รีเซต

"เลเซอร์" สามารถวัดมวลชีวภาพในต้นไม้ได้แล้ว

"เลเซอร์" สามารถวัดมวลชีวภาพในต้นไม้ได้แล้ว
TNN ช่อง16
18 ตุลาคม 2563 ( 23:55 )
239

University College London (UCL) สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สำหรับการวัดปริมาตรและมวลชีวภาพของต้นไม้ยักษ์ได้สำเร็จ โดยเริ่มทดลองใช้กับ Redwoods ในแคลิฟอร์เนียเป็นที่แรก เป้าหมายของเทคโนโลยีนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบชีวมวลเหนือพื้นดิน หรือ above-ground biomass (AGB) รวมไปถึงการกักเก็บคาร์บอน ตลอดไปจนถึงผลกระทบวงกว้างต่อโครงสร้างระบบนิเวศทั้งหมดให้ดียิ่งขึ้น 


เทคโนโลยีเลเซอร์ดังกล่าวมีชื่อว่า 3D Terrestrial Laser Scanning (TLS) ตัวเทคโนโลยีได้ทำการทดลองสแกนต้นไม้ Redwoods ขนาดใหญ่ 3 ต้น จากสถานที่ 3 แห่งในแคลิฟอร์เนียตอนเหนือ โดยทางทีมงานของ UCL ได้ทำงานร่วมกับทีมงานของ NASA ผ่านโครงการ Carbon Monitoring System ขององค์การบริหารอวกาศ TLS จะช่วยในการสร้าง 3D mapping ของต้นไม้ Redwoods ในทางกลับกัน NASA ยังได้นำมาใช้กับภารกิจ Global Ecosystem Dynamics Investigation (GEDI) ภารกิจในการช่วยทำแผนที่คาร์บอนของป่ารอบโลก และยังใช้ข้อมูลของ UCL สำหรับปรับปรุงโมเดลของตนเอง

การมาของเทคโนโลยี TLS อาจช่วยตอบคำถามของผู้คนในปัจจุบัน ว่าเราควรปลูกต้นไม้เพิ่ม หรือควรดูแลต้นไม้ที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น สำหรับเพิ่ม CO2 ให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งการจะตอบคำถามเหล่านี้ได้ นักวิทยาศาสตร์ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บไว้ในต้นไม้ชนิดต่าง ๆ เสียก่อน


TLS ได้ปฏิวัติการทำวิจัยด้านนิเวศวิทยาทั้งหมด ในสมัยก่อน นักวิจัยของ UCL ได้ประมาณขนาดและมวลของต้นไม้ยักษ์ เช่น ต้น Redwoods เป็นอะไรที่ยากและท้าทายมาก ๆ เพราะการจะตรวจสอบอะไรได้ พวกเขาจำเป็นต้องตัดตัวต้นไม้ทิ้งเพื่อนำมาช่างน้ำหนัก ไม่ก็ต้องใช้เทคนิคทางอ้อม อย่างการสำรวจตัวต้นไม้ในระยะไกล หรือคาดคะเนขนาดด้วยตนเอง เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น น่าเสียดายเทคนิคดังกล่าวทำให้มีข้อผิดพลาดต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นอย่างมาก

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

แหล่งที่มา sciencetimes.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง