รีเซต

ผู้ป่วยสีเขียวต้องรักษาที่บ้าน! วิธีเช็กอาการป่วยโควิด-19 ตามระดับสีรักษาที่ไหน

ผู้ป่วยสีเขียวต้องรักษาที่บ้าน! วิธีเช็กอาการป่วยโควิด-19 ตามระดับสีรักษาที่ไหน
Ingonn
15 กรกฎาคม 2564 ( 11:19 )
210
ผู้ป่วยสีเขียวต้องรักษาที่บ้าน! วิธีเช็กอาการป่วยโควิด-19 ตามระดับสีรักษาที่ไหน

 

เป็นที่แชร์กันบนโลกออนไลน์ เมื่อ "หมอแล็บแพนด้า" โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ระบุว่าจากนี้ไป คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ให้อยู่ที่บ้าน เพื่อรักษาเตียงโควิดให้ผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง ได้รักษาในโรงพยาบาลต่อไป เนื่องจากเตียงตามโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนามใกล้เต็มแล้ว

 

 

จากกรณีการปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษานี้ ทำให้เราต้องรีบกลับมาเช็กตัวเองเลยว่า เราเป็นผู้ป่วยโควิด-19 สีไหน ซึ่ง TrueID ได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ที่นี่แล้ว

 

 


จากนี้ไป คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ให้อยู่ที่บ้าน


ทนพ. ภาคภูมิ เดชหัสดิน หรือ "หมอแล็บแพนด้า" โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  โดยระบุว่า "จากนี้ไป คนติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ให้อยู่ที่บ้าน อันนี้ตั้งใจอ่านดีๆนะครับ เป็นแนวทางใหม่ของประเทศเรา เมื่อก่อนใครที่ตรวจ RT-PCR แล้วบวก ต้องได้เตียงทุกคนถูกมั้ยครับ ตอนนี้เปลี่ยนใหม่แล้วนะครับ

 

 

ย้ำอีกครั้ง ผู้ป่วยสีเขียวไม่ต้องคาดหวังว่าจะได้เตียง เมื่อเราโทรหาสปสช.เรียบร้อย เราจะได้รับอุปกรณ์และยาต่างๆ เช่น ฟ้าทะลายโจร เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว  ได้รับการแนะนำจากแพทย์ผ่านวิดิโอคอล หมอจะคอยดูตลอดถ้าเรามีอาการมากขึ้น เขาจะเร่งให้ยาฟาวิพิราเวียร์เลย ไม่ต้องกลัวว่าเชื้อจะลงปอด ถ้าอยู่ได้ครบ 14 วันก็จบ ถือว่าเราหายแล้ว 
ทีนี้ถ้าบ้านเรามันแคบ ก็ออกมาใช้บริการ community isolation แยกตัวเราออกมาจากบ้าน 

 

 

ส่วนผู้ป่วย สีเหลืองเข้มซึ่งมี 15%  สีแดงซึ่งมี 5%  กลุ่มนี้ยังไงก็ต้องหาเตียงในโรงพยาบาล เราต้องเก็บเตียงให้คนกลุ่มนี้ พวกเขาจะได้มีโอกาสรอด แต่ถ้าสีเขียวไปนอนรพ.กันซะหมด จะทำให้กลุ่มสีเหลืองเข้มและสีแดงมีโอกาสรอดน้อยลง

 

 

 

 


เช็กอาการป่วยโควิดตามการแบ่งสี

 

อาการผู้ป่วยสีเขียว


- ไม่มีอาการ


- ไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป


- ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ


- ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่น


- ถ่ายเหลว


- ไม่มีอาการหายใจเร็ว


- ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย


- ไม่มีอาการหายใจลำบาก


- ไม่มีปอดอักเสบ


- ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ

 

 

 

 

อาการผู้ป่วยสีเหลือง


- ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่ง


- แน่นหน้าอก


- หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม


- หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากเวลาไอแล้วเหนื่อย


- อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ


- ปอดอักเสบ


- ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน

 

 

 


อาการผู้ป่วยสีแดง


- หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา


- แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก


- ซึม เรียกไม่รู้สึกตัวหรือตอบสนองช้า


- ปอดบวมที่มี hypoxic (risting O2 saturation

 

 

 

 

ผู้ป่วยโควิดสีเขียวต้องทำตามนี้


สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งติดโควิด-19 และกักตัวอยู่ที่บ้าน หรือ ผู้ป่วยที่รักษาตัวครบ 10 วันแล้ว และแยกกักตัวต่อที่บ้าน จะทำอย่างไรไม่ให้คนในบ้านจะต้องเสี่ยงไปด้วย เรามีเกณฑ์ปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อต้องทำ Home Isolation ดังนี้

 

1.ห้ามคนมาเยี่ยม เพื่อลดการแพร่เชื้อให้คนอื่นและลดการรับเชื้อจากคนภายนอก

 


2.ห้ามเข้าใกล้คนในครอบครัว หรือ เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2เมตร

 


3.แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัว หากผู้ป่วยไม่สามารถแยกได้ ควรแยกให้ห่างจากคนในครอบครัวให้มากที่สุด เปิดหน้าต่างหรือประตูเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

 


4.ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัว

 


5.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่กับคนในครอบครัว

 


6.ล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ทุกครั้ง

 


7.ควรแยกใช้ห้องน้ำกับคนในครอบครัว หรือ แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอนด้วยผงซักฟอก ห้ามซักร่วมกับคนในครอบครัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้คนในครอบครัว

 

 

 

 

ข้อมูลจาก ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ , เฟซบุ๊กหมอแล็บแพนด้า

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง