รีเซต

โควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์อังกฤษระบาดเร็ว เปิดสายพันธุ์จากอู่ฮั่น สู่เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่นาทีต้องทำความรู้จัก!!! ระบาดทั่วโลก

โควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์อังกฤษระบาดเร็ว เปิดสายพันธุ์จากอู่ฮั่น สู่เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่นาทีต้องทำความรู้จัก!!! ระบาดทั่วโลก
PakornR
6 ธันวาคม 2564 ( 13:53 )
4.8K
1

การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 จาก เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน เมื่อเดือน ธันวาคม 2562 ต่อมาสายพันธุ์อังกฤษ เริ่มระบาด จนวันนี้โควิดสายพันธุ์อินเดีย ที่ได้ขึ้นชื่อว่า ติดเชื้อง่าย และไวที่สุด ตามต่อมาด้วยสายพันธุ์เดลต้า ล่าสุดสายพันธุ์โอไมครอนเข้าไทย สายพันธุ์โควิดใหม่เอี่ยมที่ได้ชื่อว่าอันตรายมากที่สุด ซึ่งโรคระบาดยังคงเป็นปัญหาสำคัญให้กับมวลมนุษยชาติ แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนในหลายประเทศ และหลายชนิดวัคซีนทั้ง ไฟเซอร์ โมเดอร์นา , แอสตร้าเซเนกร้า , ซิโนแวค , ซิโนฟาร์ม รวมทั้งวัคซีนในโครงการ COVAX หรือแม้กระทั่งงานวิจัยล่าสุดของวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอนห์สัน ที่เริ่มฉีดในบางประเทศแล้ว เป็นอาวุธสำคัญในการต่อสู้กับโควิด-19 ในครั้งนี้ แต่ก็ยังไม่เห็นตอนจบของเรื่องว่า จะใช้เวลายาวนานเพียงไร 

 

 

 

 

ย้อนไปดูรายงานผลวิเคราะห์ตัวอย่างจีโนมกว่า 185,000 ตัวอย่างจากโครงการแบ่งปันข้อมูลไข้หวัดใหญ่โลก (จีไอเอสเอไอดี) ฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ใหญ่ที่สุดในโลก ชี้ให้เห็นว่า ไวรัสตัวนี้ มีต้นกำเนิดมาจากสายพันธุ์ L ที่เป็นสายพันธุ์ต้นกำเนิดพบครั้งแรกใน เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน เมื่อเดือน ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา ก่อนที่ต่อมาเปลี่ยนแปลงแยกเป็น 8 สายพันธุ์หลัก ดังนี้

 

 

สายพันธุ์โควิด-19 ที่แตกจากสายพันธุ์ L

 

1.สายพันธุ์ S

ค้นพบช่วงต้นปี 2563 พัฒนามาจากสายพันธุ์ L ระบาดระลอกแรกในประเทศไทย เมื่อเดือน มี.ค.2563

 

2.สายพันธุ์ V (Valine)

 

3.สายพันธุ์ G (Glycine)

เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดหลัก ในวงกว้าง มีความทนทานมากกว่าสายพันธุ์อื่น ระบาดหนักในหลายประเทศที่อยู่อันดับต้นๆ ของการระบาด ไม่ว่า สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ที่ระบาดซ้ำหลายรอบ ในรูปแบบซูเปอร์สเปรดเดอร์ พบว่า สายพันธุ์ G :  D614G มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนจากเดิมคือ Aspartate (D) ในตำแหน่งที่ 614 ของ spike โปรตีน หรือเรียกว่า D614 ไปเป็น Glycine เรียกว่า G614 คือกรดอะมิโนของ spike หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมาในตำแหน่งที่ 614 จากสายพันธุ์เดิม จะพบมากที่สุด และเป็นสายพันธุ์ที่ครองโลก

 

4.สายพันธุ์ GR (Arginine)

เป็นไวรัสสายพันธุ์ลูกหลานจากสายพันธ์ G

 

5.สายพันธุ์ GH (Histidine)

แตกสายพันธุ์ลูกหลานจากสายพันธ์ุ G เช่นกัน เชื้อตัวนี้เคยระบาดในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2563  ล่าสุด มีการยืนยันว่าการระบาดโควิดระลอกใหม่ในตลาดกลางกุ้ง สมุทรสาคร เกิดจากเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์จีเอช (GH) ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา , อ.แม่สาย จ.เชียงราย และ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ระบาดมารัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา และมีบางส่วนลักลอบเข้าไทยทำให้มีการระบาดในประเทศไทย

 

6.สายพันธุ์ GV

 

7. สายพันธุ์ O

พวกที่กลายพันธุ์ไม่บ่อยรวมกัน

 

8.สายพันธุ์ B

หรือ SARS-CoV-2 VUI 202012/01 ต้นกำเนิดกลายพันธุ์จากประเทศอังกฤษ พบว่า ความรุนแรงของอาการไม่แตกต่างจากเชื้อสายพันธุ์อื่น แต่ข้อมูลทางวิชาการ ทราบว่า มีการระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธ์ุอื่นประมาณ 1.7 เท่า 

 

 

โควิด-19 กลายพันธ์ุสายพันธุ์ใหม่ 

 

สายพันธุ์ใหม่จากอังกฤษ

เกิดการกลายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญของไวรัสที่ก่อโรคโควิด-19 ตัวนี้น่าจะเกิดจากคนไข้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอซึ่งไม่สามารถต่อสู้กับไวรัสได้ จึงทำให้ร่างกายของคนไข้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์ โดยมีชื่อว่า “สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ B.1.1.7” นักวิทยาศาสตร์ทำการถอดรหัสพันธุกรรมทำให้ทราบว่าสายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ของอังกฤษกลายพันธุ์ที่ทั่วโลกเฝ้าระวังกันมาก มีการถอดรหัสพันธุกรรม 2 ราย มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งเกาะจับตัวรับของเซลล์มนุษย์ (N501Y) การกลายพันธุ์ที่จุดตัดของสไปค์โปรตีน (P681H) ตำแหน่งอื่น ๆ ที่ขาดหายไป (Spike 69-70 Deletion)

 

 

ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้การพบเชื้อไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ชนิด B.1.1.7 ในประเทศอังกฤษ นั้นได้สร้างความวิตกกังวลใจให้กับหลายประเทศทั่วโลก เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้กลายพันธุ์ถึง 17 ตำแหน่ง ทั้งที่ในรอบ 11 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ไวรัสจะกลายพันธุ์เดือนละประมาณ 1-2 ตำแหน่งเท่านั้น โดยหนึ่งในจุดที่พบการกลายพันธุ์คือ โปรตีนส่วนหนามของไวรัส ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนที่อยู่บนโปรตีนผิวไวรัส และเป็นการกลายพันธุ์ตามกลไกการเอาตัวรอดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่จะทำให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ดีขึ้น

 

สายพันธุ์นี้ ทั่วโลกเฝ้าระวัง และสั่งระงับเที่ยวบินขาเข้าที่มาจากอังกฤษไปหลายประเทศแล้ว สำหรับประเทศไทย เร่ิมจากการ พบว่า มีครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คน พ่อ แม่ ลูก 2 คน ติดเชื้อทั้ง 4 คน ในช่วงต้นปี 2564 โดยที่แม่และลูกเป็นก่อน พ่อเป็นทีหลัง มาจากเมือง Kent ประเทศอังกฤษและอยู่ใน ASQ (Alternative State Quarantine) โดยมีการควบคุมอย่างดีและระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้เชื้อหลุดรอดออกมาได้ ผู้ป่วยยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลในห้องความดันลบและต้องมั่นใจว่าไม่มีเชื้อแล้ว จึงจะออกมา ดังนั้นโอกาสที่จะแพร่ขยายในประเทศไทยจึงไม่มี

 

สายพันธุ์ใหม่ในทวีปแอฟริกา

นอกจากสหราชอาณาจักร ยังพบการอุบัติของเชื้อโรคโควิด-19 กลายพันธุ์อีกชนิดในประเทศแอฟริกาใต้ที่ชื่อ 501.V2 ซึ่งดูเหมือนจะมีการกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นจากชนิดที่พบในอังกฤษและทำให้เชื้อติดต่อได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว

 

นับแต่ทีมนักวิทยาศาสตร์ตรวจพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ในแอฟริกาใต้เมื่อช่วงกลางเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามันได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่พบในผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในประเทศ โดยเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2563  แอฟริกาใต้กลายเป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่มีผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 ทะลุหลัก 1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 26,735 คน นับแต่โรคเริ่มระบาดเข้าไปในประเทศเมื่อเดือน มี.ค.

 

 

ส่วนเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2563 หน่วยงานควบคุมโรคของแอฟริการายงานการพบเชื้อโรคโควิด-19 กลายพันธุ์อีกชนิดที่ชื่อ P681H ในประเทศไนจีเรีย โดยเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่ได้กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ที่พบในอังกฤษหรือแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้จะไม่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเท่าสองชนิดที่กล่าวมาข้างต้น

 

ทางด้าน สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานสถานการณ์โควิด-19 ว่า ในประเทศฝรั่งเศส ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อคนแรกในประเทศจากไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ หรือ 501.V2 ซึ่งทางการแอฟริกาใต้ตรวจพบเมื่อกลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว และตรวจพบในประเทศอื่นๆ รวมถึง ญี่ปุ่น และ สหราชอาณาจักร อีกด้วย

 

สายพันธ์ุใหม่ในอิสราเอล

ล่าสุด (31 มีนาคม) กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอล ได้รายงานการค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก โดยเชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์ดังกล่าว ถูกตรวจพบระหว่างการศึกษาของห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยากลางของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์การแพทย์ชีบา ทางตอนกลางของอิสราเอล การศึกษาดังกล่าวตรวจสอบและสรุปรวมเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ที่ปรากฏในอิสราเอลนับตั้งแต่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ถึงเดือนมกราคม 2021

 

 

โดยการตรวจพบเชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์ครั้งนี้ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักใน 181 ตัวอย่างที่ถูกเก็บรวบรวมครั้งแรก เมื่อเดือนกรกฏาคมปีก่อนและไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ตรวจพบใหม่ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสที่แพร่ระบาดเป็นวงกว้างหรือทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง

 

สายพันธุ์ใหม่ในอินเดีย

ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 มีข่าวจากประเทศอินเดีย รายงานว่า แพทย์หญิงกวิตา พาเทล นักวิจัยจากสถาบันบรุคกิงส์ เผยกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า โควิด-19 สองสายพันธุ์ที่พบในอินเดียน่ากังวลมาก และอาจแพร่ไปประเทศอื่นทั่วโลกได้ จำเป็นต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด โดย กระทรวงสาธารณสุขอินเดีย เผยว่า พบโควิดกลายพันธุ์ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ E484Q และ L452R ซึ่งการกลายพันธุ์ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อินเดียแตกต่างจากที่อื่นเพราะพบการกลายพันธุ์คู่ ที่อาจทำให้ไวรัสติดต่อได้ง่ายขึ้น หรือหลบระบบป้องกันในร่างกายมนุษย์ได้ดีขึ้น โดยการกลายพันธุ์นี้ มีข้อมูลพบว่า  การกลายพันธุ์ที่มีนัยสำคัญ 2 ตำแหน่งในเชื้อไวรัสชนิดเดียว อาจจะส่งผลต่อการระบาด ติดเชื้อได้ง่าย 

 

ซึ่งการพบตัวอย่างเชื้อโรคโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่งในเชื้อชนิดเดียวนั้น พบว่า เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการตรวจเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งยังไม่มากพอที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์โดยตรง หรือช่วยอธิบายถึงการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในบางรัฐได้

 

covid-19 ในสนามมวยและผับทองหล่อ  

 

การระบาดในประเทศไทยในปี 2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยผลการติดตามสายพันธุ์ของโรคระบาด covid 19 สำหรับการระบาดในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2563 ไว้ว่า  

 

 

เชื้อไวรัสโคโรนา ที่ระบาดในประเทศไทยในเดือนมกราคม 2563 เป็นสายพันธุ์ที่เข้ามาจากประเทศจีน คือ สายพันธุ์อู่ฮั่น เป็นชนิด L (leucine) พบการระบาดมากในเดือนมีนาคมที่สนามมวย และสถานบันเทิงย่านทองหล่อ ซึ่งทั้ง 2 แห่ง เป็นสายพันธุ์เดียวกันแตกมาจากสายพันธุ์ L เป็นชนิด S (serine) ไม่ได้แตกต่างกัน จึงไม่เป็นความจริงที่ว่าสายพันธุ์สนามมวยรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่ระบาดจากผับย่านทองหล่อ แต่คนที่ติดจากสนามมวยมีความเสี่ยงมากกว่า สืบเนื่องจากปัจจัยผู้ป่วย เช่น อายุ คือกลุ่มคนจากสนามมวยมีอายุที่มากกว่ากลุ่มคนจากผับย่านทองหล่อ

 

ทั้งนี้ สายพันธุ์ที่สนามมวยและผับทองหล่อ ไม่ได้มาจากอิตาลี แต่สายพันธุ์จากอิตาลี ก็พบว่ามีที่ประเทศไทย สืบเนื่องจากคนที่กลับมาจากอิตาลี เป็นชนิด L (leucine)

 

การระบาดใน 1G1 ท่าขี้เหล็ก และ สมุทรสาคร

 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงผลการตรวจสอบรหัสสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ที่ระบาดในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ว่า เป็นสายพันธุ์ GH เหมือนกับที่พบในสถานบันเทิง 1G1 ในเมืองท่าขี้เหล็ก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (พม่า) และ อ.แม่สอด จ.ตาก

 

 

ซึ่งสายพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดหรือวิวัฒนาการมาจากอินเดีย ระบาดเข้ามาทางรัฐยะไข่ แล้วแพร่กระจายไปทั่วพม่า แล้วลักลอบเข้ามาในไทย  

 

 

 

 

ดังนั้น เพียงแค่เวลาขวบปีที่ผ่านมา สายพันธุ์เชื้อโควิด-19 จากอู่ฮั่น สู่เชื้อกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้สันนิษฐานได้ว่า การพัฒนาตัวเองเพื่อยึดเกาะในเซลล์ร่างกายของมนุษย์ให้ดีขึ้น เป็นการพัฒนาตัวเองของเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่องในการอยู่รอด

 

การต่อสู่กับมันจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ความหวังในประสิทธิภาพของ "วัคซีน" จึงเป็นแสงสว่างปลายทางแสงเดียวในตอนนี้ที่มวลมนุษยชาติยังรอความหวัง

 

 

สายพันธุ์โอโมครอน สายพันธุ์ใหม่เอี่ยม อันตรายที่สุด 

สายพันธุ์ใหม่เอี่ยมที่ถูกจับตามอง เนื่องจากลามไปแล้วหลายประเทศ และโอไมครอนเข้าไทยแล้วด้วยเช่นกัน สำหรับสายพันธุ์ดังกล่าวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “B.1.1.529” ชื่อสามัญว่า “โอไมครอน” (Omicron) โดยเกิดการกลายพันธุ์ไปกว่า 50 ตำแหน่ง และมี 32 ตำแหน่งกลายพันธุ์บนหนามโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ที่จะจับกับเซลล์มนุษย์และเข้าไปทำอันตราย

 

ดังนั้น การเริ่มฉีดให้กับประชาชนในหลายประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกคนรอคอย และสำหรับประเทศไทย การเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้ง ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า ในประเทศไทย จะเป็นแนวทางสำคัญในการต่อสู้กับโควิด-19 อย่างสำคัญที่สุดต่อไป .

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

>>> เปิดไทม์ไลน์วัคซีนโควิด-19 เพื่อคนไทย

>>> ศบค.แถลงยอดผู้ติดเชื้อประจำวัน 

>>> อาการ โควิด-19 จะรู้ได้ไงว่าเราติดเชื้อ?

>>> ตรวจโควิดฟรี! ถ้าเข้าเงื่อนไข เช็กโรงพยาบาลได้ที่นี่

 

 

แหล่งอ้างอิง

https://www.bbc.com/thai/features

https://www.bbc.com/thai/international

https://mgronline.com/

https://www.hfocus.org/content/2020/08/19882

https://www.facebook.com/informationcovid19 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

ภาพปก : Image by enriquelopezgarre from Pixabay 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง