รีเซต

ตาแดง ตาล้า ปวดตา ได้เวลาดูแลดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ยุคโควิด-19 ระบาดซ้ำ

ตาแดง ตาล้า ปวดตา  ได้เวลาดูแลดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ยุคโควิด-19 ระบาดซ้ำ
TrueID
16 เมษายน 2564 ( 10:29 )
328
ตาแดง ตาล้า ปวดตา  ได้เวลาดูแลดวงตา เมื่อต้อง Work from Home ยุคโควิด-19 ระบาดซ้ำ

จากข่าววันนี้ที่การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในระลอกสาม กำลังสร้างผลกระทบครั้งรุนแรงต่อผู้คนในหลายวงการอีกครั้ง แม้หนึ่งในมาตรการที่ช่วยให้เราปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการทำงานอยู่ที่บ้าน หรือ Work from Home รวมทั้งการกักตัวอยู่บ้าน ลดการพบปะผู้คน แต่กระนั้นเมื่อเราอยู่บ้านก็ใช่ว่าจะอยู่เฉย หรือนั่ง นอน นิ่ง ไปวันๆ 

 

ส่วนใหญ่ จะมีอุปกรณ์มือถือ แท็ปเลต ติดตัวกันด้วยเสมอ สิ่งนั้นไม่เพียงจะมีอันตรายจาก “แสงสีน้ำเงิน” (Blue Light) รวมถึงการสื่อสารรอบตัวเราก็จะทำผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลกันทั้งสิ้น ทำให้เราต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ เพื่อติดต่อพูดคุย หรือประชุมงานเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) จากการใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานานๆ ได้

 

เมื่อต้อง Work from Home อาการตาแดง แสบตา ปวดตา อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งบางอาการอาจไปคล้ายอาการบ่งชี้โควิด-19 ที่กำลังระบาดตอนนี้ วันนี้เรามาดูกันว่า อาการผิดปกติของดวงตาที่มีผลมาจาก Work from Home  มีอะไรบ้าง เริ่มจาก

 

 

อาการตาแห้ง 

 

เมื่อต้อง Work from Home ส่วนใหญ่แล้วเราจะต้องอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะทำงานหรือจะประชุม ทำให้ใช้สายตาจ้องจอมากขึ้น ในระหว่างที่เราจ้องหน้าจอ เราจะกะพริบตาน้อยลงถึง 50% ซึ่งทำให้เกิดอาการตาแห้ง เคืองตา หรือมองเห็นภาพเบลอ

กรณีที่ต้องจ้องหน้าจอนานมากๆ จึงอาจทำให้ตาล้า ตาแห้ง จึงควรต้องกะพริบตาระหว่างการทำงานบ่อยๆ เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตามากขึ้น และไม่จ้องอะไรนานจนเกินไป จะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด เพื่อลดพฤติกรรมการขยี้ตา อันเป็นความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะเข้าสู่ดวงตา หรือหากแสบตามากๆ อาจจะต้องไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจดวงตา โดยแพทย์อาจจะสั่งน้ำตาเทียมให้เรามาหยอดตาเพื่อช่วยลดอาการตาแห้งลงได้ โดยใช้หยอดในช่วงแรกทุก 2 ชั่วโมง เมื่อดีขึ้นอาจจะเว้นห่างออกไป

 

พักกล้ามเนื้อตาล้า

 

เมื่อใช้สายตานานๆ จ้องมากๆ ดวงตาอาจล้า มาจากการใช้กล้ามเนื้อตามากเกินไป เราจึงควรพักสายตาตามกฎ 20-20-20 นั่นคือทุกๆ การทำงาน 20 นาที ควรพักสายตา 20 วินาที โดยมองออกไปไกล 20 ฟุต ซึ่งถ้ามองเห็นสวนหรือพื้นที่สีเขียวจะดีมาก เพื่อช่วยให้ดวงตามีการเปลี่ยนระยะโฟกัสและผ่อนคลาย ซึ่งในระหว่างนี้เราควรลุกยืดเส้นยืดสายด้วย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกายไปพร้อมกัน

 

แสงสีน้ำเงินทำร้ายดวงตา

 

แสงสีฟ้า คือ แสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถทะลุผ่านเลนส์ตาและกระจกตาเข้าไปถึงจอประสาทตาได้จนอาจทำให้ตาล้า ตาแห้ง จนกระทั่งจอประสาทตาอาจเสื่อมได้ ด้วยเหตุนี้การสวมแว่นตาตัดแสงสีฟ้าจึงเป็นการช่วยปกป้อง และถนอมดวงตาได้อีกทาง เพราะช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มองจอได้ชัดเจนขึ้น และลดความเมื่อยล้าของดวงตา

 

ทำความสะอาดแว่นตา 

 

สิ่งสำคัญที่เราต้องไม่ลืมในการสวมใส่แว่นตา โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ก็คือการทำความสะอาดแว่นและเลนส์เป็นประจำอย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่มันสามารถคงอยู่บนพื้นผิววัตถุได้นานนับชั่วโมงหรือนานตลอดวัน

 

วิธีดูแลสายตา 

 
การดูแลดวงตาของเราเมื่อต้องใช้งานหนักในช่วง Work from Home นอกจากจะช่วย ลดอาการตาล้า ตามัว ตาแห้ง หรืออาการเวียนหัวแล้ว เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการใช้สายตามากเกินไปย่อมไปส่งผลดีต่อสุขภาพ เพราะเรายังมีอีกหลายกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา มากกว่าแค่การใช้จ้องจอเพียงอย่างเดียว ช่วงนี้ ต้องรีบมาดูแลสุขภาพดวงตาของเราก่อนสายเกินแก้กัน 
 
 
 
 
 

กินเพื่อบำรุงสายตา 

 
สสส. ให้ข้อมูลเรื่อง วิธีการบำรุงสายตาโดยการทานอาหารเสริมได้หรือไม่ ? ระบุว่า จากการวิจัยของแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศพบว่า การรับประมานอาหารเสริมที่มีสารอาหารดังต่อไปนี้ มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา

                1.วิตามิน A เป็นสารที่ช่วยในการทำงานของจอประสาทตาและมีบทบาทสำคัญในการมองเวลากลางคืน ซึ่งพบมากในผักจำพวก ชะอม คะน้า ยอดกระถิน ตำลึง ผักโขม ฟักทอง

                2.วิตามิน B มีการศึกษาพบว่า วิตามิน B1 และ B12 อาจมีบทบาทในการชะลอการเกิดต้อกระจกได้ โดยแหล่งที่มีวิตามินชนิดนี้มาก ได้แก่ ตับ ไข่ เนื้อสัตว์ นมสด

                3.วิตามิน C เป็นที่รู้จักกันดีของการชะลอความแก่ของร่างกายด้วยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) นอกจากนั้นยังอาจช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกได้อีกด้วย ผลไม้ที่มีวิตามิน C มาก ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะขามป้อม ส่วนผัก ไก้แก่ กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่

                4.วิตามิน E ก็เป็นวิตามินอีกตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีอยู่ในเซลล์รับแสงที่จอประสาทตา และการศึกษาพบว่าอาจมีบทบาทช่วยชะลอการเกิดต้อกระจกเช่นเดียวกัน พบได้ใน น้ำมันธัญพืช น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโพด ถั่วเหลือง

                5.เบต้าแคโรทีน (betacarotene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ซึ่งมีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการมองเห็นในกลางคืนเช่นเดียวกับวิตามิน A พบมากในผักผลไม้ที่มีเหลืองส้ม เช่น แครอท มะละกอ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้ง ข้อควรระวังคือการรับประทานเบต้าแคโรทีนในรูปอาหารเสริมมากไปในคนที่สูบบุหรี่จะเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้

                6.ลูทีน และ ซีแซนทิน (lutein and zeaxanthin) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในจุดรับภาพที่จอประสาทตาและเลนส์ตา มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยในการชะลอการเกิดต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อม พบมากใน ผักโขม ไข่แดง ข้าวโพด บร็อคโครี่

                7.ซีลีเนียม (selenium) เป็นสารอีกตัวหนึ่งที่ต้านอนุมูลอิสระและอาจช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก โดยพบได้ใน หอยนางรม หอยลาย ตับไก่ เมล็ดทานตะวัน

                8.สังกะสี (zinc) มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาพบว่ามีส่วนช่วยในการทำให้จอประสาทตาเสื่อมที่เป็นอยู่แล้วเป็นช้าลง โดยแหล่งที่พบสังกะสีได้แก่ หอยนางรม ตับ เนื้อสัตว์

                9.สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) นอกจากคุณสมบัติเพิ่มเลือดไหลเวียนไปที่สมองแล้วยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระเกี่ยวกับสายตาพบว่า อาจช่วยรักษาลานสายตาผิดปกติในต้อหินบางชนิดได้

                10.โอเมก้า 3 (omega 3) เป็นกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะตาแห้ง ซึ่งพบมากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ผลไม้ที่พบได้ เช่น ผลกีวี่

 

ฉะนั้นแล้ว เมื่อดวงตามีความสำคัญ การดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ยิ่งต้อง work form Home กันยาวๆ ต้องวางแผนดูแลกันเป็นอย่างดี เพื่อให้ดวงตาของเรามีสุขภาพที่ดี อยู่คู่กับเราได้ยาวๆตลอดไป.

 

 

ข้อมูลจาก :

 

ภาพปก : Image by RAEng_Publications from Pixabay 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง