รีเซต

เจาะหุ้นรายกลุ่ม หาช่องลงทุนในภาวะตลาดหมี

เจาะหุ้นรายกลุ่ม หาช่องลงทุนในภาวะตลาดหมี
TNN ช่อง16
9 พฤษภาคม 2565 ( 13:22 )
80

วันนี้เรามาสรุปหุ้นรายกลุ่มกันหลังจากที่ผ่านไตรมาสแรกมาแล้ว  ว่าหุ้นของไทยจะเป็นอย่างไร หุ้นโลกจะไปในทิศทางไหนต่อ เพราะตลาดหุ้นโลกก็กำลังเผชิญกับภาวะหมี หรือ ช่วงขาลง  ดังนั้นทิศทางการลงทุนจะเป็นอย่างไร มีอะไรที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกบ้าง วันนี้เรามีคำตอบจาก LH BANK ADVISORY มาให้ติดตามกัน 


ตลาดหุ้นโลกกำลังเผชิญกับภาวะหมี หรือ ช่วงขาลง อันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงของสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าจะจบลงง่ายๆ ตลอดจนภัยคุกคามจากเงินเฟ้อ และมาตรการปรับดอกเบี้ยขึ้นเมื่อรับมือโดยธนาคารกลาง ส่งผลให้ไตรมาสแรกของปี 2565 เป็นการปรับตัวลดลงรายไตรมาสของตลาดหุ้นสหรัฐ เป็นครั้งแรกนับจากไตรมาส 1 ปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคโควิด-19


ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาหุ้นรายกลุ่มในดัชนี เอสแอนด์พี 500 ในกราฟฟิกนี้จะพบว่า ในบรรดา 11 กลุ่ม มีเพียงหุ้นกลุ่มพลังงานเท่านั้น ที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นตลอดไตรมาสแรกเป็นบวก 39%ส่วนที่เหลือมีการเปลี่ยนแปลงดัชนีรายกลุ่มเป็นลบ 1-12%  


อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดัชนีหุ้นรายกลุ่มเริ่มดีขึ้นในเดือนมีนาคม  ดัชนีรายกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นบวกทุกกลุ่ม โดยกลุ่มที่เป็นตัวชูโรงคือ กลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มพลังงาน และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถฝ่าความผันผวนของตลาด มีผลงานการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นร้อยละ 10  ร้อยละ 9  และร้อยละ 8  ตามลำดับ รองลงไปคือ กลุ่มวัสดุ และกลุ่มบริการสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงเป็นบวกร้อยละ 6   เท่ากัน ที่เหลือ ประกอบด้วย สินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary)ร้อยละ 5   กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลงเป็นบวกกลุ่มละร้อยละ   3  ขณะที่กลุ่มสินค่าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น Consumer Staples)ร้อยละ 2 และกลุ่มบริการการเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง (0%)


นอกจากนี้ เมื่อเปิดผลงานเดือนเมษายนหุ้นอุปโภคบริโภคกลุ่มเดียวที่ ฝ่ามรสุมความผันผวนไปได้  เดือนเมษายนยังเป็นเดือนที่หุ้นรายกลุ่มยังได้รับผลกระทบจากความผันผวนรุนแรงของตลาด ดัชนีรายกลุ่ม ณ วันที่ 29 เมษายน มีเพียงหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ปิดท้ายเดือนที่ 4 ของปี เป็นบวกด้วยตัวเลขร้อยละ 3.07  ส่วนหุ้นรายกลุ่มที่เหลือยังมีการเปลี่ยนแปลงติดลบ    


โดยกลุ่มที่ปรับตัวลงแรงในเดือนเมษายน ได้แก่ กลุ่มบริการสื่อสารลดลงร้อยละ 16.77   รองลงมาได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงร้อยละ 14.72     กลุ่มบริการการเงินร้อยละ 12.53  และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศลดลงร้อยละ 12.14    


นอกจากนี้ หากพิจารณาย้อนหลัง 3 เดือน มีอย่างน้อย 4 กลุ่มที่โชว์ผลงานเป็นบวก ได้แก่ กลุ่มวัสดุเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99 กลุ่มพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.32   กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.78  และกลุ่มสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.81 แต่หากพิจารณา นับจากต้นปี พบว่า มีเพียงกลุ่มพลังงานที่แสดงผลงานที่ดีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.40 และกลุ่มสินค้าอุปโภคกลุ่มที่จำเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.73  แน่นอนในการลงทุนต้องมีบทวิเคราะห์วิจัยจากบริษัทที่น่าเชื่อถือมาให้แนวทางหรือให้คำแนะนำเพื่อการลงทุนเพื่อให้นักลงทุนได้ตัดสินใจลงทุนแล้วได้มากกกว่าเสีย


กลยุทธ์การลงทุนที่  Westend Advisors บริษัทจัดการสินทรัพย์นักลงทุนกลุ่มสถาบันและที่ปรึกษาด้านการลงทุนจัดทำบทวิเคราะห์ให้กับนักลงทุนกลุ่มสถาบัน โดยในรายงาน Macroeconomic Highlights Q2 2022 ที่ บริษัท Westend Advisors ได้แนะนำการจัดสรรพอร์ตลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ 6 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มบริการการเงิน กลุ่มบริการสุขภาพ กลุ่มบริการสื่อสาร กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่เป็นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และกลุ่มพลังงาน พร้อมกับแนะนำให้หลีกเลี่ยงการลงทุนใน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มสินค้าจำเป็น กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มวัสดุ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มสาธารณูปโภค มาถึงตรงนี้เราลองเจาะการลงทุนในรายเซคเตอร์ เพื่อจะทำให้ภาพการลงทุนชัดเจนขึ้น ว่าทำไม 6 กลุ่มจึงน่าลงทุนในไตรมาส 2 


4Westend Advisors ได้ให้เหตุผลในการจัดสรรพอร์ตให้กับกลุ่มบริการการเงินว่า อยู่ในจุดที่ดี ที่จะได้รับประโยชน์จากวัฏจักรเศรษฐกิจรอบต่อไป โดยบริษัทเชื่อว่า การฟื้นตัวของตลาดแรงงานและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งจะเอื้อต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในทางกลับกัน จะนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และเพิ่มอัตราการเติบโตของผลกำไรให้กับสถาบันการเงิน


นอกจากภาคบริการการเงินแล้ว หุ้นอีกกลุ่มที่ Westend Advisors แนะให้ลงทุนคือ กลุ่มเทคโนโลยี โดยระบุว่า หากเศรษฐกิจในสหรัฐฟื้นตัว บริษัทเชื่อว่า กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศจะได้เห็นอัตราการเติบโตของรายได้และผลกำไรที่ลดถอยลงจะลดน้อยลง และได้อานิสงส์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงสบโอกาสจากความผันผวนในไตรมาสแรกของปี เพิ่มการจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้กับกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเนื่องมาจากมูลค่าหุ้นของกลุ่มที่น่าจูงใจ


แล้วกลุ่มเหมืองแร่ พลังงานสะอาด และบริการสุขภาพ มีโอกาสที่ดีในไตรมาส 2 หรือไม่ 

    

บทวิเคราะห์หนึ่งของState Street Global advisors ที่ปรึกษาด้านการลงทุนอีกราย กลับมองเห็นโอกาสของกลุ่มเหมืองแร่ กลุ่มพลังงานสะอาด และกลุ่มบริการสุขภาพในไตรมาส 2 ของปีนี้


กราฟฟิก 7 ราคาหุ้นผู้ผลิตโลหะและเหมืองแร่ เปรียบเทียบราคาโลหะ


นอกจากนี้  State Street Global advisors เชื่อว่า บริษัทเหมืองและผู้ผลิตโลหะ อยู่ในจุดที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากราคาโลหะที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับราคาพลังงานที่ลดลง และความต้องการทั่วโลกที่เพิ่มสูง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจะช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตของกำไรในปี 2565 ให้สูงขึ้นจากที่เคยติดลบนับจากเดือนธันวาคม เป็นร้อยละ  12




State Street Global advisors  ยังประเมินอีกว่า หลังจากตกต่ำลงเกือบร้อยละ  50  ของระดับสูงสุดที่ทำไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ อัตรากำไรต่อราคาในอนาคตของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดได้ลดลงมาสู่ระดับต่ำสุดนับจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยมูลค่าที่จูงใจของอุตสาหกรรมนี้ และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ดีขึ้น ได้ทำให้อุตสาหกรรมเป็นที่สนใจของนักลงทุนอีกครั้ง เนื่องจากอุตสาหกรรมได้ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่รัสเซียนำทัพเข้าทำสงครามกับยูเครน หนุนส่งให้อุตสาหกรรมกลุ่มนี้มีผลงานที่ดีกว่าตลาดโดยรวมประมาณร้อยละ 10  แต่ยังถือว่าต่ำกว่า สถิติสูงสุดที่เคยทำไว้ร้อยละ  37  


ปิดท้ายที่ กลุ่มพลังงานและกลุ่มอุตสาหกรรมที่นำทีมหรือเป็นกลุ่มที่มีอัตราเติบโตของผลกำไรต่อหุ้นที่แข็งแกร่งในปี 2565


กลุ่มพลังงานและอุตสาหกรรมจะเป็น 2 กลุ่มที่อัตราเติบโตของผลกำไรต่อหุ้นที่แข็งแกร่งในปี 2565 ด้วยอานิสงส์จากราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นจากผลของสงคราม และการฟื้นตัวจากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 


อย่างไรก็ตาม กลุ่มอื่นๆ อย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ บริการการสื่อสาร และภาคการเงิน ก็เป็นกลุ่มที่น่าจูงใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีโอกาสจะสร้างอัตราเติบโตของกำไรได้ต่อเนื่องในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวรอบใหม่ อย่างไรก็ตาม อัตราเติบโตของกำไรก็จะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่อิงกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จะมีอัตราเติบโตของผลกำไรแข็งแกร่งที่สุดในปีนี้ โดยเฉพาะความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจากโรคระบาด อาทิ สายการบิน การเดินทาง และสันทนาการ และพลังงาน


ส่วนทิศทางการลงทุนนับจากนี้จะเป็นอย่างไร เราไปพูดคุยกับ ดร.กวินทร์ ภู่พกสกุล  ผู้อำนวยการสำนักผลิตภัณฑ์การลงทุน ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ตอนนี้อยู่ในสายกับเราแล้ว  






ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง