รีเซต

เลือกใช้ให้เหมาะสม หน้ากากอนามัย 6 ประเภท และหน้ากากแบบมีวาล์ว

เลือกใช้ให้เหมาะสม หน้ากากอนามัย 6 ประเภท และหน้ากากแบบมีวาล์ว
PakornR
6 มกราคม 2564 ( 15:09 )
1.6K
เลือกใช้ให้เหมาะสม หน้ากากอนามัย 6 ประเภท และหน้ากากแบบมีวาล์ว

ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 การสวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิต การเลือกอย่างเหมาะสมสำหรับประเภทและประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัย จึงมีความจำเป็นเพื่อให้เกิดการใช้งานที่ตอบโจทก์ตรงตามวัตถุประสงค์ของหน้ากากชนิดต่าง ๆ  

 

ประเภทของหน้ากากอนามัย 

 


1. หน้ากากกันฝุ่นทั่วไป หรือหน้ากากผ้า

 

Image by Alexander Droeger from Pixabay 

 

มี 2 แบบ แบบแรกผลิตจากผ้าฝ้าย ใช้สำหรับป้องกันฝุ่นละออง และป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอ/จามได้ แบบที่สองผลิตจากใยสังเคราะห์ ซ้อนทบชั้นกัน ใช้ในการกรองฝุ่น ป้องกันเชื้อโรคจำพวกเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราได้

 


2. หน้ากากทางการแพทย์  

 

Image by Markus Winkler from Pixabay 

หน้ากากทางการแพทย์ ผลิตขึ้นจากผ้าหรือพอลิโพรไพลีนซึ่งเป็นพลาสติกที่มี ความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเป็น วิธีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้ถึง 99% สําหรับวิธีการใส่ควรใส่โดยการนําด้านสีเขียวออกด้านหน้า เพื่อกันสาร คัดหลั่งจากคนอื่นเข้ามาสู่ตัวเรา นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันฝุ่นและเกสรดอกไม้ ได้ขนาดเล็กสุดถึง 3 ไมครอน และสามารถกันได้ถึง 66.37% แต่แนะนําให้ใส่ 2 แผ่น เพราะจะกันได้มีประสิทธิภาพถึง 89.75%

 

 

3. หน้ากากคาร์บอน

 

หน้ากากอนามัยแบบคาร์บอน หรือ หน้ากากอนามัยสีดํา คุณสมบัติไม่ต่างจาก หน้ากากทางการแพทย์ แต่จะมีความพิเศษมากขึ้นมาเพราะมีชั้น Carbon ที่สามารถกรองกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ดีกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป มีความหนา เส้นใยสังเคราะห์ถึง 4 ชั้น สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ถึง 95% กรองฝุ่นละออง ขนาด 3 ไมครอน สามารถกันได้ถึง 66.37% และถ้าสวมใส่ 2 แผ่น จะกันได้ มีประสิทธิภาพถึง 89.75% เช่นเดียวกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์

 


4. หน้ากาก N95

หน้ากากอนามัย N95 เป็นหน้ากากอนามัยชนิดที่ช่วยป้องกันการเชื้อโรคที่มีขนาด เล็กมากๆ ได้ โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป เพราะลักษณะของหน้ากากอนามัย N95 นี้มีลักษณะครอบลงไปที่บริเวณหน้าปาก และจมูกอย่างมิดชิด จึงทําให้เชื้อไวรัสหรือสารปนเป้อื นไม่สามารถลอดผ่านได้ และ ด้วยหน้ากากอนามัย N95 ผลิตจากโพลีโพรพีลีน (Polypropylene) มีประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 ไม่น้อยกว่า 95% ถือว่าสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่เมืองไทยเผชิญอยู่ในขณะได้ในระดับดี มากอีกด้วย

 

 

5. หน้ากาก FFP1

 

Image by Skica911 from Pixabay 

 

มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับหน้ากาก N95 ป้องกันฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ดักจับอนุภาคขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM10 ไม่น้อยกว่า 94% แต่ นอกเหนือจาก N95 คือ สามารถป้องกัน สารเคมี ฟูมโลหะ ได้เพิ่มเติมอีกด้วย และ ออกแบบให้ส่วนบนมีความเว้า ครอบลงไปที่บริเวณหน้าปากและจมูกอย่างมิดชิด

 


6. หน้ากากฟองน้ำ

ผลิตจากโพลียูรีเทนคาร์บอนสําหรับกรองอากาศ โดยเฉพาะ สามารถซักทําความสะอาดได้ แห้งเร็ว พับเก็บไม่ยับสามารถคืนรูปเดิม ได้ไม่เสียทรง ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันสามารถกันฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก และเกสรดอกไม้ได้

 

 

 

คุณสมบัติหน้ากากชนิดมีวาล์วระบายอากาศ

 

Image by rottonara from Pixabay 

 

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร  สมัยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เคยให้สัมภาษณ์อธิบายรายละเอียดหน้ากากชิดนี้ว่า  การใช้หน้ากาก N95 จะกระชับใบหน้า มีคุณสมบัติระดับการกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากลงไปจนถึง 1 ไมคอน ได้มากกว่า 95% แต่การใส่แล้วแนบกระชับอากาศจะเข้า-ออกได้น้อย เวลาใส่นานๆ จึงอาจหายใจลำบาก ทำให้เริ่มมีการออกแบบให้หน้ากากมีวาล์วเพื่อช่วยให้ลมหายใจที่อยู่ภายในหน้ากากออก ซึ่งอากาศข้างนอกจะเข้าไม่ได้เนื่องจากเป็นวาล์วให้อากาศออกอย่างเดียวโดยมีตัวกรองเล็กๆ อยู่ในวาล์ว ทำให้เราใส่หน้ากากแบบนี้ในบางสถานการณ์ได้ ไม่ทำให้หายใจเหนื่อย
 


อย่างไรก็ตาม หากมี อาการไอจามจริงๆ ไม่แนะนำให้ใส่หน้ากากแบบวาล์ว เพราะเวลาที่เราไอจามละอองฝอยสามารถออกมาที่วาล์วได้ แต่ถึงกระนั้นด้วยความที่วาล์วมีแผ่นกรองจึงช่วยลดความแรงของการไอจามลงได้บ้าง อาจจะพุ่งไปไม่ได้ไกลมาก ซึ่งทางที่ดีแนะนำเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ถูกกว่า ปลอดภัยทั้งตัวเราและผู้คนรอบข้าง  



ทั้งนี้ หน้ากากอนามัยแบบวาล์วเหมาะสำหรับการใส่เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากกว่าป้องกันการแพร่เชื้อ และเหมาะมากในสถานการณ์ฝุ่น.

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ภาพปก : Image by leo2014 from Pixabay 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง