รีเซต

"ติดโควิด ไม่มีที่รักษา" มารอเตียงได้ที่ "ศูนย์พักคอย" ทั่วกรุงเทพ มีที่ไหนบ้างเช็กเลย!

"ติดโควิด ไม่มีที่รักษา" มารอเตียงได้ที่ "ศูนย์พักคอย" ทั่วกรุงเทพ มีที่ไหนบ้างเช็กเลย!
Ingonn
7 กรกฎาคม 2564 ( 13:22 )
2.3K

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่มีท่าทีจะลดลงมานานนับเดือน ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่ายังไม่มีที่รักษาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายครอบครัวต้องรอการติดต่อกลับจากโรงพยาบาล ทำให้การรักษาไม่ทันท่วงทีจนเสียชีวิตได้ ล่าสุด กทม. ได้เข้าถึงปัญหานี้ด้วยการตั้งศูนย์พักคอย รับผู้ป่วยโควิดที่รอเตียงแก้ผู้ป่วยตกค้าง รอบกรุงเทพ 17 แห่ง โดยจะเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 9 กรกฎาคมนี้

 


ศูนย์พักคอยรับผู้ป่วยโควิดรอเตียง

 

“ศูนย์พักคอย” หรือ Community Isolation เป็นสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาล และใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแล กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษระหว่างรอเตียง 

 

 

มีเป้าหมาย คือ แยกผู้ป่วยสีเขียวออกจากครอบครัว ระหว่างรอการส่งต่อ รพ. และดูแลกลุ่มที่ต้องการการดูแล เช่น เด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อและไม่มีคนในครอบครัวดูแล 

 

 

นอกจากนั้นผู้ป่วยสีเขียว หากมีอาการขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้เร็วมาก จึงต้องรีบดำเนินการดูแล ส่วนผู้ป่วยสีเขียว ที่สมัครใจกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation จะต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ และจะมี จนท.สาธารณสุข และ อสม. คอยดูแล

 


ภายในศูนย์จะมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่และ อสม. คอยดูแลประเมินอาการ มีอุปกรณ์ ยา และเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็น ซึ่งในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 2,560 เตียงและจะขยายเพิ่มเติมให้ครบ 20 ศูนย์ เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,000 ราย

 


“ศูนย์พักคอย รอการส่งต่อผู้ป่วยโควิดเข้ารักษาในโรงพยาบาล” หรือ Community Isolation กทม. มีแผนจะจัดตั้งให้ครบทั้ง 6 กลุ่มเขต และจะจัดตั้งให้มากที่สุดทุกเขตทั่วพื้นที่ กทม. ขณะนี้มีศูนย์พักคอยแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ที่วัดสะพาน เขตคลองเตย และ ศูนย์สร้างสุขทุกวัย เขตบางแค 

 

 


ไทม์ไลน์จัดตั้งศูนย์พักคอย


7 ก.ค.64 เริ่มติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ ระบบกำจัดขยะ และระบบบำบัดน้ำเสีย 


8 ก.ค.64 ติดตั้งเตียงกระดาษและชุดเครื่องนอน พร้อมทดสอบระบบ 


9 ก.ค.64 เปิดให้บริการ

 

 


ทั้งนี้ กทม. ได้เตรียมจัดตั้งศูนย์พักคอยฯ จำนวน 17 ศูนย์ ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 2,560 เตียงและจะขยายเพิ่มเติมให้ครบ 20 ศูนย์ เพื่อให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 3,000 ราย

 

 


17 ศูนย์พักคอย ระหว่างรอเตียง


กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ (ดูแลโดย รพ.กลาง)


• ศูนย์กีฬารามอินทรา เขตบางเขน


• ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ เขตจตุจักร


• ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร เขตจตุจักร


• ศูนย์สร้างสุขทุกวัยดอนเมือง เขตดอนเมือง

 

 


กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก (ดูแลโดย รพ.เวชการุณรัศมิ์)


• ค่ายลูกเสือกรุงเทพวันวาน เขตหนองจอก


• ร้าน BOOM BOOM เขตลาดกระบัง


• ศูนย์สร้างสุขทุกวัยสะพานสูง เขตสะพานสูง


• ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางกะปิ เขตบางกะปิ

 

 

 

กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ


• วัดศรีสุดารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อยอยู่กายใต้การดูแลของ รพ.ราชพิพัฒน์


• ศูนย์สร้างสุขทุกวัยทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนาอยู่กายใต้การดูแลของ รพ.ตากสิน

 

 


กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง (ดูแลโดย รพ.เจริญกรุงประชารักษ์)


• อาคารปฏิบัติธรรม วัดอินทรวิหาร เขตพระนคร


• สนามกีฬาเวสน์ 2 เขตดินแดง

 

 

 

กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ (ดูแลโดย รพ.สิรินธร)


• วัดสะพาน เขตคลองเตย (ดำเนินการแล้วตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมา)


• วัดปากบ่อ เขตสวนหลวง

 

 

 

กลุ่มเขตกรุงธนใต้ (ดูแลโดย รพ.ห่ลวงพ่อทวีศักดิ์)


• ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางแค (เรืองสอน) เขตบางแค


• ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน


• วัดนิมมานรดี เขตภาษีเจริญ

 

 

 

 

“ศูนย์พักคอยฯ” เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ เพื่อเป็นสถานที่ที่ดูแลอาการเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยโควิดสีเขียวในชุมชนหรือในพื้นที่ใกล้บ้าน เพื่อกักตัวผู้ป่วยออกจากคนในครอบครัว รอส่งต่อเข้ารักษาใน รพ. สนาม หรือ รพ.หลัก เพื่อลดการติดเชื้อกันในครอบครัวที่จะทำให้แพร่ระบาดต่อไปในชุมชนหรือในที่ทำงานได้ 

 

 


ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง