หายห่วง! ประกันสังคมคุ้มครองรักษาโรคซึมเศร้า-จิตเวช
สำนักงานประกันสังคมคุ้มครองผู้ประกันตนบนสิทธิพื้นฐานที่ผู้เป็นสมาชิกควรได้รับ ทั้งการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ ว่างงาน โดยผู้ประกันตน คือ ลูกจ้าง หรือพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี ที่ทำงาน และต้องการจ่ายค่าประกันสังคมทุกเดือน ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของผู้ประกันตนได้ 3 แบบ คือ
ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้าง พนักงานประจำที่ทำงานในบริษัทต่าง ๆ
ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนแบบสมัครใจ เป็นบุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ เป็นลูกจ้างที่ลาออกจากงานและเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อนไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และลาออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยต้องไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ภายใน 6 เดือนหลังจากที่มีการแจ้งออกจากงาน
ผู้ประกันตนอิสระ มาตรา 40 คือ ผู้ประกันตนที่ทำงานอิสระ ฟรีแลนซ์ที่ไม่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 มาก่อน
โดยผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา จะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลอย่างครอบคลุมรวมถึงการรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชทุกประเภท ซึ่งสามารถใช้สิทธิในโรงพยาบาลตามสิทธิโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ที่มาภาพ : สำนักงานประกันสังคม
อาการแบบไหนควรตรวจโรคซึมเศร้า
- รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และหงุดหงิดง่าย
- ขาดความกระตือรือร้น
- เบื่ออาหาร / อยากอาหารมากยิ่งขึ้น
- นอนมากกว่าปกติ / นอนน้อยกว่าปกติ
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- รู้สึกไร้ค่า โทษตัวเอง
- ขาดสมาธิและการตัดสินใจลดน้อยลง
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสโรงพยาบาลตามสิทธิได้ผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม แอปพลิเคชัน และไลน์ของสำนักงานประกันสังคม
ที่มาข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม
ที่มาภาพ : TNN