบของออกซิเจนเช่นเดียวกับแสงออโรราสีเขียวบนโลกแต่เหตุผลที่ทำให้มันไม่เป็นสีเขียวก็เพราะก๊าซบนดวงจันทร์เหล่านั้นเบาบางกว่าบนโลกมาก แสงออโรราจึงเห็นเป็นสีแดงเข้มแทนสีเขียว


แสงออโรร่าสีเหลืองและสีส้ม 

นอกจากนี้ แสงออโรราจากดวงจันทร์ไอโอที่เป็น 1 ใน 4 ดวงจันทร์กาลิเลเลียนยังมีแสงสีเหลืองและแสงสีส้มปนด้วย เนื่องจากบนพื้นผิวดวงจันทร์ไอโอมีการปะทุของภูเขาไฟจึงทำให้การพวยพุ่งของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองซึ่งประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์และโพแทสเซียมคลอไรด์ทำให้เห็นเป็นสีเหลืองและสีส้มปน


ข้อมูลจาก Keck Observatory

ภาพจาก NASA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง