รีเซต

ไปกักตัวที่ "ศูนย์พักคอย" ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

ไปกักตัวที่ "ศูนย์พักคอย" ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
Ingonn
14 กรกฎาคม 2564 ( 11:29 )
1.5K
ไปกักตัวที่ "ศูนย์พักคอย" ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

ปัจจุบันการหาเตียงรักษาโควิด-19 เป็นเรื่องที่ยากพอกับการงมเข็มในมหาสมุทร กทม.จึงมีการจัดตั้งศูนย์พักคอยขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง หรืออาการน้อย เข้ารับการรักษาเบื้องต้นระหว่างรอเตียง โดยการเข้ารับการรักษาต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ดีก่อน เพราะผู้ป่วยต้องพักร่วมกับผู้อื่น คล้ายคลึงกับโรงพยาบาลสนาม

 

 

วันนี้ TrueID ได้เตรียมขั้นตอนการเข้าพักไปรักษาตัวที่ ศูนย์พักคอย ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ใครได้เข้าพักและต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่ออยู่ในศูนย์พักคอย

 

 


ศูนย์พักคอยคืออะไร

 

“ศูนย์พักคอย” หรือ Community Isolation เป็นสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาล และใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแล กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษระหว่างรอเตียง มีเป้าหมาย คือ แยกผู้ป่วยสีเขียวออกจากครอบครัว ระหว่างรอการส่งต่อ รพ. และดูแลกลุ่มที่ต้องการการดูแล เช่น เด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อและไม่มีคนในครอบครัวดูแล

 

 


ก่อนที่เราจะไปพักศูนย์พักคอย ต้องรู้ก่อนว่าเราอยู่ในผู้ป่วยสีอะไร


การเข้ารับการรักษาในแต่ละสถานพยาบาล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย

 

สีเขียว คือกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย อายุไม่มาก ไม่มีโรคร่วม หากผู้ป่วยมาจากการค้นหาเชิงรุกจะถูกส่งไปดูแลในโรงพยาบาลสนาม ส่วนผู้ป่วยที่มาจากการตรวจแล็บหรือการตรวจในโรงพยาบาล จะถูกส่งต่อไปที่โรงพยาบาลสนาม และ hospitel ซึ่งทั้งสองสถานที่เป็นไปตามมาตฐานของสถานพยาบาล ผู้ป่วยจะไม่สามารถระบุว่าต้องการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม หรือ hospitel เองได้ ซึ่งศูนย์พักคอยจะอยู่ในกลุ่มนี้

 


สีเหลืองและสีแดง เป็นกลุ่มที่มีอาการของโรครุนแรงมากกว่ากลุ่มแรก กลุ่มนี้จะได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด ได้แก่ โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลเอกชน โดยทุกโรงพยาบาลจะสำรองเตียงไอซียู เพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก

 

 


เกณฑ์พิจารณารับเฉพาะผู้ป่วยยืนยันเข้าศูนย์พักคอย


1.ไม่แสดงอาการ หรือ อาการน้อย


2.ยินดีให้ความร่วมมือ สื่อสารรู้เรื่อง ไม่ก้าวร้าว ไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช ช่วยเหลือตัวเองได้


3.ไม่สามารถแยกกักในที่พักตนเอง และยินดีเข้าศูนย์พักคอย


4.ไม่มีอาการ ได้แก่ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 96% และไม่มีอาการเหนื่อยหอบอย่างชัดเจน

 

 


ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรในศูนย์พักคอย


1.ลงทะเบียน ประเมินอาการแรกรับ 

- การวัดอุณหภูมิ


- วัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด

 


2.ปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์พักคอย

 


3.ผู้ป่วยวัดสัญญาณชีพจรวันละ 2 ครั้ง และส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร

 


4.มอบหมายผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือกเป็นหัวหน้าทีม 1 คน ช่วยดูแลผู้ป่วยเป็นโซน

 

 

 

สิ่งที่ได้รับเมื่อเข้าพักศูนย์พักคอย


1.จ่ายยาฟ้าทะลายโจร

 

 

2.Primary Care คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข (Frist line health care services)  มีบทบาทดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน โดยประยุกต์ความรู้ทางวิชาการแพทย์ จิตวิทยา และสังคมศาสตร์ มีลักษณะผสมผสาน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ พร้อมทั้งประสานกับองค์กรชุมชนในท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพของตัวเอง

 

 

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าพักในศูนย์พักคอย จะได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่จาก รพ. ในสังกัด กทม. หน่วยงานบริการสาธารณสุข พร้อมประเมินอาการอย่างใกล้ชิด และให้ยาตามอาการ  

 

 

 

ต้องเตรียมอะไรไปศูนย์พักคอยบ้าง


1.เสื้อผ้า ซักและทำความสะอาดง่าย 14 ชุด

 


2.ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่, ยาสีฟัน, ผ้าอนามัย, 

 


3.โทรศัพท์ สายชายชาร์จ แอดไลน์หอผู้ป่วย เพื่อใช้สื่อสาร

 


4.ยารักษาโรคประจำตัว หรือข้อมูลประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิม

 


5.บัตรประชาชน เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน การเข้ารับการรักษา

 


6.ผลตรวจโควิด-19 สำหรับยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล

 


7.ปลั๊กไฟพ่วง บางสถานที่อาจมีข้อจำกัดปลั๊กไม่เพียงพอ

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , เพจ ไทยคู่ฟ้า , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข
 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง