รีเซต

เช็กสิทธิ “ฟอกไตฟรี” สำหรับผู้ป่วยไตวาย “สิทธิบัตรทอง” เลือกใช้วิธีฟอกเลือดได้ เริ่ม 1 ก.พ. 65

เช็กสิทธิ “ฟอกไตฟรี” สำหรับผู้ป่วยไตวาย “สิทธิบัตรทอง” เลือกใช้วิธีฟอกเลือดได้ เริ่ม 1 ก.พ. 65
Ingonn
10 มกราคม 2565 ( 11:32 )
3.9K
เช็กสิทธิ “ฟอกไตฟรี” สำหรับผู้ป่วยไตวาย “สิทธิบัตรทอง” เลือกใช้วิธีฟอกเลือดได้ เริ่ม 1 ก.พ. 65

การฟอกไต เป็นอีกหนึ่งบริการด้านการแพทย์ที่กระทรวงสาธารสุขให้ได้การสนับสนุนและเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมาอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดให้มีบริการ “ฟอกไตฟรี”  ให้กับผู้ป่วย “สิทธิบัตรทอง” ตามเงื่อนไขการพิจารณาที่กำหนด

 

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีมติเห็นชอบให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายสิทธิบัตรทองที่ไม่สมัครใจรับบริการล้างไตผ่านทางช่องท้อง เลือกใช้วิธีล้างไตด้วยการฟอกเลือดได้โดยไม่จ่ายเงินเอง คาดว่าจะเริ่มได้ 1 ก.พ. 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายสามารถร่วมตัดสินใจเลือกวิธีการล้างไตกับแพทย์ โดยคํานึงถึงความจำเป็น เศรษฐานะ พยาธิสภาพของโรค และปัจจัยทางสังคม

 

ใครฟอกไตฟรีบ้าง

  1. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไม่สมัครใจรับบริการล้างไตทางช่องท้อง
  2. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสิทธิบัตรทอง
  3. ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
  4. สปสช.ได้อนุมัติให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถรับบริการฟอกไตได้ทุกกรณี แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

เงื่อนไขฟอกไตสิทธิบัตรทอง

ผู้ป่วยที่ได้รับสิทธิบัตรทอง และต้องการรับการฟอกไต ทาง สปสช.ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาให้ได้รับสิทธิ คือ จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการระดับเขต ว่า

  • ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่ไม่สามารถใช้วิธีล้างไตผ่านทางช่องท้อง
  • ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนจากวิธีล้างไตผ่านทางช่องท้องเป็นฟอกเลือด โดยต้องมีเงื่อนไขว่า ผู้ป่วยต้องมีรอยโรคบริเวณผิวหนังหน้าท้องที่ไม่สามารถวางสายได้ มีพังผืดภายในช่องท้อง ไม่สามารถวางสายได้ และมีสภาพจิตบกพร่องอย่างรุนแรง
  • ผู้ป่วยมีข้อห้ามของการฟอกเลือดตามเงื่อนไขที่กำหนด

 

เงื่อนไขการเข้ารับการฟอกไต

  • ผู้ป่วยต้องมีสิทธิบัตรทอง ในวันที่เข้ารับการบำบัดทดแทนไต
  • ผู้ป่วยต้องเข้ารับบริการในโรงพยาบาลหรือ คลินิกที่ขึ้นทะเบียนให้บริการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

 

นอกจากนี้ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า สปสช. ยังเสนอให้ต่อรองราคาลดต้นทุนบริการล้างไตในทุกวิธีเพื่อลดภาระงบประมาณ เพิ่มจำนวนหน่วยบริการล้างไตและการเพิ่มบุคลากรด้านโรคไตในระบบ เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องมาทำการฟอกเลือดเพิ่มขึ้น มีกลไกกำกับกรณีที่ผู้ป่วยเปลี่ยนจากการล้างไตทางช่องท้องมาเป็นการฟอกเลือด เพื่อไม่ให้เพิ่มจนระบบบริการรองรับไม่ทัน รวมทั้งสนับสนุน เร่งรัด มาตรการป้องกันและชะลอจำนวนผู้ป่วยโรคไตรายใหม่

 

ข้อมูล สปสช. ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง รักษาด้วยการล้างไตทางหน้าท้องอยู่ 32,892 ราย ด้วยวิธีฟอกเลือด 30,802 ราย ซึ่งในนี้เป็นกลุ่มที่แพทย์เลือกวิธีรักษาด้วยการฟอกเลือด 24,256 ราย และกลุ่มที่แพทย์เลือกวิธีล้างไตทางหน้าท้องให้แต่ผู้ป่วยไม่สมัครใจและเลือกจ่ายเงินเองเพื่อใช้วิธีรักษาด้วยการฟอกเลือด 6,546 ราย 


ข้อมูลจาก สปสช. , ข่าวสด , สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง