รีเซต

เปิดวิธี! ลงทะเบียนมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์

เปิดวิธี! ลงทะเบียนมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์
TeaC
1 มิถุนายน 2564 ( 13:11 )
3.1K
1

 

ข่าววันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม 2564 ช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด ซึ่งหนี้ที่สำคัญของประชาชนรายย่อยอีกประเภทหนึ่ง คือ หนี้เช่าซื้อรถยนต์ทั้งในส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาชีพหรือใช้ในการเดินทางของคนในครอบครัว วันนี้ TrueID รวบรวมวิธีการลงทะเบียนในการชำระหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มาให้ศึกษากัน

 

 

ลูกหนี้เช่าซื้อที่จะได้รับการไกล่เกลี่ยหนี้มีกลุ่มไหนบ้าง?

 

(1) กลุ่มที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) หรือกลุ่มที่เป็น NPL แต่รถยังไม่ถูกยึด

(2) กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้วแต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด 

(3) กลุ่มลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีหนี้เช่าซื้อส่วนขาด

 

โดยมีเป้าหมายให้ลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่รายได้ลดลงในช่วงโควิด 19 สามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้ได้ตามความสามารถ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถนำรถที่ถูกยึดกลับไปใช้ในการประกอบอาชีพและนำรถไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นเดิม

 

เช็ก!เกณฑ์ความช่วยเหลือกันสักนิด

 

กลุ่มแรก ลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL หรือเป็น NPL แล้วแต่รถยังไม่ถูกยึด แนวทางช่วยเหลือจะสอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ของ ธปท. ได้แก่

  • การปรับโครงสร้างหนี้
  • ลดค่างวด
  • ขยายระยะเวลาชำระหนี้
  • ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง สามารถขอพักชำระค่างวดได้ 3 เดือน หรือตามผลกระทบที่ลูกหนี้ได้รับ

 

สำหรับลูกหนี้ที่เคยพักชำระค่างวดหรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และได้รับผลกระทบรุนแรงจนไม่สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ สามารถคืนรถยนต์เพื่อลดภาระหนี้ได้ และหากราคาขายรถทอดตลาดที่ได้รับต่ำกว่าภาระหนี้คงค้าง ลูกหนี้สามารถขอผ่อนปรนเพิ่มเติมได้โดยผู้ให้บริการทางการเงินอาจพิจารณายกหนี้ส่วนที่เหลือให้ตามความเหมาะสม

 

กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ที่รถถูกยึดแล้ว แต่ยังไม่ถูกขายทอดตลาด ลูกหนี้เช่าซื้อสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในครั้งนี้ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เช่าซื้อที่ร่วมงานเพื่อขอรถที่ถูกยึดไปคืน โดยเจ้าหนี้เช่าซื้อจะชะลอการขายทอดตลาด และปรับโครงสร้างหนี้ 

 

กลุ่มที่ 3 ลูกหนี้ที่รถถูกขายทอดตลาดแล้ว แต่ยังมีมูลหนี้เช่าซื้อส่วนที่ขาดกรณีรถถูกขายทอดตลาดแล้ว ปรากฏว่าเงินที่ได้รับนั้นน้อยกว่ายอดหนี้เช่าซื้อคงเหลือ ทำให้มียอดหนี้ส่วนขาด หรือ “ติ่งหนี้” ในงานมหกรรมครั้งนี้ สคบ.และ ธปท. ได้ร่วมกันศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาด และได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดแบบง่ายๆ เพื่อให้ลูกหนี้จะได้ใช้คำนวณ โดยลูกหนี้เช่าซื้อที่มีปัญหาเกี่ยวกับยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดสามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมในครั้งนี้ไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ทั้งในส่วนที่ยังไม่มีการฟ้อง หรือฟ้องแล้ว ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เรื่องนี้เป็นธรรมมากขึ้น และช่วยให้เจ้าหนี้และลูกหนี้เช่าซื้อสามารถตกลงกันได้ง่ายขึ้นและตรงไปตรงมา

 

วิธี! ลงทะเบียนมหกรรมไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อออนไลน์

 

ขั้นที่ 1 ไกล่เกลี่ยสินเชื่อเช่าซื้อออนไลน์

•  คลิกเข้าเว็บไซต์ https://www.1213.or.th/App/DMed/V

 

 

 

ขั้นที่ 2 : ลงทะเบียนที่หน้าหลัก


• ศึกษาข้อมูลที่มาและรายละเอียดของแต่ละมหกรรมฯ
• เลือกเมนูระหว่างเมนูลงทะเบียน ไกล่เกลี่ยครั้งใหม่ หรือติดตามเรื่องที่เคยลงทะเบียนไปแล้ว
• ครั้งนี้ เลือกลงทะเบียน กรอกชื่อ-สกุล และเลขที่บัตรประชาชน
• ต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องจึงจะสามารถตรวจพบบัญชี และติดต่อกลับเพื่อไกล่เกลี่ยได้
• กดปุ่ม “ดำเนินการต่อ"

 

 

 

ขั้นที่ 3 : อ่านและยอมรับข้อตกลงการใช้งาน 

• กดเลือก “ข้าพเจ้ายอมรับ…”และกดปุ่มยอมรับ

 

ขั้นที่ 4 : เลือกมหกรรมไกล่เกลี่ย

• ครั้งนี้กดเลือก “สินเชื่อเช่าซื้อ”

 

 

 

ขั้นที่ 5 : อ่านรายละเอียดของมหกรรมฯ เช่าซื้อ เพื่อให้ทราบว่า 

• เจ้าหนี้เช่าซื้อของเราเข้าร่วมมหกรรมครั้งนี้หรือไม่
• แนวทางความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับสถานะหนี้ของท่าน

 

 

 

 

ขั้นที่ 6 : กรอกข้อมูลหนี้เช่าซื้อที่ต้องการไกล่เกลี่ย

• เลือกเจ้าหนี้เช่าซื้อจากรายชื่อที่ให้กดเลือก (dropdown list) 
•กรอกข้อมูลรถที่เช่าซื้อ สถานะหนี้ และอื่นๆ ที่กำหนด( มี*)
• ให้ระบุ ประเภทรถ/ทะเบียนรถ/สถานะหนี้/รูปแบบความช่วยเหลือที่ต้องการ
• ถ้าต้องการไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อหลายคันกับเจ้าหนี้รายนี้ กด+เพิ่มทะเบียน
• ถ้าต้องการไกล่เกลี่ยกับเจ้าหนี้เช่าซื้อรายอื่นที่มีในรายชื่อ กด+เพิ่มผู้ประกอบธุรกิจ
• เมื่อครบทุกหนี้เช่าซื้อที่ต้องการไกล่เกลี่ยแล้ว กดเลือก“ข้าพเจ้าขอยืนยันข้อมูลถูกต้อง...”
• กดปุ่มเพื่อขอรหัส

 

 

 

ขั้นที่ 7 : รับรหัสส่งข้อมูล และกรอกยืนยัน 


• ส่งรหัส 6 หลัก มาทาง sms ของหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ใช้ลงทะเบียน หรืออีเมล์
• น ารหัส 6 หลัก มาใส่ในช่องรหัสส่งข้อมูล จากนั้น กดส่งข้อมูล
• ให้จดจ ารหัส 6 หลักนี้ไว้เพื่อตรวจสอบ สถานะค าขอไกล่เกลี่ยต่อไป

 

ขั้นที่ 8 : ได้รับข้อความยืนยัน


• ว่าระบบได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว 
• กดตกลง

 

 

 

ขั้นที่ 9 : ได้รับข้อความยืนยันครั้งที่ 2


• แสดงสิ่งที่ลูกค้าควรท าต่อไป(คือรอการติดต่อกลับ)
• เลือกส่งค าขอเพิ่มอีก(ถ้ามี) หรือเสร็จสิ้น

 

 

ขั้นที่ 10 (ไม่จำเป็น) : ตรวจสอบสถานะคำขอ

• บนเมนูติดตามเรื่อง เลือกกรอกหมายเลขประจ าตัวที่ได้ใช้ลงทะเบียน
• กรอกรหัสติดตามเรื่อง (รหัส6 หลัก)ที่เคยได้รับครั้งล่าสุด

 

 

 

 

ทั้งนี้ ขอให้ลูกหนี้ศึกษาวิธีการกรอกข้อมูลอย่างละเอียด และกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน เพราะข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คำขอไกล่เกลี่ยของท่านไม่ได้รับการพิจารณาช่วยเหลือ

 

 

สำหรับประชาชนที่ไม่ถนัดในการกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ หรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถติดต่อ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรศัพท์ 1213 เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูล ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. หากนอกเวลาทำการสามารถฝากชื่อและเบอร์โทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งอีเมลมาที่ Debtfair@bot.or.th เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไป

 

 

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Documents/Register_MediateDebt.pdf

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง