รีเซต

วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด เป็นแบบไหน?

วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด เป็นแบบไหน?
Ingonn
29 พฤษภาคม 2564 ( 17:59 )
224
วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด เป็นแบบไหน?

สำหรับวลีเด็ดอย่าง วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด ทำเอาคนไทยตั้งตารอคอยให้รัฐบาลมีวัคซีนโควิด-19 เข้ามาให้เลือกหลังจากขึ้นทะเบียนอย.ไปแล้วกว่า 5 วัคซีน ได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โมเดอร์นา และซิโนฟาร์ม แต่ตอนนี้มีเพียงแค่ 2 วัคซีนเท่านั้นที่ได้บริการฉีดให้แก่ประชาชนก่อน ซึ่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นเพียงทางเดียวในการป้องกันความรุนแรงจากเชื้อโควิด-19 ได้ดีที่สุด

 


การฉีดวัคซีนโควิด-19 ดีกว่าการไม่ฉีดแน่นอน เพราะเราไม่รู้ว่าเชื้อโควิดจะมาติดเราตอนไหน และจะทำให้คนรอบข้างเราต้องเจ็บป่วยจากโรคนี้ไปเท่าไหร่ ดังนั้น TrueID จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจว่า วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด ในแบบของคุณเป็นอย่างไร

 

 

ตัวอย่างเปรียบเทียบการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

 

ประเทศอังกฤษ


การให้วัคซีนในสัดส่วนมากกว่า 70% ของประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม ทำให้จากที่เคยมีจำนวนผู้ป่วยหลักหมื่นคนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตหลักร้อยถึงหลักพันคนต่อวัน ลดลงเหลือจำนวนผู้ป่วยเพียงหลักพันต้น ๆ ต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตเพียงไม่ถึง 10 คนต่อวัน

 

 

ประเทศฝรั่งเศส


ประชาชนส่วนใหญ่กังวลเรื่องอาการข้างเคียงของวัคซีน ทำให้มีผู้ที่ได้รับวัคซีนน้อยกว่าประเทศอังกฤษครึ่งหนึ่ง ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยยังคงอยู่เป็นหมื่นคนต่อวันและมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนขึ้นไปต่อวัน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีภาวะขาดแคลนวัคซีนแต่อย่างใด

 


จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า การรับวัคซีนโควิด-19 ช่วยทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดในภาพรวมลดลง ประชาชนชาวไทยจึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนหมู่มากโดยเร็วที่สุด เพื่อลดความสูญเสียทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และเพื่อประโยชน์ของตนเอง ส่วนรวม และประเทศชาติ

 

 

 

วัคซีนโควิด-19 ที่มีในไทยตอนนี้ด้อยประสิทธิภาพจริงหรือ?

 

ปัจจุบันการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดแต่ละตัวไม่สามารถเปรียบเทียบกันตรง ๆ ได้ เนื่องจากมีการศึกษาในสถานที่ที่แตกต่างกันสายพันธุ์ไวรัสต่างกัน กลุ่มทดลองมีความแตกต่างกัน ผลการทดลองจึงอาจไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคชีนได้ ด้วยเหตุผลดังนี้

 


1.วัคซีนทุกตัวที่ผ่านการรับรองในระยะ 3 มีประสิทธิภาพในการป้องกันความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิตจากโรคในอัตราที่ใกล้เคียงกัน

 

2.วัคชีนทุกตัวไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตาม

 

3.วัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้มีประสิทธิภาพที่ดีพอในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในแง่ของการลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

 

4.จากการเก็บข้อมูลสถิติในผู้ที่ฉีดวัคซีน “ซีโนแวค หรือ แอสตร้าเซนเนก้า” สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ 100%

 

5.ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่า การเกิดอาการข้างเคียงจากวัคชีนมาก

 

6.กลุ่มอายุน้อยและเพศหญิงมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงจากวัคซีนมากกว่า

 

7.กลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัวไม่ได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น ในขณะที่หากติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการหนักกว่าคนปกติ จึงต้องมาฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรค

 

ยิ่งเวลานานไป โอกาสติดโรคจะเพิ่มมากขึ้น ยิ่งฉีดเร็วยิ่งดี ยิ่งมีภูมิต้านทานเร็วยิ่งดี

 

 


สรุปข้อดีของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

 

1.ป้องกันไม่ให้เกิดอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต


2.ความเสี่ยงในการติดเชื้อลดลง


3.ป้องกันคนรอบข้างไม่ให้ป่วยหรือติดเชื้อ โดยเฉพาะคนในครอบครัว


4.ควบคุมโรคโควิด-19 ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดได้

 

 

 

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบแล้วยังไม่ควรการ์ดตก

 

การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และการล้างมือเป็นประจำยังคงจำเป็นสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบทั้ง 2 เข็ม เนื่องด้วยเหตุผลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้

 

1.ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจนกว่าประชากรส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครอบคลุมร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรในประเทศ

 

2.ผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการจึงไม่สามารถทราบได้ว่าใครติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วดังนั้นจึงไม่ควรถอดหน้ากากอนามัย

 

ผู้ที่เข้ารับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยังคงต้องปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด โดยเมื่อประชากรของประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนมีจำนวนถึงจุดที่ประชาชนมีภูมิคุ้มกันหมู่มากเพียงพอ จึงจะสามารถผ่อนปรนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคลงได้บ้าง

 

 


วัคซีนโควิด-19 + ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) = การป้องกันโรค

 

 

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง