รีเซต

ทนายกองทัพธรรม แจ้งความเอาผิดหมอปลาและพวก พร้อมฟ้องสื่อนับสิบสำนัก

ทนายกองทัพธรรม แจ้งความเอาผิดหมอปลาและพวก พร้อมฟ้องสื่อนับสิบสำนัก
มติชน
19 กรกฎาคม 2565 ( 13:11 )
82

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ที่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พระเทพวรมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้มอบอำนาจให้ ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช แม่ทัพทนายกองทัพธรรม , ทนายเอื้อ มูลสิงห์ ทนายกองทัพธรรม จังหวัดนครพนม และไวยาวัจกร วัดพระธาตุพนม แถลงข่าวการดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่ง กับนายจีรพันธ์ เพชรขาว หรือหมอปลา , ทนายไพศาล เรืองฤทธิ์ , นางสาววรรณวิสา ประทุมวันโดยคดี คดีอาญา ได้แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ที่ สภ.ธาตุพนม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 20.00น โดยมี ร.ต.อ.อรรถพงศ์ จรลี พนักงานสอบสวน สภ.ธาตุพนม เป็นผู้รับเรื่อง ส่วนคดีแพ่ง ได้ยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม เช่นเดียวกัน ข้อหาละเมิด และขอให้จำเลยทั้ง3 โฆษณาคำพิพากษา และคำขอโทษ เพื่อบรรเทาความเสียหายให้กับโจทก์ ขอให้จำเลยทั้ง3 ร่วมกันหรือแทนกันโฆษณาคำพิพากษาและคำขอโทษ ในสื่อต่างๆ เป็นเวลา 7 วัน

 

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิด สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 นายจีรพันธ์ เพชรขาว หรือหมอปลา ,ทนายไพศาล เรืองฤทธิ์ และนางสาววรรณวิสา ประทุมวัน ได้ร่วมกันยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักรัฐมนตรี โดยกล่าวหาว่า พระเทพวรมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัดมรุกขนคร ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาส วัดพระธาตุพนม โกง , เบี้ยว , ค้างค่าจ้างก่อสร้างถาวรวัตถุ วัดมรุกขนคร จำนวน 1.2 ล้านบาทและได้ให้ข่าวต่อสื่อมวลชนหลายสำนักทั้งสถานีโทรทัศน์หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้ว เดิมวัดมรุกขนคร เป็นวัดร้าง มีลักษณะรกทึบ เมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2534

 

พระสงฆ์และชาวบ้านได้ช่วยกันพัฒนา สร้างเสนาสนะต่างๆ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นวัดเมื่อปี 2539 มีผู้รับเหมา 3 ราย หนึ่งในนั้นคือ นายสมเกิด ภูทัศน์ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างใน ปี 2536 แต่ปรากฎว่า นายสมเกิด ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในขณะนั้น ทำงานล่าช้า ไม่ใส่ใจงานที่ก่อสร้าง ดังนั้นในวันที่ 25 มกราคม 2539 คณะกรรมการผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้างวัดมรุกขนคร ได้ประชุมกันแล้วมีมติยกเลิกสัญญากับนายสมเกิด ผู้รับเหมาก่อสร้าง นายสมเกิด ก็ไม่ได้ฟ้องร้องค่าก่อร้างภายในอายุความ 2 ปี(25 มกราคม 2539 ถึง 25 มกราคม 2541) ถือว่านายสมเกิด มิได้ใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมาย

 

อีกทั้งขณะที่มีการว่าจ้างจนถึงบอกเลิกการว่าจ้างวัดมรุกขนคร ยังไม่ได้มีสถานะเป็นวัดมรุกขนคร ตามกฎหมาย ซึ่งต่อมาในวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 พระปริยัติธีรคุณ ดำรงสมณศักดิ์ในขณะนั้น (คือ พระเทพวรมุนี) เป็นเจ้าอาวาสวัดมรุกขนคร ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาว่าจ้าง การชำระเงินค่าจ้าง อีกทั้งไม่เคยมีข้อตกลงใดๆกับนายสมเกิด เพราะไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากการผิดสัญญาของนายสมเกิด ไม่ได้ใช้สิทธิทางศาลเอากับคณะกรรมการที่ควบคุมดูแลการก่อสร้างภายในอายุความ สิทธิดังกล่าวจึงสิ้นไป นางสาววรรณวิสา ประทุมวัน จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นหนังสือร้องเรียนหรือใช้สิทธิ ทางศาล รวมถึงนายจีรพันธ์ เพชรขาว และทนายไพศาล เรืองฤทธิ์ ก็ไม่มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายใดๆ ที่จะทำหนังสือร้องเรียนพฤติกรรมแห่งคดีเห็นได้ชัดว่า บุคคลทั้งสามสมคบคิดกันและแบ่งหน้าที่กันกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณากับสำนักข่าวหลายสำนัก เพราะหากนายจีรพันธ์ และทนายไพศาล ไม่นัดนักข่าวมาให้ทำข่าว นักข่าวจากสำนักต่างๆก็จะไม่ทราบและไม่มีการนำเสนอข่าวที่ทำให้เกิดความเสียหายเช่นนี้

 

อีกทั้งนายจีรพันธ์ และทนายไพศาล มีพฤติกรรมเช่นนี้มาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้ พระเทพวรมุนี จึงได้มอบอำนาจให้นายอนันต์ชัย ไชยเดช และนายเอื้อ มูลสิงห์ ดำเนินคดีอาญาโดยการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ที่ สภ.ธาตุพนม และ ฟ้องคดีแพ่งที่ศาลจังหวัดนครพนม ทนายอนันต์ชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากวันนี้ ขอให้สื่อที่เคยเอ่ยถึงชื่อท่าน ทำให้เสื่อมเสีย ขอให้ลบโพสต์นั้นเสีย และฝากถึงสื่อมวลชนว่า การทำคดีอย่าทำที่ถูกใจ แต่ต้องทำให้ถูกกฎหมายด้วย โดยเบื้องต้นสื่อที่ถูกฟ้องในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 11 สำนัก

 

ซึ่งก่อนที่จะมีการแถลงข่าว พระเทพวรมุนี ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้สื่อข่าวสำนักต่าง ๆ ทำพิธีขอ ขมากรรม ที่ได้ล่วงเกินท่านไปโดยมิได้เจตนา โดยพระเทพวรมุนีได้อโหสิกรรมไม่ถือโทษให้แก่ผู้สื่อข่าวที่ได้รายงานข่าวไปก่อนหน้านี้เนื่องจากไม่มีเจตนาที่จะทำเช่นนั้น แต่ที่ยอมไม่ได้เนื่องเพราะมีการกล่าวถึงองค์พระธาตุพนมอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธไปในทางเสียหาย ส่วนผู้สื่อข่าวที่ได้มาขอขมาในวันนี้แล้วก็จะให้อภัยขอให้สบายใจได้ โดยพิธีขอขมาได้จัดขึ้นในบริเวณองค์พระธาตุพนม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง