รีเซต

ใครทิ้ง ทำร้าย สัตว์เลี้ยง น้องหมา น้องแมว ผิดกฎหมาย เจอโทษหนักมาก!

ใครทิ้ง ทำร้าย สัตว์เลี้ยง น้องหมา น้องแมว ผิดกฎหมาย เจอโทษหนักมาก!
TrueID
25 กรกฎาคม 2566 ( 17:09 )
158
ใครทิ้ง ทำร้าย สัตว์เลี้ยง น้องหมา น้องแมว ผิดกฎหมาย เจอโทษหนักมาก!

ใครทิ้ง ทำร้าย สัตว์เลี้ยง น้องหมา น้องแมว ผิดกฎหมาย เจอโทษหนักมาก! หลัง กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ โพสต์เตือนคนเลี้ยงสัตว์ บอกเลยปรับจริงจังมาก!!!

 

ทิ้งหมา แมว ทำร้ายสัตว์เลี้ยง ผิดกฎหมาย

 

ปัญหาหมาแมวจร ยังคงเป็นปัญหาที่เกิดจากหลากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือ การขาดความรับผิดชอบของคนเลี้ยงสัตว์ การขาดจิตสำนึก ละเลย ไม่ใส่ใจ ทั้งทำร้ายหมา แมว ไปจนถึงนำสัตว์เลี้ยง ไปปล่อยตามวัด ข้างทางรกร้าง สถานที่สาธารณะ โดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ และสภาพสังคม

 

เพื่อน ๆ ทุกคนรู้หรือไม่? การทิ้งสัตว์เลี้ยง ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ ซึ่งจาก พ.ร.บ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 คุ้มครองทั้งสัตว์เลี้ยงปกติ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อการแสดง ทั้งนี้ หมายถึงรวมถึงสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ และอาศัยอยู่ตามธรรมชาติด้วย และมาตราสำคัญ ที่คนเลี้ยงสัตว์ควรรู้ คือ

 

ทิ้ง ทำร้าย สัตว์เลี้ยง ปรับไม่เกิน 40,000 บาท

 

  • มาตรา 23 : ห้ามปล่อย ละทิ้งสัตว์ ให้พ้นความดูแลของตัวเอง ยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นดูแล
  • หากฝ่าฝืนโทษปรับไม่เกิน 40,000บาท

 

คิดจะเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว คิดให้รอบคอบสักนิด!!!

 

ซึ่งหากเพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังตัดสินใจรับเลี้ยงน้องหมา น้องแมว ต้องคิดให้รอบคอบมาก ๆ

 

  1. ต้องรักอย่างจริงใจ จริงจัง เพราะขนาดคนเรายังต้องการความรัก การดูแล เวลาในการเอาใจ สัตว์เหล่านี้ก็เช่นกัน
  2. มีปัญหาชีวิต เลี้ยงน้องไม่ได้ ห้ามทิ้ง ห้ามเท แต่ควร ประกาศหาบ้าน คัดบ้านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้น้องได้มีบ้านที่อบอุ่น 
  3. อย่าเพิ่มปัญหาให้กับสังคม ด้วยการนำสัตว์เลี้ยง ปล่อยวัด ปล่อยตามที่สาธารณะ เพราะสัตว์จรจัดที่ถูกทิ้งจะหมดจากสังคมไทยได้ อยู่ที่จิตสำนึกและความรับผิดชอบของตัวเอง 
  4. จำไว้เสมอ เลี้ยงสัตว์ ทิ้ง ทำร้าย น้องหมา แมว ผิดกฎหมาย เจอโทษหนักมาก

 

3 ช่องทาง ช่วยเหลือหมาแมวโดนทิ้ง ทำร้าย

และหากเพื่อน ๆ คนไหนพบใครที่ปล่อยปะละเลย ทิ้งสัตว์ หรือทำร้ายน้องหมา น้องแมว สามารถประสานแจ้งข้อมูลได้ที่

 

  1. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรืออำเภอในพื้นที่
  2. แจ้งข้อมูลผ่านทาง แอปพลิเคชัน DLD4.0   
  3. อสายด่วนกรมปศุสัตว์หมายเลข 02 -653-4444 

 

อย่าลืมติดตามข่าวล่าสุด ข่าวสัตว์เลี้ยง ได้ที่นี่

 

บทความเกี่ยวกับ สัตว์เลี้ยง ฮอตฮิต

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง