รีเซต

เช็ก! มาตรการล็อกดาวน์ ประชาชนทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง

เช็ก! มาตรการล็อกดาวน์ ประชาชนทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง
Ingonn
19 กรกฎาคม 2564 ( 11:51 )
262
เช็ก! มาตรการล็อกดาวน์ ประชาชนทำอะไรได้-ไม่ได้บ้าง


หลังจากได้มีการกำหนดพื้นที่ควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เพิ่มอีก 3 จังหวัด เพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อ โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

 

 

วันนี้ TrueID จึงได้สรุปมาตรการล็อกดาวน์ในรูปแบบเข้าใจง่ายว่ากิจกรรมอะไรทำได้ ไม่ได้บ้างและประชาชนใน “พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด” หรือ “พื้นที่สีแดงเข้ม” ต้องปฏิบัติอย่างไรในมาตรการ”ล็อกดาวน์” ในรอบนี้  

 

 

 

สรุปมาตรการ “ล็อกดาวน์”


พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ พื้นที่สีแดงเข้ม ประกอบด้วย กทม. นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา 

 

 

ข้อปฏิบัติสำหรับประชาชน


– ห้ามบุคคลใดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 น.-4.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับแต่วันที่ข้อกำหนดฉบับนี้ใช้บังคับ

 


– เลี่ยง จำกัด หรืองดออกนอกเคหสถานโดยไม่จำเป็น ยกเว้นการเดินทางเพื่อซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตการพบแพทย์การรับวัคซีน

 


–  WFH100% ทั้งส่วนราชการรัฐวิสาหกิจและเอกชน ยกเว้นการบริการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข การควบคุมโรคระบบสาธารณูปโภค การจราจรการบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย หรืองานที่ได้กำหนดเวลา / นัดหมายล่วงหน้าไว้แล้ว หากจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกที่พักต้อง DMHTTA

 


– ให้จัดการอบรมสัมมนาหรือการประชุมโดยออนไลน์เป็นหลัก

 


– ตั้งจุดตรวจด่านตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อสกัดกั้นไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่จากแดงเข้มไปยังจังหวัดอื่น

 


– ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จำกัด จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการไม่เกิน 50% ของความจุผู้โดยสารสำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท

 


– ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มกันของบุคคลจำนวนมากกว่า 5 คน

 

 


ข้อปฏิบัติสำหรับกิจกรรมต่างๆ


– ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. ห้ามบริโภคในร้าน ซื้อกลับเท่านั้น

 


– ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะ แผนกซูเปอร์มาร์เก็ต แผนกยา และเวชภัณฑ์ พื้นที่ซึ่งจัดให้เป็นการให้บริการฉีดวัคซีน หรือบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขอื่นๆ ของภาครัฐ โดยให้เปิดดำเนินการได้ถึงเวลา 20.00 น.

 


– โรงแรม เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ ให้งดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา หรือการจัดเลี้ยง

 


–  ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.

 


– โรงเรียน สถาบันการศึกษา หรือฝึกอบรม และสถานศึกษาต่างๆ เรียนออนไลน์ทั้งหมด

 


– โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านค้าทั่วไป โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง น้ำมัน ปั้มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง (delivery online) ยังคงเปิดดำเนินการได้ตามความจำเป็น

 

 


สรุปการเดินทางในมาตรการล็อกดาวน์ 


1.การเดินทางเพื่อจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาหาร ยาหรือเวชภัณฑ์

 


2.การเดินทางเพื่อพบแพทย์ เพื่อเข้ารับบริการ ทางการแพทย์และสาธารณสุข การรักษาพยาบาล

 


3.การรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

 


4.มีความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติงานหรือการประกอบอาชีพที่ไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work from Home) ได้

 

 

แต่ในช่วงเวลาเคอร์ฟิว หรือ เวลา 21.00 น.- 04.00 น. สามารถเดินทางได้แค่ ข้อ 2 และ ข้อ 4 เท่านั้น

 

 

สำหรับการจำกัดการเดินทางเข้า-พื้นที่  “13 จังหวัดสีแดงเข้ม” โดยเฉพาะใน “กลุ่ม กทม.และจังหวัดใกล้เคียง 9 จังหวัด” จะมีการตั้งด่านตรวจ-สกัด ตามแนวขอบจังหวัดที่อยู่ปลายพื้นที่สีแดงเข้ม

 

 

ส่วนการเดินทางระหว่างจังหวัดในกลุ่มด้วยกันเอง (เช่น นนทบุรี-กทม. , กทม.-สมุทรปราการ) จะไม่ตั้งด่านสกัด แต่จะใช้สายตรวจออกตรวจตราเพื่อบังคับใช้กฎหมาย “ห้ามออกนอกบ้าน ยกเว้นกรณีจำเป็น” 

 

 

กำหนดระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 14 วัน (จนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ) โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นไป
เว้นเฉพาะมาตรการขนส่งสาธารณะ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม เป็นต้น

 

 

 

 

อัปเดต พื้นที่ควบคุมตามสถานการณ์โควิด-19

 

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เรื่องพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีรายละเอียดสำคัญ คือ การกำหนดเพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็น 13 จังหวัด เพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดเป็น 53 จังหวัด พื้นที่ควบคุมเหลือ 10 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวังสูงเหลือ 1 จังหวัด ดังนี้

 

 

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น 13 จังหวัด


1. กรุงเทพมหานคร


2. จังหวัดฉะเชิงเทรา


3. จังหวัดชลบุรี


4. จังหวัดนครปฐม


5. จังหวัดนนทบุรี


6. จังหวัดนราธิวาส


7. จังหวัดปทุมธานี


8. จังหวัดปัตตานี


9. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


10. จังหวัดยะลา


11. จังหวัดสงขลา


12 จังหวัดสมุทรปราการ


13. จังหวัดสมุทรสาคร

 

 

พื้นที่ควบคุมสูงสุด รวมทั้งสิ้น 53 จังหวัด


1. จังหวัดกระบี่


2. จังหวัดกาญจนบุรี


3. จังหวัดกาฬสินธุ์


4. จังหวัดกำแพงเพชร


5. จังหวัดขอนแก่น


6. จังหวัดจันทบุรี


7. จังหวัดชัยนาท


8. จังหวัดชัยภูมิ


9. จังหวัดเชียงราย


10. จังหวัดเชียงใหม่


11. จังหวัดตรัง


12. จังหวัดตราด


13. จังหวัดตาก


14. จังหวัดนครนายก


15. จังหวัดนครราชสีมา


16. จังหวัดนครศรีธรรมราช


17. จังหวัดนครสวรรค์


18. จังหวัดบุรีรัมย์


19. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


20. จังหวัดปราจีนบุรี


21. จังหวัดพัทลุง


22. จังหวัดพิจิตร


23. จังหวัดพิษณุโลก


24. จังหวัดเพชรบุรี


25. จังหวัดเพชรบูรณ์


26. จังหวัดมหาสารคาม


27. จังหวัดยโสธร


28. จังหวัดร้อยเอ็ด


29. จังหวัดระนอง


30. จังหวัดระยอง


31. จังหวัดราชบุรี


32. จังหวัดลพบุรี


33. จังหวัดลำปาง


34. จังหวัดลำพูน


35. จังหวัดเลย


36. จังหวัดศรีสะเกษ


37. จังหวัดสกลนคร


38. จังหวัดสตูล


39. จังหวัดสมุทรสงคราม


40. จังหวัดสระแก้ว


41. จังหวัดสระบุรี


42. จังหวัดสิงห์บุรี


43. จังหวัดสุโขทัย


44. จังหวัดสุพรรณบุรี


45. จังหวัดสุรินทร์


46. จังหวัดหนองคาย


47. จังหวัดหนองบัวลำภู


48. จังหวัดอ่างทอง


49. จังหวัดอุดรธานี


50. จังหวัดอุทัยธานี


51. จังหวัดอุตรดิตถ์


52. จังหวัดอุบลราชธานี


53 จังหวัดอำนาจเจริญ

 

 

พื้นที่ควบคุม รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด


1. จังหวัดชุมพร


2. จังหวัดนครพนม


3. จังหวัดน่าน


4. จังหวัดบึงกาฬ


5. จังหวัดพังงา


6. จังหวัดแพร่


7. จังหวัดพะเยา


8. จังหวัดมุกดาหาร


9. จังหวัดแม่ฮ่องสอน


10. จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

พื้นที่เฝ้าระวังสูง รวมทั้งสิ้น 1 จังหวัด


1. จังหวัดภูเก็ต

 

 

 

 


ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , เพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง