อาการของโควิด-19 กับไข้แต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร
หลายพื้นที่ของประเทศไทยคงเริ่มสัมผัสกับกลิ่นอายของ “ลมหนาว” ที่พัดโชยเข้ามาทำให้รู้สึกถึงอากาศที่เริ่มหนาวเย็น ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเราไม่สบายเนื้อสบายตัวรู้สึกเหมือนเริ่มจะเป็นไข้ และยิ่งในสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีการระบาดอย่างรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเริ่มคิดแล้วว่าเราจะติดโควิด-19 หรือเป็นไข้ทั่วๆไป วันนี้ทีม trueID news จะมาจำแนกอาการของโควิด-19 กับไข้แต่ละประเภทให้ดูกัน
ตรวจโควิดฟรี! ถ้าเข้าเงื่อนไข เช็กโรงพยาบาลได้ที่นี่
เลือกใช้ให้เหมาะสม หน้ากากอนามัย 6 ประเภท และหน้ากากแบบมีวาล์ว
เปิดไทม์ไลน์วัคซีนโควิด-19 เพื่อคนไทย
รวมสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 จากอู่ฮั่นสู่เชื้อกลายพันธุ์
ไข้เลือดออก
เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ โดยมียุงลายเป็นตัวนำ เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อจากผู้ป่วยแล้วไปกัดผู้ใด ก็จะถ่ายทอดเชื้อโรคนี้ให้กับผู้ที่ถูกกัด เป็นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่พบมากในเด็กอายุ 5-9 ปี
การติดต่อ
โรคไข้เลือดออกติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุงและสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้
อาการของโรค
• ไข้สูงเฉียบพลัน 2-7 วัน
• ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว
• มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง
• มีอาการซึม และมีเลือกกําเดาออก
• ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ในช่วงไข้ลดต้องระวัง ภาวะช็อกและเลือดออก
ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลันที่เกิดจาก เชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (influenza A) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (influenza B) ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ซี (influenza C) มีความรุนแรงน้อยและเกิดการระบาดเฉพาะในวงจำกัด กลุ่มอายุที่พบการติด เชื้อมากที่สุดคือกลุ่มเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 4 ปี และกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ คือ กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
การติดต่อ
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อทางลมหายใจ ไอ จาม หรือหายใจรดกันในที่ที่มีคนอยู่แออัด เช่น โรงเรียน โรงงาน นอกจากนี้เชื้อไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อทางละอองฝอยของน้ำมูกและน้ำลาย หรือติดต่อจากมือที่มีเชื้อไวรัสอยู่แล้วนำไปสัมผัสที่จมูกหรือปากทำให้ เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้
อาการของโรค
• ไข้สูง 2-4 วัน
• ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว
• มีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร
• มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล และเจ็บคอ
• มีอาการแน่นหน้าอก หรือไอ
• ระวังภาวะปอดอักเสบแทรกซ้อน
ไข้หวัดทั่วไป
โรคไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดได้ตลอดทั้งปี พบบ่อยในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งมักเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดเพียงชนิดเดียว และเมื่อหายแล้วร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อชนิดนั้น และเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ก็มักจะเกิดจากเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ หมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ
การติดต่อ
เชื้อไวรัสไข้หวัดที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ติดต่อโดยการไอ หรือหายใจรดกัน หรือจากการสัมผัส เมื่อมีเชื้อหวัดติดที่มือแล้วไปสัมผัสผู้อื่น เชื้อหวัดก็จะติดคนๆ นั้น และเมื่อนำไปขยี้ตาหรือแคะจมูกก็จะเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นไข้หวัดได้
อาการของโรค
• มีไข้ต่ำๆ
• มีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล
• มีอาการไอ หรือเจ็บคอร่วมด้วย แต่ไม่รุนแรง
• โดยปกติจะหายได้เองใน 1 สัปดาห์ เพียงดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
ไวรัส COVID-19
โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลยก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ขณะนี้โรคโควิด 19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก
การติดต่อ
โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูกหรือปากซึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว เรารับเชื้อโรคโควิด 19 ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร ละอองเหล่านี้ยังตกลงสู่วัตถุและพื้นผิวต่างๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ และเมื่อคนเอามือไปจับพื้นผิวเหล่านั้นแล้วมาจับตา จมูกหรือปาก ก็จะมีเชื้อโรค นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลเจลถูมือ
อาการของโรค
• มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา
• ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานติดต่อกันมากกว่า 4 วัน
• บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย
• หายใจลำบากมีไอร่วมด้วย ในบางรายรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบ หรือปอดบวม
• ปวดเมื่อยตามตัว ทานอาหารไม่ค่อยได้
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)
++++++++++
ภาพโดย Elf-Moondance จาก Pixabay