รีเซต

NER “เคทีบี” เคาะพื้นฐาน 5 บ., ราคายางพารา-กำลังการผลิต หนุนอัตรากำไร

NER “เคทีบี” เคาะพื้นฐาน 5 บ., ราคายางพารา-กำลังการผลิต หนุนอัตรากำไร
ทันหุ้น
19 ตุลาคม 2563 ( 10:39 )
99
NER “เคทีบี” เคาะพื้นฐาน 5 บ., ราคายางพารา-กำลังการผลิต หนุนอัตรากำไร

ทันหุ้น -สู้โควิด –บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุถึง บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ว่าได้ไปเยึ่ยมชมโรงงานของ NER ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 16-17 ต.ค. (site visit for group analysts) โดยผู้บริหารได้ให้เข้าชม 2 ส่วนหลักคือ 1) ส่วนเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ และ 2) ส่วนของอาคารเก็บวัตถุดิบที่ได้รับความเสียหายจากไฟใหม้เมื่อวันที่ 22 ก.ย.2020

 

1) ส่วนเพิ่มกำลังการผลิตใหม่ การเพิ่มกำลังผลิตเป็นระบบ automatic wet process ที่ใช้ระบบควบคุมโดยเครื่องจักรเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่ได้เพิ่มพนักงานมากนัก (see figure 5)กำลังการผลิตของโรงงานใหม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 60% ( 2.92 แสนตัน/ปี เป็น 4.65 แสนต้น/ปี เพิ่มขึ้น 1.72 แสนต้นต่อปี) และเริ่มเดินการผลิตแล้วในไตรมาสสาม

 

2) ส่วนของอาคารเก็บวัตถุดิบที่ได้รับความเสียหายจากไฟใหม้ ส่วนที่ไฟไหม้มีความเสียหายเพียงเล็กน้อยและไม่กระทบต่อการผลิต เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้เก็บยางผสมและรำข้าวเพื่อใช้ผลิตยางผสมและใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพ ไม่ได้เป็นส่วนของสินค้าที่ต้องส่งมอบ โดยบริษัทจะมีการตั้งสำรองประมาณ 30 ล้านบาทไว้ก่อนใน 3Q20 ซึ่งคาดว่าจะได้รับการชดเชยจากประกันภัยใน 4Q20 หรือ 1Q21

 

คาดว่า NER จะรายงานกำไรปกติ 3Q20E ที่ 219 ล้านบาท (+59%YoY, +37% QoQ) (ไม่รวมการตั้งสำรองจากไฟไหม้โกดังประมาณ 30 ล้านบาท) การเติบโต YoY เนื่องจาก ธุรกิจยางธรรมชาติได้ผลดีจากต้นทุนที่อ่อนตัวลง ผู้ประกอบการหลายรายออกจากอุตสาหกรรมไป ทำให้ภาวะการแข่งขันแย่งซื้อวัตถุดิบยางธรรมชาติลดน้อยลงไปในปีนี้ แม้ราคาเฉลี่ยจะลดลงมา 5% YoY ที่ประมาณ 35 บาท แต่ปริมาณขายคาดว่าจะเพิ่มขึ้น +57% (YoY) จากความต้องการฟื้นตัวหลังผลกระทบจาก COVID-19 คลายตัวลง

 

ขณะที่การเพิ่มขึ้น QoQ เป็นผลจากปริมาณขายเพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยปริมาณขายใน 3Q20E อยู่ที่ใกล้เคียง 100,000 ตัน (+57%YoY, +61% QoQ) เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากลูกค้าล้อยางกลับมาเดินการผลิต ถึงแม้ราคาขายจะลดลงในไตรมาสนี้เนื่องจากราคาที่ขายเป็นราคาที่ตกลงล่วงหน้า SICOM ในช่วงพ.ค.-มิ.ย.ที่ราคายางค่อนข้างต่ำที่ 35-38 ต่อกก. ส่งผลให้ยอดขายอยู่ที่ 4 พันล้านบาท +29%YoY, +46% QoQ

 

อย่างไรก็ตามบริษัทมีการตั้งสำรองผลกระทบจากไฟไหม้โรงงานประมาณ 30 ล้านบาท (คาดว่าจะเป็นส่วนของอาคาร 24 ล้านบาท และ วัตถุดิบ 6 ล้านบาท) ส่งผลให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 189 ล้านบาท +28% YoY, -16%QoQ

 

ปรับประมาณการปี 2020E ขึ้น 21% มาอยู่ที่ 853 ล้านบาท(+58% YoY) เนื่องจากครึ่งปีหลังแนวโน้มราคายางปรับตัวดีขึ้นจากความต้องการจากลูกค้ายางรถยนต์ในจีนกลับมาเดินการผลิตในระดับ 70-80% รวมถึงอุปทานที่ตึงตัวเพราะความต้องการถุงมือยางด้วย เราจึงปรับราคายางแท่งจากเดิมที่ 42 บาทต่อกก. มาเป็น 43 บาทต่อกก. อีกทั้งกำลังการผลิตของโรงงานใหม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 60% ( 2.92 แสนตัน/ปี เป็น 4.65 แสนต้น/ปี เพิ่มขึ้น 1.72 แสนต้นต่อปี) ทั้งนี้ 3Q20 จะใช้กำลังการผลิตโรงงานใหม่ 70% และการเพิ่มกำลังการผลิตในครั้งนี้จำนวนคนงานไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก ต้นทุนจึงไม่เพิ่มตามกำไร ทำให้ margin จะเพิ่มขึ้น เราจึงปรับ gross margin จากเดิมที่ 10.5% เป็น 11.5%

 

ขณะที่ในปี 2021E กำไรสุทธิปรับเพิ่มจากเดิม 10% มาที่ 1.08 พันล้านบาท (+15% YoY) เราปรับราคายางแท่งขึ้นเป็น 43 บาทต่อกก. และปรับอัตรากำไรขึ้นเป็น 11.8% จากเดิมที่ 11% เนื่องจากจะรับรู้ economies of scales จากกำลังการผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้นเต็มปี

 

ราคาเป้าหมายที่ 5.0 บาท ปรับเพิ่มจากเดิมที่ 4.1 บาท ยังคงอิง 2020E PER ที่ 9x (+1SD ค่าเฉลี่ยย้อนหลังจากเข้าตลาด) โดยมี key catalyst คือ บริษัทยังมีเติบโตต่อเนื่องจากการขยายกำลังผลิต รวมถึงโรงงานของลูกค้าในจีนเริ่มกลับมาเดินการผลิต ขณะที่ความเสี่ยงคือ การฟื้นตัวจาก COVID-19 ล่าช้ากว่าที่คาดไว้

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง