รีเซต

เมา ไม่ยอมเป่า อย่าคิดว่าจะรอด! เช็ก กฎหมายเมาขับ 2565 เลย

เมา ไม่ยอมเป่า อย่าคิดว่าจะรอด! เช็ก กฎหมายเมาขับ 2565 เลย
TeaC
12 ธันวาคม 2565 ( 19:49 )
2.2K

เมา ไม่ยอมเป่า อย่าคิดว่าจะรอด! ยังจำข่าวดังกรณีทหารอากาศขับรถเก๋งมาด้วยความเร็วสูง ฝ่าสัญญาณไฟแดงชนจักรยานยนต์ ทำนักศึกษาสาวราชภัฎสกลนครเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กลายเป็นเหตุการณ์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงพฤติกรรมของทหารอากาศคนดังกล่าว ที่ไม่ยอมเป่าวัดแอลกอฮอล์ แถมยังขอชดใช้แค่ราย 5 พันบาทเท่านั้น 

 

เมา ไม่ยอมเป่า อย่าคิดว่าจะรอด! 

 

เมา ไม่ยอมเป่าเมา เป็น...

เป็นความผิด ?
เป็นแฟชั่น ?
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ?
เป็นโรคขาดความรับผิดชอบสังคม ?

 

ไม่เป่าแอลกอฮอล์ ผิด ไหม? 

เมื่อค้นข้อกฎหมายกรณี เมาแล้วขับ พบว่า พ.ร.บ.จราจรทางบก กำหนดไว้ว่า หากผู้ขับขี่ถูกตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่ากระทำผิดฐานขับรถขณะมึนเมา มีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท โทษจำคุกสูงสุด 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 

แต่ความยุ่งยากมีมากกว่านั้น สายนักดื่มจึงมักมีพฤติกรรมเมื่อเจอด่านตรวจ ถ่วงเวลาไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ง่าย ๆ หรือบางกรณีเหล่าตีนผีมักจะใช้วิธีขอจบกับคู่กรณีเอง หรือบางรายยอมชดใช้ค่าเสียหาย หรือบางรายหนีหาย ปัดความรับผิดชอบนิ่งเฉยเหมือนไม่ได้สร้างความสูญเสียต่อผู้อื่น

 

นั่นเพราะ หากคุณเมาแล้วขับ ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

 

คุณจะถูกส่งตัวไปคุมขังที่สถานีตำรวจของเขตนั้น ๆ เพื่อรอการส่งฟ้องศาลภายใน 48 ชั่วโมง และหากคุณต้องการอิสรภาพก็ต้องใช้เงินประกันสูงถึง 20,000 บาท

 

แล้วถ้าไม่มีล่ะ ? คุณก็ต้องนอนคุกอย่างเดียว 

 

อีกทั้ง ความยุ่งยากที่สายดื่มไม่อยากให้ไปถึงกระบวนการศาลนั้น นอกจากจะเสียทั้งเวลา เสียเงินแล้ว อาจจะเป็นไปได้หากมีความผิดจริง จะไม่ได้มีเพียงแค่โทษจำคุกและโทษปรับเท่านั้น แต่ผู้ต้องหาอาจโดนศาลสั่งให้ไปบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ และต้องไปรายงานตัวกับกรมควบคุมความประพฤติถึงปีละ 4 ครั้ง อีกด้วย

 

นอกจากนี้ หากคุณไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ ก็จะต้องได้รับโทษจำคุกชดเชยแทน โดยคำนวณโทษจำคุก 1 วันเท่ากับโทษปรับ 500 บาท ซึ่งหมายความว่า ในกรณีนี้ผู้ต้องหาอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 40 วัน (เงินค่าปรับสูงสุด 20,000 บาท)

 

ดื่มแล้วขับ เมาแล้วขับ โทษจำคุกถึง 10 ปี

และหากอุบัติเหตุนั้นมีคู่กรณีด้วย โทษทางกฎหมายก็จะมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งพิจารณาจากคู่กรณีได้รับบาดเจ็บทางกายและใจ คู่กรณีบาดเจ็บสาหัส หรือคู่กรณีเสียชีวิต ซึ่งผู้ต้องหาจากดื่มแล้วขับจะได้รับโทษปรับสูงสุดถึง 200,000 บาท โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี

 

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้นักดื่มตีนผี ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ ส่วนหนึ่งขาดการตระหนักต่อสังคมที่ต้องรวมรับผิดชอบ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ร่วมท้องถนน อุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับจึงซ้ำรอยไม่มีวันสิ้นสุด

 

เมา ไม่ยอมเป่า ยิ่งผิด เสี่ยงโทษปรับและติดคุก

อย่างไรก็ตาม สายดื่มที่เมาแล้วขับอย่าคิดว่าจะรอดพ้นกฎหมาย เพราะการ ไม่เป่าแอลกอฮอล์ นั้น ตามมาตรา 142 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2557 แก้ไขเกี่ยวกับ "ข้อสันนิษฐาน" โดยเพิ่มอำนาจให้เจ้าพนักงานสามารถทดสอบผู้ขับขี่ที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่าเสี่ยงเมาสุรา

 

หากผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบ ให้เจ้าหน้าที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเมาสุรา เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีฐานขับรถขณะเมาสุราได้

 

นั่นหมายความว่า ไม่เป่า = เมาแล้วขับ

 

ต่อไปหากผู้ใช้รถใช้ถนนคิดจะหาข้ออ้างต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือบ่ายเบี่ยงการเป่าเมาคงต้องคิดใหม่

 

ถ้าไม่อยากถูกจับจนต้องรับโทษหนัก แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่าละเลย อย่ามองว่าจะหนีความผิดได้ และอย่าขาดความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ควรหันมาสร้างจิตสำนึกที่ดี มีวินัยในการขับขี่ คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ขับขี่ร่วมท้องถนน ด้วยการ ไม่ดื่ม ขณะขับรถ กันนะ

 

ข้อมูล : ไทยรัฐ

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง