รีเซต

เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนซิโนแวค" กับโควิดกลายพันธุ์

เปิดประสิทธิภาพ "วัคซีนซิโนแวค" กับโควิดกลายพันธุ์
Ingonn
30 มิถุนายน 2564 ( 10:26 )
288
2

วัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนหลักที่ทางภาครัฐจัดสรรให้ประชาชนชาวไทยได้ฉีดกันทั่วประเทศ เนื่องด้วยในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน มีโควิดกลายพันธุ์หลายสายพันธุ์เข้ามาอยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น โควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่น สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดีย และสายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกชนิดลดลง

 

 

วันนี้ TrueID จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยววัคซีนซิโนแวคที่สามารถป้องกันโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ต่างๆมาฝากกัน ว่าแต่ละสายพันธุ์พอจะมีประสิทธิภาพได้มากน้อยแค่ไหน

 

 


ประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 ของซิโนแวค


จากการติดตามข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวค หลังมีการใช้จริงโดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พบว่า ที่ประเทศอินโดนีเซีย หลังฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ป้องกันการป่วยที่มีอาการได้ 94% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 98% ที่ประเทศชิลี พบป้องกันการป่วยที่รุนแรง 89% และที่เมืองเซอร์รานา ประเทศบราซิล หลังฉีดครบ 2 โดส ป้องกันการป่วยที่มีอาการได้ 80% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 95%

 

 

สำหรับประเทศไทย ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในการใช้จริง (Real World Study) พบว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิผลสูงเพียงพอพอในการป้องกันโควิด-19 โดยสามารถลดการติดเชื้อโควิด-19 ได้ระหว่าง 71-91%  และลดการป่วยหนักและเสียชีวิตได้มากกว่า 95% ในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วอย่างน้อย 14 วัน

 

 

นอกจากนั้น การทดสอบเลือดของผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีชีวิต หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นาน 2 สัปดาห์ จำนวน 171 คน พบว่ามากกว่า 70% มีภูมิในระดับที่ยับยั้งเชื้อโควิดได้สูงกว่า 50%

 

 

WHO หรือ องค์การอนามัยโลกประกาศว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 51%  และยืนยันป้องกันอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต 100%

 

 

 

วัคซีนซิโนแวค VS สายพันธุ์อังกฤษ


ข้อมูลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวคในการป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและบุคลากรสาธารณสุขจากการใช้จริงในประเทศไทย ที่จังหวัดภูเก็ต สมุทรสาคร เชียงราย และฐานข้อมูลกรมควบคุมโรค ช่วงเมษายนและพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อัลฟา พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มอย่างน้อย  14 วัน สามารถลดการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อัลฟาได้ 71 – 91% โดยคนที่ได้รับวัคซีนยังไม่พบการเสียชีวิตจากโควิด

 


แยกเป็นกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่จังหวัดภูเก็ต ป้องกันการติดเชื้อได้ 90.7%  จังหวัดสมุทรสาคร มีประสิทธิภาพ 90.5% ส่วนการศึกษาในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขจากเหตุการณ์การติดเชื้อที่จังหวัดเชียงราย พบวัคซีนป้องกันสายพันธุ์อัลฟาได้ 82.8% และจากฐานข้อมูลกรมควบคุมโรค ศึกษาในบุคลากรสาธารณสุข พบมีประสิทธิผล 70.9% โดยคนที่ได้รับวัคซีน ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตจากโควิด 

 

 

 

วัคซีนซิโนแวค VS สายพันธุ์อินเดีย

 

ประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลต้าหรือสายพันธุ์อินเดียที่พบการระบาดเพิ่มมากขึ้น อยู่ระหว่างการศึกษารวบรวมข้อมูล เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ระบุว่า วัคซีนซิโนแวคผลิตจากเชื้อตายซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ระดับภูมิคุ้มกัน RBD-IgG ที่วัดได้หลังฉีดไม่ได้สูงเท่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ใหม่ เช่น mRNA อย่างไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา และจำเป็นต้องฉีดอย่างน้อยสองเข็มจึงจะเห็นระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อตรวจด้วยวิธี live virus neutralizing antibody (NT) ก็พบระดับที่สูงประมาณพอควรต่อเชื้อดั้งเดิมและมีระดับ NT ต่อสายพันธุ์อังกฤษ มีระดับลดลงประมาณ 10 เท่า แต่ยังอยู่ในระดับที่ป้องกันได้ ส่วน NT ต่อสายพันธุ์อินเดีย ยังอยู่ระหว่างการศึกษา

 

 

แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ทราบแน่นอนว่าระดับภูมิคุ้มกันที่วัดด้วยวิธีที่แตกต่างกันแต่ละวิธีนี้ ต้องมีระดับเท่าใดจึงจะป้องกันโรคได้ และที่ไม่ทราบแน่ชัดว่าระดับเท่าใดจึงจะป้องกันโรครุนแรงและเสียชีวิตได้ แต่คาดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ระดับสูงมาก 

 

 

โดยจากการศึกษาระยะที่ 3 ทุกวัคซีนป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้สูงเกือบ 100% แต่ป้องกันการติดเชื้อรวมๆได้แตกต่างกัน ซึ่งสัมพันธ์กับระดับ NT

 

 

ดังนั้น แม้แต่การตรวจ NT ซึ่งตรวจได้ยากเย็น ทำเฉพาะในงานวิจัย ยังไม่สามารถบอกประสิทธิภาพในการป้องกันโรครุนแรงและเสียชีวิตได้เลย ซึ่งต้องใช้การศึกษาในเฟส 3, 4 หรือเมื่อมีการใช้จริง ส่วนใหญ่เป็น case-control study จึงจะบอกประสิทธิผลในเรื่องนี้ได้

 

 


วัคซีนซิโนแวค VS สายพันธุ์แอฟริกาใต้

 

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Manop Pithukpakorn” ระบุว่าวัคซีนที่ได้ผลกับสายพันธุ์นี้มีแค่วัคซีนไฟเซอร์ และอาจรวมถึงวัคซีนโมเดอร์นาด้วย โดยป้องกันได้ที่ที่ 75%, วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสันป้องกันได้ที่ 64-66% วัคซีนโนวาแวคที่ 60.1% (สำหรับ non-HIV) ส่วน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ไทยมี เหลือแค่ 10.4% สำหรับวัคซีนซิโนแวค ถ้าเทียบระดับแอนติบอดี้ที่ขึ้นหลังฉีดแล้วคาดว่าคงแทบไม่ได้ผลเช่นกัน ซึ่งงานวิจัยตีพิมพ์ใน New England พบว่า ภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพลดลงอย่างชัดเจนกับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ด้วย

 

 

ซึ่งสายพันธุ์แอฟริกาใต้ มีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโน เกิดเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งสำคัญ โดยเฉพาะตำแหน่ง 484 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแล้วทำให้ภูมิคุ้มกันที่เกิดกับวัคซีนเกาะและจับได้น้อยลง จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง แต่ก็ยังป้องกันได้ จะเห็นได้ว่าวัคซีนที่มีการทดสอบใหม่ทดสอบในแอฟริกาใต้ อย่างจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน หรือ โนวาแวค เมื่อทดสอบในแอฟริกาใต้ประสิทธิภาพจะลดลง แต่ก็ยังป้องกันโควิด-19 ได้

 

 

 

 


ข้อมูลจาก สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , Hfocus , เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว , เฟซบุ๊ก Manop Pithukpakorn

       

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง