เปิดจุดเสี่ยงติดโควิดในที่ทำงานหายป่วยโควิดแล้ว กลับมาทำงานได้ไหม
ด้วยสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังไม่มีท่าทีที่จะลดลง แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการเปิดสถานที่มากขึ้น หรืออนาคตจะเปิดประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็ตาม แต่ชีวิตเราก็ต้องระมัดระวังตัวจากความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จากการสัมผัสทุกอย่างเมื่อเราก้าวออกจากบ้าน
นอกจากนั้นยังคงมีหลายสำนักงาน หลายออฟฟิศที่ไม่ได้ WFH ต้องไปทำงาน อาจทำให้ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 โดยไม่รู้ตัวได้ วันนี้ TrueID จึงได้รวบรวมจุดเสี่ยงติดโควิดภายในออฟฟิศมาฝากกันว่ามีที่ไหนบ้าง และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือหากเคยติดโควิดแล้วต้องกลับทำงานจะสามารถไปทำงานได้เลยไหม ต้องระวังอะไรบ้าง
10 จุดเสี่ยงในออฟฟิศ
1.ที่สแกนนิ้ว
2.ที่จับประตู
3.ห้องน้ำ
4. โต๊ะอาหาร
5.ตู้กดน้ำ
6.พื้นที่พักผ่อน
7.เครื่องถ่ายเอกสาร
8.โต๊ะทำงาน
9.ห้องประชุม
10.อุปกรณ์ส่วนรวม
สัมผัสจุดเสี่ยงมารีบทำตามนี้
1. หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัสได้ ให้รีบล้างมือทันทีหลังสัมผัส
2. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หรือ ทำความสะอาดมือทันทีด้วยเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคที่ติดอยู่บนปุ่มกดเข้าสู่ร่างกาย
3. หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัสได้ ให้รีบล้างมือทันทีหลังสัมผัส
4. จุดที่อาจเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคจากคนมากหน้าหลายตา ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง หรือ ทำความสะอาดมือทันทีด้วยเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคที่ติดอยู่บนปุ่มกดเข้าสู่ร่างกาย
5. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของหรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีผู้ใช้ร่วมกันจำนวนมาก
6. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งของหรือทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับ สวมหน้ากาก และ เว้นระยะห่างทางสังคม ช่วยลดโอกาสรับและส่งต่อเชื้อโรคไปสู่คนรอบข้างได้1.ที่สแกนนิ้ว
การไปทำงานในช่วงโควิด-19 ระบาด
1.เดินทางไปทำงานอย่างปลอดภัย
ควรติดตามข่าวสารจำนวนผู้ติดเชื้อและข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคโควิด-19 เป็นประจำ รวมทั้งสังเกตอาการป่วยของตนก่อนออกไปทำงาน หากสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือมีอาการป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหาเชื้อ
2.รักษาสุขอนามัยของตนเอง
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำรับประทานอาหารสุก สด ใหม่ และใช้ช้อน ส้อม แก้วน้ำส่วนตัว ไม่อยู่ใกล้และสัมผัสผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม หรือมีไข้ รวมถึงสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน
3.เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
รักษาระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร หรือปรับแผนการเข้าทำงานให้พนักงานสลับวันหรือเวลาในการทำงาน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก
4.หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์สำนักงาน
สิ่งของที่พนักงานใช้ร่วมกันมักเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ง่าย เช่น ลูกบิดหรือที่จับประตู ห้องประชุม ต้องทำความสะอาดพื้นผิวของสิ่งของต่าง ๆ อยู่เสมอ
5.สังเกตอาการของตนเองเป็นประจำ
การตรวจวัดอุณหภูมิของพนักงานก่อนเข้าทำงานเป็นการกัดกรองในเบื้องต้น ดังนั้นแม้ว่าจะยังไม่มีอาการป่วยใด ๆจำเป็นต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงโควิด-19
1.หากกลับจากพื้นที่เสี่ยงโควิด-19 ควรสังเกตอาการ ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อยด้วยตนเองที่บ้าน อย่างน้อย 14 วัน
2.กรณีที่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อแนะนำให้ตรวจหาเชื้อ โดยตรวจหลังสัมผัสผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 5-7 วัน หากไม่มีประวัติใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ให้สังเกตอาการ ไม่แนะนำให้ตรวจหาเชื้อขณะที่ไม่มีอาการผิดปกติ
3.ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์
4.งดใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
5.งดเดินทางไปในที่ชุมชน และหลีกเลี่ยงการใช้บริการขนส่งสาธารณะโดยไม่จำเป็น
6.หากมีอาการสงสัยว่าป่วย ให้สวมหน้ากากอนามัยและวัดไข้ทุกวัน
7.หากมีอาการผิดปกติ แนะนำพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง
หายป่วยโควิด–19 แล้ว สามารถกลับไปทำงานได้เลยหรือไม่?
ผู้ที่หายป่วยจากโควิด–19 แล้วนั้นสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่จำต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลที่รักษา ครบ 14 วัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจหา RT – PCR หรือตรวจหาภูมิคุ้มกันซ้ำก่อนกลับไปทำงาน ทั้งนี้ต้องสังเกตอาการตนเองที่บ้าน 14 วัน (กรณีที่ออกจาก รพ.มาก่อน ให้อยู่บ้านต่อจนครบ 14 วัน นับจากวันที่ตรวจเจอเชื้อ) อย่าลืมบันทึกไทม์ไลน์ตนเองขณะออกจากบ้านไปทำงานด้วย กรณีที่มีอาการไข้สูงไอ จามภายใน 14 วัน ให้กลับมาพบแพทย์ เพราะถึงจะเป็นแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้
ฉีดวัคซีนแล้ว หรือเคยป่วยโควิด-19 ก็ต้องดูแลตัวเอง
แม้ใครจะฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม หรือเคยป่วยเป็นโควิด–19 แล้วก็ตาม ยังคงต้อง สวมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าทับ 2 ชั้น ล้างมือด้วยสบู่หรือเจล/สเปรย์แอลกอฮอล์สม่ำเสมอ เว้นระยะห่าง 1 – 2 เมตร ไม่เข้าไปพื้นที่เสี่ยงแอดอัด กินร้อนช้อนกลาง และเมื่อกลับเข้าบ้านควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมทันที่
ข้อมูลจาก สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- Work From Home อย่างไรให้ปลอดภัยทางไซเบอร์ ในยุคโควิด-19
- Hybrid Working คือมาตรฐานการทำงานแบบใหม่ ในยุค Next Normal หรือไม่?
- ไม่อ่านข้อความกลุ่ม!!! ดี VS ไม่ดีอย่างไรบ้าง? เมื่อต้อง Work From Home ในยุคโควิด
- ตอบโจทย์ WFH ด้วย VWORK (วีเวิร์ค)
- Work from home อีกครั้ง ลืมไปหรือยังว่าต้องทำยังไงให้ได้งาน ?
- ตาแดง ตาล้า ปวดตา ได้เวลาดูแลดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ยุคโควิด-19 ระบาด