รีเซต

ใกล้หมดยุคสถานีอวกาศนานาชาติ ISS แล้ว เตรียมพบกับ Starlab ปี 2027 นี้

ใกล้หมดยุคสถานีอวกาศนานาชาติ ISS แล้ว เตรียมพบกับ Starlab ปี 2027 นี้
TNN ช่อง16
2 กุมภาพันธ์ 2567 ( 02:21 )
43
ใกล้หมดยุคสถานีอวกาศนานาชาติ ISS แล้ว เตรียมพบกับ Starlab ปี 2027 นี้

ปัจจุบัน การพัฒนาอวกาศนั้นหันมาอยู่ในรูปแบบการแข่งขันเชิงพาณิชย์มากขึ้น ตั้งแต่การสร้างดาวเทียม การสร้างจรวดขนส่งอวกาศที่สามารถใช้งานซ้ำได้ และล่าสุด ได้มีแผนการพัฒนาสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์เพื่อทดแทนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส (International Space Station: ISS) ซึ่งยุติการใช้งานในปี 2030 นี้


สถานีอวกาศดังกล่าวเรียกว่า สตาร์แลป (Starlab) เป็นสถานีอวกาศเชิงพาณิชย์ที่ โวยาเจอร์ สเปซ (Voyager Space) สตาร์ตอัปด้านอวกาศสัญชาติอเมริกัน พัฒนาขึ้นมาร่วมกับพันธมิตรจากแอร์บัส (Airbus) และองค์กรอื่น ๆ ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การอวกาศยุโรป หรือ อีเอสเอ (ESA) 


Starlab มีรูปร่างเป็นยานทรงกระบอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 8 เมตร และสูง 8 เมตร พร้อมปลายเชื่อมต่อเทียบท่ายานอวกาศ (Docking Node) ในขณะที่ตัวสถานีจะมีแขนกล (Robotic Arm) ยื่นออกมา ซึ่งสามารถปรับตำแหน่งให้เข้ากับสัมภาระ (Payload) ที่ส่งขึ้นมาเป็นปลายยึดติดด้วยอากาศ (Payload Airlock) 


ว่าที่สถานีอวกาศใหม่นี้ ยังรองรับการติดตั้ง Payload ที่เป็นลักษณะส่วนเสริม (Hosted Payload) บนบริเวณที่เรียกว่า เพย์โหลด โฮสติ้ง (Payload hosting) ซึ่งสามารถนำเซนเซอร์หรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มาฝากติดกับตัวสถานีเพื่อเข้าถึงระบบไฟฟ้า ตลอดจนระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ กับตัวสถานีได้


ในขณะที่ภายในของ Starlab ได้ร่วมมือกับเครือโรงแรมฮิลตัน (Hilton) เพื่อช่วยออกแบบส่วนพื้นที่ทำงานและอยู่อาศัย ซึ่ง Starlab จะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น มีห้องทั้งควบคุมและห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถทดลองทางชีววิทยา ฟิสิกส์ การปลูกพืช วัสดุศาสตร์ และพื้นที่เปิดสำหรับออกแบบการทดลองบนอวกาศได้


ทั้งนี้ Starlab มีแผนส่งขึ้นไปที่ระดับวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) ภายในปี 2027 ก่อนที่ ISS จะปิดตัวลง ซึ่งทางบริษัทได้ตัดสินใจเลือกส่ง Starship ขึ้นไปด้วยยานสตาร์ชิป (Starship) ของสเปซเอกซ์ (SpaceX) ซึ่งเป็นการส่งขึ้นไปเพียงครั้งเดียว (Single launch) ไม่ต้องมีการไปประกอบ (Assembly) กลางอวกาศแบบที่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) หรือสถานีอวกาศอื่น ๆ เคยทำในอดีต 


ข้อมูลจาก New Atlas, Starlab

ภาพจาก Starlab


ข่าวที่เกี่ยวข้อง