รีเซต

3 แนวทางสำรวจความเสียหายแผ่นดินไหวเบื้องต้น หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวกรุงเทพ

3 แนวทางสำรวจความเสียหายแผ่นดินไหวเบื้องต้น หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวกรุงเทพ
TNN ช่อง16
28 มีนาคม 2568 ( 16:07 )
82

อาจารย์ สุทธิพงษ์ น้อยสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว (Seismology) จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้ 3 แนวทางในการสำรวจความเสียหายต่ออาคารและสิ่งปลูกสร้างเบื้องต้น หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ขึ้นในพม่า ตามการรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา ดังนี้

3 แนวทางสำรวจความเสียหายแผ่นดินไหวเบื้องต้น

  1. สำรวจความเสียหายโครงสร้าง ด้วยการใช้สายตา เพื่อดูว่าแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวส่งผลต่อโครงสร้างอาคารอย่างไร ตามจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น เสา ฝ้าเพดาน ผนัง 
  2. สำรวจความเสียหายระบบไฟฟ้า โดยการดูการเดินของไฟฟ้าในอาคารผ่านการดูสวิตช์ไฟฟ้าที่เคยเปิดได้กลับเปิดไม่ได้ หรือที่ไม่เคยเปิดได้กลับสามารถใช้งานได้ เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร
  3. สำรวจความเสียหายระบบประปา ในลักษณะเดียวกันกับการเปิดไฟ ด้วยการเปิดก๊อกน้ำตามจุดต่าง ๆ หากเปิดไม่ได้ อาจมีปัญหาท่อน้ำแตกในอาคาร

นอกจากนี้ อ.สุทธิพงษ์ ยังเตือนให้ระวังแก๊สหุงต้มว่ารั่วไหลหรือไม่ ปิดวาลว์หากไม่ใช้งาน พร้อมทั้งขอให้เฝ้าระวังแผ่นดินไหวตาม หรืออาฟเชอร์ช็อก (Aftershock) ที่อาจเกิดขึ้นได้ใน 1 - 2 วัน หรือแม้แต่ภายใน 1 เดือน ต่อจากนี้ 

ด้านความเห็นอื่น ๆ TNN Tech จะนำเสนอเป็นลำดับถัดไป

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง