วิธี 'เดินทางออกจากกรุงเทพฯ - เดินทางข้ามจังหวัดพื้นที่สีแดง' ต้องทำอย่างไร?
ใครที่เตรียมตัวเดินทางออกจากกรุงเทพฯ เดินทางข้ามจังหวัด ต้องทำอย่างไรบ้าง? หลังจากรัฐบาลมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยให้ปิดสถานที่ก่อสร้างและปิดสถานที่ชั่วคราว สำหรับคนงานทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในสถานที่ก่อสร้าง ให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามเดินทาง เคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลา 1 เดือน พร้อมตั้งจุดตรวจและจุดสกัด เพื่อคัดกรองการเข้าออกพื้นที่ 10 จังหวัดอย่างเข้มงวด
ทั้งนี้ นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงระบบที่กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลผู้ที่จะเดินทางออกจากพื้นที่กรุงเทพฯ ว่า เพื่อให้การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ผ่านจุดคัดกรองและมีเครื่องมือบันทึกข้อมูลของผู้ผ่านจุดคัดกรองเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ กรุงเทพมหานครจึงได้นำระบบแอปพลิเคชัน BKK COVID-19 โดยมีขั้นตอน ดังนี้
3 ขั้นตอน ใช้ แอปพลิเคชัน BKK COVID-19
1. สแกน QR CODE
2. กรอกแบบฟอร์มข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ
- ชื่อ - นามสกุล
- หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ
- ระบุเพศ
- สัญชาติ
3. จากนั้นกรอกข้อมูลการเดินทาง อาทิ เดินทาง ระบุการเดินทางเที่ยวเดียวหรือไปกลับ พร้อมเหตุผลความจำเป็น จากนั้นแสดงข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ที่ด่านคัดกรอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
6 จุดคัดกรองการเดินทางในถนนสายหลัก
ทั้งนี้ เพือ่เป็นการป้องปรามการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้นที่ หน่วยงานได้ตั้งจุดคัดกรองการเดินทางในถนนสายหลัก จำนวน 6 เส้นทาง มีดังนี้
1. หน้าสถานีรถไฟดอนเมือง ถนนวิภาวดี-รังสิต (ขาออก)
2. ใต้สะพานข้ามแยกมหานคร ถนนสุวินทวงศ์ (ขาออก)
3. หน้าปั๊มน้ำมันบางจาก กม. 4.5 ถนนบางนา-ตราด (ขาออก)
4. ใต้สะพานข้ามแยกพุทธมณฑล สาย 3 ถนนบรมราชชนนี (ขาออก)
5. หน้าสำนักงานเขตหนองแขม ถนนเพชรเกษม ซอย 70
6. หน้าปั๊มน้ำมัน ปตท. เขตบางขุนเทียน ถนนพระรามที่ 2 (ขาออก)
อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าว สืบเนื่องจากข้อกำหนดฉบับที่ 25 ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 64 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 64 ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด และ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ใครที่เตรียมเดินทางออกจากกรุงเทพฯ อย่าลืมเตรียมความพร้อมทั้งการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนเดินทางทุกครั้ง ตรวจสอบการต่อประกันภัยรถยนต์ และร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดโควิดกันด้วยนะ
เตรียมเอกสารอะไรบ้าง ไปถึงแล้วต้องทำอย่างไร?
ตามที่มติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคบางส่วน ซึ่งรวมถึงการอนุญาตให้การขนส่งสาธารณะข้ามจังหวัด โดยเฉพาะการการเดินทางเข้า-ออกจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือสีแดงเข้มให้สามารถดำเนินการ โดยกำหนดจำนวนผู้โดยสารไม่เกิน 75% ของความผู้โดยสาร ของพาหนะแต่ละประเภท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2564 เป็นต้นไป
ในส่วนของประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงเวลานี้ ก็ขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด ตามแนวทางการป้องกันโรคในทุกกรณีทุกโอกาส หรือ Universal Prevention และขอให้ติดตามข้อมูลก่อนการเดินทางว่าจังหวัดปลายทางที่จะเดินทางไปนั้นมีมาตรการป้องกันโรคอย่างไร ผู้เดินทางจากพื้นที่ต่างๆ จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร เนื่องจาก ศบค. ผ่อนคลายให้เกิดการเดินทางได้มากขึ้น แต่ทุกจังหวัดก็ยังมีมาตรการเฉพาะพื้นที่
เดินทางข้ามจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มต้องทำอย่างไร?
1️. เช็กมาตรการการป้องกันโรค ของจังหวัดปลายทางให้ชัดเจน สามารถโทรสอบถามได้ที่ กระทรวงสาธารณสุข ของจังหวัดนั้นๆ หรือ สามารถสอบถามได้จาก ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ในพื้นที่ที่ท่านต้องการไป
2. โปรดเตรียมสารสำคัญประกอบการเดินทาง คือ เอกสารรับรองการฉีดวัคซีน โดยสามารถเปิดผ่านแอปพิเคชั่นจากโทรศัพท์มือถือได้ (ซิโนฟาร์ม ต้องฉีดครบ 2 เข็ม นานกว่า 14 วัน และแอสตร้าเซเนก้า ต้องฉีดอย่างน้อย 1 เข็ม นานกว่า 14 วัน)
3. หากระหว่างเดินทางมีด่านตรวจควบคุมโรค ขอให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค โดยสามารถยื่นเอกสารตามข้อที่ 2 ได้เลย
4. ระหว่างทาง หากต้องการแวะยังจุดพักรถ ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ไม่แวะพักนาน หรือ เดินช็อปปิ้ง
5. เมื่อถึงยังจุดหมายปลายทางแล้ว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน อสม. กำนัน เพื่อแสดงเอกสารตามข้อที่ 2
อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามจังหวัดทุกรูปแบบเพื่อลดความเสี่ยง แต่หากไม่สามารถเลี่ยงได้ต้องปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ตามประกาศนี้
การเดินทางข้ามจังหวัดผ่านสายการบิน
กรณีเดินทางข้ามจังหวัดด้วยเครื่องบินต้องตรวจสอบมาตรการของจังหวัดปลายทางให้ถี่ถ้วน สามารถตรวจสอบได้ที่ ศบค. กระทรวงมหาดไทย พร้อมเตรียมเอกสารที่จำเป็น ดังนี้
1. เอกสารยืนยันการเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์ (ฉีดครบ 2 เข็ม นานกว่า 14 วัน) หรือใบยืนยันการฉีดจากโรงพยาบาล หรือเอกสารยืนยันจากหมอพร้อม (โชว์จากแอปพิเคชั่นหมอพร้อม)
2. เอกสารยืนยันการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย ATK หรือวิธีตรวจแบบ RT-PCR เท่านั้น
3. เอกสารแสดงหลักฐานการยกเว้น กรณีจังหวัดปลายทางต้องการ เช่น ใบหลักฐานผ่านการติดเชื้อไปแล้วไม่เกิน 90 วัน / หลักฐานผ่านการกักตัว เป็นต้น
ข้อมูล : มติชน, TNN
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- ใบขับขี่ ทำได้แล้ว! ขนส่งเปิดให้จองคิว 2 ช่องทาง เริ่ม 21 มิ.ย.นี้
- สินเชื่อรถยนต์ 2564 เช็กธนาคารก่อนตัดสินใจ!
- แก้เคล็ดดวง!ติด 'ทองคำเปลว – สติกเกอร์' ทับเลขทะเบียนรถ รู้ไว้ผิดกฎหมาย
- เปิดวิธี! ลงทะเบียนมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์
- สายเมาแล้วขับ...คิดให้ดี! ไม่ยอมเป่า อย่าคิดว่าจะรอด
- ต่อภาษีรถ 2564 ในห้างวันหยุดได้แล้ว! เช็กเลยมีที่ไหนบ้าง
- รู้ไว้! รถยนต์เกิน 7 ปี จ่ายภาษีทางออนไลน์ได้แล้ว
- ลืมกันหรือยัง ? เลี้ยวรถไม่เปิดไฟ ผิด พ.ร.บ.จราจร
- ต่อใบขับขี่รถล่วงหน้า 6 เดือน มาดูวิธีกันเลย!
- เช็กก่อน!เดินทาง 51 จังหวัด ไปแล้ว ต้องกักตัวโควิด