รีเซต

เปิดผลวิจัยหลังคนไทย ฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" เข็ม 2 ต้านโควิดกว่า 50%

เปิดผลวิจัยหลังคนไทย ฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" เข็ม 2 ต้านโควิดกว่า 50%
Ingonn
24 มิถุนายน 2564 ( 16:58 )
137

หลังจากที่ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มทยอยฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยวัคซีนที่ใช้ฉีดในปัจจุบันตอนนี้มี 2 ชนิด ได้แก่วัคซีนซิโนแวคและวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ล่าสุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงผลวิจัยหลังคนไทย ฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" เข็มที่ 2 พบว่าต้านโควิด-19 ได้มากถึง 50%

 

 

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ต่อการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด พบหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2 สัปดาห์ จำนวน 171 คน มากกว่า 70% มีภูมิในระดับยับยั้งเชื้อสูงกว่า 50% 

 

 

เฟซบุ๊กคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผย ผลการวิจัยในคนไทย หลังฉีดวัคซีน Sinovac ระบุว่า 

 

 

ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐ) ได้ทำการทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีน Sinovac 2 เข็ม ต่อการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส SARS-CoV-2 ในห้องทดลอง พบว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน Sinovac ที่ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ มีผลช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสที่ SARS-CoV-2 ได้

 

 

โดยร้อยละ 95 ของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 2 มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส จากการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัส (วิธี ELISA) จากจำนวนทั้งหมด 186 คน จึงมั่นใจได้ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้นกัน

 

 

 

สำหรับการทดสอบเลือดของผู้ได้รับ "วัคซีนซิโนแวค "กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2 สัปดาห์ จำนวน 171 คน พบว่ามากกว่าร้อยละ 70 มีภูมิในระดับที่ยับยั้งเชื้อได้สูงกว่า 50%

 

 

ประชาชนทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องตรวจภูมิหลังการฉีดวัคซีน แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความจำเป็นในการตรวจภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีน เช่นเดียวกับกับคำแนะนำในขณะนี้ของ Centerfor Disease Control and Prevention และองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

 

คนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นช้า มีสาเหตุจากการตอบสนองของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน จากหลายปัจจัย อาทิ เพศ อายุ โรคประจำตัว ระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ทุกคนยังคงต้องป้องกันตนเองเช่นเดิมเพื่อลดการติดเชื้อและแพร่เชื้อ

 


- สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเป็นประจำทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน


- เมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนรวมตัวกันหรือสถานที่แออัดให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร


- หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์อยู่เสมอ

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก เฟซบุ๊กคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง