เยอรมนียกเลิกถ่านหินในปี 2030 เปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 80%
รัฐบาลประเทศเยอรมนีประกาศแผนการยกเลิกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินภายในปี 2030 หรือประมาณ 9 ปีข้างหน้า ในปีเดียวกันยังตั้งเป้าหมายใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนให้ได้มากกว่า 80% ของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานทั้งหมดในประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน การประกาศแผนการดังกล่าวเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของนายโอลาฟ ชอลซ์ และพรรคโซเชียลเดโมแครต (SPD) นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศเยอรมนี
ตามข้อตกลงปารีสที่รัฐบาลประเทศเยอรมนีได้ลงนามร่วมกับประเทศอื่น โดยมีเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกประมาณ 1.5 องศาเซลเซียสต่อปี จำกัดประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ของมนุษย์ให้อยู่ในระดับเดียวกับที่ปริมาณต้นไม้และสิ่งแวดล้อมของโลกรองรับได้ตามวัฎจักรการหมุนเวียนของคาร์บอนในธรรมชาติ สำหรับประเทศเยอรมนีจะเป็นต้องลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อย 70% ในช่วงก่อนสิ้นทศวรรษนี้
นอกจากการเปลี่ยนโรงไฟฟ้าจากถ่านหินเป็นผลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่น ๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานน้ำ รัฐบาลประเทศเยอรมนีจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้ได้ประมาณ 15 ล้านคันภายในปี 2030 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นเป้าหมายที่ท้าทายเนื่องจากปัจจุบันจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศเยอรมนีมีการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 394,632 คัน ทั้งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrids และ Electric Cars ซึ่งยังเป็นจำนวนที่ห่างไกลเป้าหมายที่วางไว้
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีทิศทางเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าที่ชัดเจนที่จะเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรป เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจำเป็นต้องใช้รูปแบบนโยบายภาครัฐที่มีความชัดเจนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางเลือกที่ดีกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งล้วนแล้วแต่จะสร้างมลพิษให้กับโลก
ข้อมูลจาก engadget.com
ภาพจาก pixabay.com