รีเซต

บริษัทสตาร์ตอัปในสหรัฐฯ ระดมทุนสำเร็จ 350 ล้านบาท เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ทำเหมืองใต้น้ำ

บริษัทสตาร์ตอัปในสหรัฐฯ ระดมทุนสำเร็จ 350 ล้านบาท เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ทำเหมืองใต้น้ำ
TNN ช่อง16
29 มิถุนายน 2565 ( 03:45 )
96

แม้ว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเป็นรถยนต์พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่ก็ยังจำเป็นต้องผลิตด้วยแร่วัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งหายากมากยิ่งขึ้นตามความต้องการ (Demand) ในตลาด อิมพอสสิเบิลไมน์นิง (Impossible Mining) บริษัทสตาร์ตอัปจากสหรัฐอเมริกาจึงนำเสนอไอเดียการทำเหมืองใต้ทะเลลึกเพื่อขุดหาแร่ต่าง ๆ โดยเฉพาะแร่ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้า


อิมพอสสิเบิลไมน์นิง (Impossible Mining) มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาพาหนะใต้น้ำขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Autonomous Underwater Vehicle: AUV) เพื่อการขุดแร่ที่เป็นส่วนประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจากใต้น้ำโดยเฉพาะ โดยบริษัททำการออกแบบเชิงวิศวกรรมสำหรับ AUV มาตั้งแต่ปี 2020 และเริ่มระดมทุนครั้งแรกในปีถัดมาเพื่อการทดสอบสมมติฐานเชิงพาณิชย์ (Proof of Concept: POC) และเมื่อประสบผลสำเร็จ บริษัทจึงตัดสินใจระดมทุนตั้งต้น (Seed Funding) ในปีนี้


AUV ที่พัฒนาโดย Impossible Mining ตั้งเป้าให้สามารถดำลงไปยังพื้นทะเล (Seabed) ที่ความลึกไม่เกิน 4 ไมล์ หรือประมาณ 6.4 กิโลเมต เพื่อขุดเจาะนำสารโลหะผสม (Polymetal) ขึ้นมา แต่ทางบริษัทระบุถึงขีดความสามารถในด้านปริมาณของแร่ที่สามารถนำขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง หรือแรงบิดในการขุด ตลอดจนระบบขับเคลื่อน และปริมาณแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในขณะนี้ แต่ไอเดียและความสามารถที่แสดงให้เห็นในรอบ POC ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้รับเงินทุนตั้งต้น (Seed Fund) มากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 350 ล้านบาท


โอลิเวอร์ กุนเซะคารา (Oliver Gunasekara) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Impossible Mining มองว่า AUV ของบริษัทจะมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองซึ่งมีภาพจำของการเป็นอุตสาหกรรมทำลายสิ่งแวดล้อมโดยรอบมาตลอด


ในขณะเดียวกันจัสติน แฮมิลตัน (Justin Hamilton) ผู้ประสานการลงทุนให้กับ Impossible Mining มองว่าในอนาคตอีก 10 ปี ต่อจากนี้ ความต้องการของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะพุ่งขึ้นเป็น 10 เท่า ตามการเติบโตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ดังนั้น สิ่งที่ Impossibel Mining ทำขึ้นจะช่วยเปิดประตูสู่ขุมทรัพย์ใต้ท้องทะเลที่ยังรอการสำรวจโดยยังคงรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเลเอาไว้ได้ ผ่านนวัตกรรมหุ่นยนต์และการขุดเจาะแบบเฉพาะเจาะจงพื้นที่





ที่มาข้อมูล The Robot Report

ที่มารูปภาพ Impossible Mining

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง