รีเซต

ยกระดับหุ่นยนต์ให้ล้ำ สอนแปบเดียว ก็เปิดประตูเองได้

ยกระดับหุ่นยนต์ให้ล้ำ สอนแปบเดียว ก็เปิดประตูเองได้
TNN ช่อง16
25 สิงหาคม 2566 ( 13:42 )
141
ยกระดับหุ่นยนต์ให้ล้ำ สอนแปบเดียว ก็เปิดประตูเองได้

ปัจจุบันหุ่นยนต์นั้นมีพัมนาการด้านการเคลื่อนไหวและอากัปกิริยาในหลากหลายด้านใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวบางอย่างนั้นยังคงไม่เป็นธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น การเปิดประตู ที่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวข้อต่อหลายส่วนพร้อมกันหรือต่อเนื่องกัน แต่ล่าสุดนักวิจัยจากสวิตเซอร์แลนด์ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของหุ่นยนต์ ให้สามารถเข้าใจและเคลื่อนไหวเพื่อเปิดประตูให้ง่ายขึ้นได้แล้ว


สวิสพัฒนาหุ่นยนต์ให้เปิดประตูเองได้ง่ายขึ้น

ผลงานดังกล่าวเป็นของทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส ซูริก (ETH Zurich) ได้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของหุ่นยนต์ให้เข้าใจและถอดการแสดงท่าทางสาธิตของมนุษย์ได้ แบบไม่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญลงมือสอน รวมถึงสามารถสั่งการให้ทำงานซับซ้อนจากระยะไกลได้ด้วย กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นการพัฒนากลไกการออกคำสั่งที่ซับซ้อนให้ทำงานง่ายขึ้นนั่นเอง 


โดยผลลัพธ์การพัฒนาปรากฏเป็นภาพการสาธิตการทำงานของแอนีมอล (ANYmal) หุ่นยนต์ 4 ขา (Quadrupedal robot) ที่ทีมนักวิจัยใช้สาธิตกำลังเปิดประตูเครื่องล้างจาน และทำการเปิดประตูบานใหญ่ที่มีน้ำหนัก ซึ่งจะพบว่าหุ่นยนต์มีการใช้ขาหน้าในการค้ำยันประตูไม่ให้ปิดตัว ก่อนค่อย ๆ ขยับตัวแทรกระหว่างที่มือเปิดประตูไว้


หุ่นยนต์ยุคใหม่เข้าใกล้ความเป็นมนุษย์มากขึ้น

ทีมนักวิจัยเชื่อว่า กลไกการเคลื่อนไหวแบบใหม่นี้สามารถนำไปต่อยอดกับการสั่งงานที่ซับซ้อนแบบใดก็ได้ โดยตัวงานวิจัยนั้นตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการไซแอนซ์ โรบอติกส์ (Science Robotics) เมื่อ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้นักวิจัยเข้าใจธรรมชาติการเคลื่อนที่, การออกแรง, และการเลือกใช้ขาหรือแขนของหุ่นยนต์ได้มากขึ้น ไปจนถึงลดการควบคุมหุ่นยนต์อย่างมีนัยยะสำคัญ


อย่างไรก็ตาม การทำหุ่นยนต์ให้เปิดประตู ซึ่งเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญสู่การเป็นหุ่นยนต์ที่คล้ายมนุษย์นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2018 จากการพัฒนาแอตลาส (Atlas) หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ชื่อดังของโลกจากบริษัท บอสตัน โรบอติกส์ (Boston Robotics) ที่ได้ทำให้ข้อมือและแขนของหุ่นยนต์เคลื่อนไหวเพื่อเปิดประตูได้ รวมถึงมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสอนหุ่นยนต์ให้เคลื่อนไหวแบบมนุษย์ด้วยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายคน ซึ่งใช้เวลาเทียบเท่ากับ 13,000 ปี ด้วยเวลาจริงเพียง 4 นาที เท่านั้น แต่ทั้งหมดก็ต้องแลกกับทรัพยากรที่ทุ่มทุนไปมหาศาลเช่นกัน



ที่มาข้อมูล Tech Xplore

ที่มารูปภาพ Robotic Systems Lab: Legged Robotics at ETH Zürich


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง