รีเซต

“มาตรการล็อกดาวน์” ล่าสุด ปิดสถานที่เสี่ยงอะไรบ้าง เช็กเลย!

“มาตรการล็อกดาวน์” ล่าสุด ปิดสถานที่เสี่ยงอะไรบ้าง เช็กเลย!
Ingonn
21 กรกฎาคม 2564 ( 14:53 )
265
“มาตรการล็อกดาวน์” ล่าสุด ปิดสถานที่เสี่ยงอะไรบ้าง เช็กเลย!

จากยอดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ภาครัฐต้องมีการจำกัดกิจกรรมเสี่ยงหลายอย่างเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยล่าสุดทาง ศบค. ได้มีการสั่งปิดกิจการเพิ่มอีก 10 สถานที่เสี่ยง ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัดแล้ว

 

 

วันนี้ TrueID จะพาทุกคนไปเช็กว่า มีการปิดสถานที่เสี่ยงโควิด-19 จากมติ ศบค. ล่าสุด รวมแล้วมีที่ไหนบ้างที่ถูกสั่งปิดไป

 

 

มาตรการ “ล็อกดาวน์ 20 ก.ค. 64” ได้ประกาศยกระดับ 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม อยุธยา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยลดการเดินทางข้ามจังหวัด หากจำเป็นต้องเดินทางต้องมีหนังสือรับรองจากเจ้าหน้าที่ ห้ามออกนอกเคหสถานหลัง 21.00-04.00 น. ยกเว้น จัดหา อาหาร ยา เวชภัณฑ์ รวมถึงร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เปิดได้ถึง 20.00 น. และห้ามรวมกลุ่มเกิน 5 คน

 

 

ล่าสุดวันนี้ 21 ก.ค. 64 ทาง ศบค. พิจารณา 'ปิดสถานที่' หรือกิจการที่มีความเสี่ยง ต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด –19 เพิ่มเติมจากที่ได้ กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัด ได้มีประกาศ/คำสั่งปิดแล้ว อีก 10 แห่ง 

 

 

 

“ล็อกดาวน์ 20 ก.ค.” ปิดสถานที่อะไรบ้าง

 

1. สนามกีฬาทุกประเภท (ประเภทในร่ม เช่น แบดมินตัน สนามฟุตซอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล / ประเภทกลางแจ้ง เช่น สนามกอล์ฟ สนามซ้อมกอล์ฟ สนามฟุตบอล สนามเทนนิส)

 


2. สระน้ำเพื่อการเล่นกีฬา หรือกิจกรรมทางน้ำเพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ำสาธารณะ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

 


3. ลานกีฬา

 


4. ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ

 


5. ศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม หรือหอศิลป์

 


6. ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดเอกชนและบ้านหนังสือ

 


7. พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ ในลักษณะเดียวกัน แหล่งประวัติศาสตร์ หรือ โบราณสถาน

 


8. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน

 


9. ร้านเสริมสวย ร้านตัดผมหรือแต่งผม ร้านทำเล็บ หรือร้านสัก

 


10. สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ต่างๆ

 

 

 

10 กิจการด้านบน คือ มติล่าสุดที่ทาง ศบค. พิจารณา แต่ก่อนหน้านี้มีการปิดกิจการที่มีความเสี่ยงไปก่อนหน้านี้แล้ว ดังนี้

 

 

11.สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

 


12.สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด

 


13.สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอบไอน้ำ อบสมุนไพร

 


14.สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่

 


15.สนามชนโค สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน

 


16.สนามมวย โรงเรียนสอนมวย

 


17.สนามม้า

 


18.สนามแข่งขันทุกประเภท

 


19.โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด

 


20.สถานที่เล่นโบว์ลิ่งหรือตู้เกม

 


21.ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต

 


22.โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ โรงละคร

 


23.สถานที่แสดงมหรสพ หรือสถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ

 


24.สวนน้ำ สวนสนุก

 


25.สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็ก

 


26.สวนสัตว์ หรือสถานที่จัดแสดงสัตว์

 


27.สถานที่เล่นสเก็ตหรือโรลเลอร์เบลด หรือ การเล่นอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

 


28.สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส

 


29.โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม)

 


30.สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ

 


31.สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน

 


32.ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา

 


33.สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก สถานเสริมความงาม คลินิกเสริมความงาม (ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นคลินิกเวชกรรม) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ เช่น กิจการสปา นวดเพื่อสุขภาพ นวดฝ่าเท้า

 

 


สถานที่ที่ยังเปิดได้ในมาตรการล็อกดาวน์


พิจารณาการเปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ "โควิด-19" ภายใต้เงื่อนไขควบคุมโรค

 

1.สถานที่รับเลี้ยงเด็ก เฉพาะสถานที่รับเลี้ยงเด็กใน รพ. และที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นธุระปกติ

 


2.สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ เฉพาะที่มีการรับตัวไว้พักค้างคืนเป็นธุระปกติ

 


3.ตลาดนัด เฉพาะส่วนที่ขายอาหารหรือวัตถุดิบเพื่อการบริโภค

 

 


ล็อกดาวน์ 20 ก.ค. ยังไม่เต็มรูปแบบ


นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับมาตรการล็อกดาวน์ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28) ยังไม่ใช่ล็อกดาวน์ 100% แต่มาตรการที่ออกมาต้องการให้งดการเดินทาง อยู่กับบ้าน ลดการแพร่เชื้อจากครอบครัวหนึ่งไปอีกครอบครัวหนึ่ง เพราะการทำกิจกรรมทั้งในที่ทำงาน ภายนอกบ้านและขนส่งสาธารณะ ทำให้แพร่เชื้อต่อเนื่องได้ รวมถึงคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว เนื่องจากวัคซีนทุกตัวแม้จะฉีดครบแล้วก็มีโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ ต้องช่วยกันอยู่บ้านด้วย

 

 

 

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 และ Hfocus

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง