รีเซต

เช็กสิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกที่ ทั่วประเทศ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เริ่มเมื่อไหร่

เช็กสิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกที่ ทั่วประเทศ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เริ่มเมื่อไหร่
Ingonn
3 มกราคม 2565 ( 16:57 )
21.3K

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 ผู้ป่วย "สิทธิบัตรทอง" สามารถเข้ารักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ เจ็บป่วยจำเป็นต้องรักษาเมื่อไหร่ เข้ารับบริการผู้ป่วยนอกได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีตที่เคยเป็นปัญหา

 

วันนี้ TrueID จึงจะพาทุกคนมาเช็กสิทธิบัตรทอง 2565 ว่าสิทธิบัตร 30 บาทรักษาทุกที่ มีเงื่อนไขอะไรบ้างในการใช้สิทธิที่ทุกคนควรรู้

 

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า การยกระดับบัตรทองเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่ตนได้มอบหมายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ โดยเน้นใน 4 บริการ ได้แก่

  1. ประชาชนที่เจ็บป่วยไปรับบริการกับหมอประจำครอบครัว ในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ หรือ 30 บาทรักษาทุกที่
  2. ผู้ป่วยในไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว
  3. โรคมะเร็งไปรับบริการที่ไหนก็ได้
  4. ย้ายหน่วยบริการ ได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน 


ในส่วนของการยกระดับบัตรทอง 30 บาท ให้เป็น 30 บาทรักษาทุกที่ ซึ่งนำร่องในบางพื้นที่เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา และในปี 2565 นี้ จะมีการขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป หากประชาชนอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ใช่หน่วยบริการประจำที่ลงทะเบียนไว้ แล้วเกิดการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่กรณีป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการในระบบบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ โดยที่หน่วยบริการจะไม่มีการเรียกให้กลับไปรับใบส่งตัวมาเหมือนในอดีต ที่เคยเป็นปัญหากับพี่น้องประชาชน 

 

“ประชาชนสิทธิบัตรทอง 30 บาทหรือสิทธิ สปสช. (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) หากเกิดภาวะเจ็บป่วย จำเป็นต้องรับการรักษา เช่น ยาหมด ทำแผลต่อเนื่อง เจ็บ ไข้ ไอ ปวด เป็นต้น สามารถเข้ารับบริการผู้ป่วยนอกได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปรับใบส่งตัวจากหน่วยบริการที่ลงทะเบียนไว้”

 

บริการสุขภาพปฐมภูมิ คืออะไร

บริการสุขภาพปฐมภูมิ คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการดูแลสุขภาพประชาชนในท้องถิ่นโดยเน้นการป้องกันไม่ให้ป่วย หากเจ็บป่วยจะได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้น (และครอบคลุมในกรณีที่จำเป็นจะต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่รักษาโรคซับซ้อนมากขึ้น) ทั้งนี้รวมถึงบริการฟื้นฟูสุขภาพด้วย


ตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น 

 

เช็กสิทธิบัตรทอง 30 บาท ของเดิม (หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

  • ประชาชนมีหน่วยบริการประจำ (สถานพยาบาล) ที่ลงทะเบียนไว้
  • หากประชาชนไปรักษาที่หน่วยบริการ (สถานพยาบาล) ที่ไม่ได้ลงทะเบียนไว้ จะถูกเรียกเก็บเงิน หรือต้องกลับไปรับใบส่งตัว

 

เช็กสิทธิบัตรทอง 30 บาทใหม่ เริ่ม 1 มกราคม 2565 

  • ประชาชนยังคงเข้ารักษาที่หน่วยบริการประจำ (สถานพยาบาล) ที่ลงทะเบียนไว้
  • แต่กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุสมควรสามารถเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิอื่นๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ไม่ถูกเรียกเก็บเงิน 

 

การใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท

  1. ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่เข้ารับการรักษา
  2. แจ้งความจำนงใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนรับบริการ
  3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้  สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงสำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)

 

ช่องทางตรวจสอบราชื่อเครือข่ายบริการ "บัตรทอง 30 บาท"

สามารถตรวจสอบรายชื่อเครือข่ายหน่วยบริการของตนเองได้ที่ https://bkkapp.nhso.go.th/bkkapp/public/mapcenter/Map/search โดยพิมพ์ชื่อหน่วยบริการประจำของตนเองแล้วกดค้นหา จากนั้นกดที่สัญลักษณ์หมุดของหน่วยบริการนั้น จะมีแถบคำว่า "เครือข่ายบริการ" ให้กดที่แถบเมนูนั้นก็จะมีรายชื่อหน่วยบริการในเครือข่ายเดียวกันแสดงขึ้นมา ซึ่งประชาชนสามารถเข้ารับบริการในหน่วยบริการเหล่านี้ได้ทั้งหมด

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

 

 

ข้อมูลจาก สปสช

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง