รีเซต

สิทธิบัตรทอง 2565-2566 ติดโควิดใช้บัตรทอง 30 บาท รักษาอะไรได้บ้าง?

สิทธิบัตรทอง 2565-2566 ติดโควิดใช้บัตรทอง 30 บาท รักษาอะไรได้บ้าง?
TeaC
6 กรกฎาคม 2565 ( 13:31 )
739
สิทธิบัตรทอง 2565-2566 ติดโควิดใช้บัตรทอง 30 บาท รักษาอะไรได้บ้าง?

ข่าววันนี้ บัตรทอง หรือ สิทธิ สปสช. เป็นสิทธิรักษาพยาบาล โดยหลังมติบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เคาะปรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลโควิด ให้ประชาชนรักษาตามสิทธิสุขภาพที่ตัวเองมีอยู่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสิ้นสุดการจ่ายค่ารักษาพยาบาลโควิด นอกโรงพยาบาลระบบบัตรทอง เพื่อรองรับการปรับโควิดสู่โรคประจำถิ่น มีผลตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2565

 

ติดโควิดใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท

รักษาอะไรได้บ้าง?


ล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือ สปสช. อัปเดตแนวปฏิบัติผู้ป่วยโควิด มาเช็กสิทธิรักษาพยาบาลใช้บัตรทอง 30 บาท กันเลยว่ามีสิทธิรักษาอะไรได้บ้าง

 

กรณีมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อโควิด

  • ตรวจ ATK ได้ฟรี โดยสามารถขอรับ ATK ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังเพื่อตรวจเอง หรือ เข้าตรวจที่หน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ด้วย ATK Professional use

  • หากตรวจ ATK ขึ้น 1 ขีด แสดงว่า ไม่ติดโควิด ให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงกักตัว 5 วัน และสังเกตอาการตัวเองต่ออีก 5 วัน

  • และ หากตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด แสดงว่า ติดเชื้อโควิด จะได้เข้ารับการรักษาตามกลุ่มอาการ 3 แบบ คือ ตามแนวทาง ‘เจอ แจก จบ’, กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการรุนแรง รับการรักษาตามดุลยพินิจแพทย์ และ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต สีแดง ใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (UCEP)

 

แนวทางการรักษาโควิด ตามกลุ่มอาการ

1. กลุ่มไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย (สีเขียว)

  • การรักษาพยาบาล : ตามแนวทาง “เจอ แจก จบ” ของกระทรวงสาธารณสุข

  • เข้ารักษาพยาบาลได้ที่ : ไปที่หน่วยบริการประจำ หรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ หรือ โทร.ประสานร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ ‘รับยา-แนะนำการใช้ยา’ ดูรายชื่อร้านยา คลิก และสามารถดูตำแหน่ง "ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว" บนแผนที่ดิจิทัลกับ NOSTRA Map 

  • ระยะเวลาในการรักษา : กักตัว 7 วัน และ สังเกตอาการตัวเองต่ออีก 3 วัน

 

2. กลุ่มเสี่ยง 608 หรือ อาการรุนแรง (สีเหลือง)

  • การรักษาพยาบาล : รับการรักษาตามดุลพินิจแพทย์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ไม่ว่าจะเป็นรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือแพทย์สั่งให้รักษาที่บ้าน Home ward) ในหน่วยบริการประจำ หรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่

  • เข้ารักษาพยาบาลได้ที่ : หน่วยบริการประจำ หรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่


สำหรับ กลุ่ม 608 คือ ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง อาทิ

  1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
  2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
  3. โรคไตวายเรื้อรัง
  4. โรคหลอดเลือดสมอง,
  5. โรคอ้วน
  6. โรคมะเร็ง
  7. โรคเบาหวาน 

 

3. กลุ่มเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สีแดง

  • กรณีมีอาการ ได้แก่ หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94

  • การรักษาพยาบาล : ใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (UCEP) คือ มีสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทุกที่ ที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ผู้ป่วยโควิด ใช้บัตรทอง มีข้อสงสัย ติดต่อบริการสายด่วน สปสช. 1330

  • หากติดเชื้อโควิดไม่จำเป็นต้อง โทร.แจ้งสายด่วน สปสช. 1330
  • แต่สามารถ โทร.สอบถามขั้นตอนได้
  • หากมีอาการแย่ลง ต้องการประสานหาเตียงเข้ารักษาในโรงพยาบาล โทร.1330 ได้

 

อย่างไรก็ตาม ส่วนสิทธิสุขภาพอื่น ๆ เช่น สิทธิประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ ยังอยู่ระหว่างการหารือกันของหน่วยงานที่รับผิดชอบว่า หลังปรับโรคโควิดเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว จะสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลโควิดอะไรได้บ้าง ทรูไอดีจะมาอัปเดทให้ฟังต่อไป

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง