รีเซต

ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ หลังศาลฯ เคยยกฟ้องคดีทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง

ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ หลังศาลฯ เคยยกฟ้องคดีทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง
TeaC
22 สิงหาคม 2566 ( 11:16 )
337

ข่าววันนี้ สุเทพ คือใคร? หลังศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง คดีสุดอื้อฉาวสั่นสะเทือนแวดวงการเมือง วันนี้จะพาไปเปิด ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ

 

ประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ 

 

สำหรับประวัติ สุเทพ เทือกสุบรรณ ถือเป็นนักการเมืองชาวไทยระดับแถวหน้าที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเขาโล้ดแล่นเส้นทางการเมืองมาเป็นเวลายาวนาน เขาเคยนั่งเก้าอี้ "รองนายกรัฐมนตรี" ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

 

จากนั้น เขาลาออกจากพรรคในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เพื่อไปเป็นเลขาธิการ กปปส. ซึ่งดำเนินการประท้วงเพื่อพยายามโค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ถือว่าเป็นนักการเมืองชาวไทยที่ถูกพูถึงในแวดวงคอการเมืองไม่น้อย 

 

รวมทั้ง "คดีทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง" คดีสุดอื้อฉาวที่ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ชื่อนี้เข้าไปเอี่ยว โดยเกิดขึ้นมากกว่า 10 ปี และล่าสุด ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องสุเทพกับพวก ในฐานะจำเลยทั้งหมด 6 คน ในที่สุด

 

คดีทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง

สำหรับคดีนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1-6 ประกอบด้วย

  1. สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  2. พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ อดีตรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  3. พล.ต.ต.สัจจะ คชหิรัญ
  4. พ.ต.ท.สุริยา แจ้งสุวรรณ์
  5. บริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
  6. วิศณุ วิเศษสิงห์

โดยคดีโรงพักฉาวมีที่มาที่ไปจากการประชุม คณะรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2552 อนุมัติให้ก่อสร้างสถานีตำรวจ (ทดแทน) หรือ "โรงพักตำรวจ" จำนวน 396 แห่ง รวมวงเงินทั้งสิ้น 6,672 ล้านบาท


แต่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ระบุพฤติการณ์ว่า การทุจริตเกิดขึ้นเมื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ พล.ต.อ.ปทีป เปลี่ยนแนวทางจัดซื้อจัดจ้าง จากการแยกสัญญา เป็นการรวมสัญญา ให้ บริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้ชนะประมูลเจ้าเดียว ซึ่งได้งานไปในวงเงิน 5,848 ล้านบาท แต่ก็สร้างไม่เสร็จตามสัญญาอีก ส่งผลให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียหาย


โดยคดีดังกล่าวยืดเยื้อมานานจนถึงวันนี้ โดยศาลฎีกาก็เพิ่งมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องสุเทพกับพวก ในฐานะจำเลยทั้งหมด 6 คน 

 

ประวัติการศึกษา สุเทพ เทือกสุบรรณ 

  • สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร
  • ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 ระหว่างเป็นนักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกรรมการสโมสรนักศึกษา เป็นประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennessee State University สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518
  • ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาผู้นำธุรกิจสังคมและการเมือง จากวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

 

สุเทพ เทือกสุบรรณ กับตำแหน่งทางการเมือง

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 10 สมัย (พ.ศ. 2522, 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2550, 2554)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย (พ.ศ. 2544 และ 2548)
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย) พ.ศ. 2524
  • เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย) พ.ศ. 2524–2526
  • เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีบัญญัติ บรรทัดฐาน) พ.ศ. 2526–2529
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2529–2531
  • ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตร พ.ศ. 2531
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2535–2537
  • ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม พ.ศ. 2539
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2540–2543
  • กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2546–2548
  • เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548–2554
  • ประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำมันปาล์มแห่งชาติ พ.ศ. 2553–2554
  • ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2551–2554
  • ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) พ.ศ. 2553
  • ประธานคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ พ.ศ. 2553–2554
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา พ.ศ. 2551[24] และ พ.ศ. 2554
  • รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551–2554
  • พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย
  • พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน ผู้ร่วมก่อตั้งและสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย

 

ศาลฎีกา นัดชี้ชะตา สุเทพ วันนี้ 22 ส.ค.66

ศาลฎีกาฯ นัดฟังคำวินิจฉัยอุทธรณ์คดีสุเทพกับพวก ทุจริตโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทน-แฟลตตำรวจ 22 ส.ค. นี้ หลังเคยยกฟ้องเมื่อปี 65 ซึ่งเป็นวันเดียวที่ ทักษิณกลับไทย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง