รีเซต

1 กุมภาพันธ์ 2003 อุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบียระเบิดขณะเดินทางกลับสู่โลก

1 กุมภาพันธ์ 2003 อุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบียระเบิดขณะเดินทางกลับสู่โลก
TNN ช่อง16
1 กุมภาพันธ์ 2566 ( 18:55 )
65
1 กุมภาพันธ์ 2003 อุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบียระเบิดขณะเดินทางกลับสู่โลก

วันนี้เมื่อ 20 ปีก่อน กระสวยอวกาศโคลัมเบียเกิดอุบัติเหตุระเบิดเหนือท้องฟ้าประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะเดินทางกลับสู่โลก นักบินอวกาศทั้ง 7 คน เสียชีวิต ในภารกิจ STS-107 ภารกิจสุดท้ายของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย กลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในวงการสำรวจอวกาศของประเทศสหรัฐอเมริกาและมวลมนุษยชาติ


อุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบียนับเป็นครั้งที่ 2 ในโครงการกระสวยอวกาศของนาซา ก่อนหน้านี้ในปี 1988 ภารกิจ STS-27 กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์เคยระเบิดขณะกำลังทะยานขึ้นสู่อวกาศส่งผลให้นักบินอวกาศทั้งหมดเสียชีวิต 


เริ่มต้นภารกิจ STS-107 กระสวยอวกาศโคลัมเบียเดินทางขึ้นสู่อวกาศในวันที่     16 มกราคม 2003 จากฐานปล่อยจรวดหมายเลข LC-39A ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา


นักบินอวกาศทั้ง 7 คน ประกอบด้วย

ผู้บัญชาการ ริค ดี สามี (Rick D. Husband)

นักบินวิลเลียม ซี. แมคคูล (William C. McCool)

ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ 1 เดวิด เอ็ม. บราวน์ (David M. Brown)

ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ 2 กัลปนา ชวาลา (Kalpana Chawla)

ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ 3 ไมเคิล พี. แอนเดอร์สัน (Michael P. Anderson)

ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ 4 ลอเรล บี. คลาร์ก (Laurel B. Clark)

ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำหนักบรรทุก อิลาน รามอน (Ilan Ramon)


ภารกิจของกระสวยอวกาศโคลัมเบียส่วนใหญ่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์บนวงโคจรของโลกมากกว่า 15 การทดลอง เช่น การวิจัยชีวภาพและกายภาพ (OBPR) ของ NASA ทดสอบระบบรายงานภัยคุกคามจากดาวเทียมขนาดเล็ก (MSTRS) การใช้เครื่องรับส่งสัญญาณพลังงานต่ำ (LPT) และการทดลองพลังงานแสงอาทิตย์ ตลอดระยะเวลาของภารกิจ 15 วัน กระสวยอวกาศโคลัมเบียโคจรรอบโลก 255 รอบ 


ผลการสอบสวนสาเหตุที่ทำให้กระสวยอวกาศโคลัมเบียระเบิดขณะเดินทางกลับโลกของคณะกรรมการสืบสวนอุบัติเหตุโคลัมเบีย (CAIB) ระบุว่าเกิดจากแผ่นฉนวนโฟมของถังเชื้อเพลิงหลุดออกขณะกระสวยอวกาศทะยานขึ้นจากฐานปล่อยบนโลกไปกระทบกับแผ่นกระเบื้องกันความร้อนบริเวณปีกของกระสวยอวกาศโคลัมเบีย


การสอบสวนหาสาเหตุในครั้งนี้ใช้เวลานานกว่า 7 เดือน โดยทีมงานวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญของนาซาและหน่วยงานต่าง ๆ ประมาณการณ์ว่าเศษชิ้นส่วนของกระสวยอวกาศโคลัมเบียมากกว่า 85,000 ชิ้น ที่กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ด้านล่างจุดระเบิดได้รับการจัดเก็บและนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียด


ภายหลังความสูญเสียในภารกิจกระสวยอวกาศโคลัมเบียนาซาได้ใช้เวลาสอบสวนและปรับปรุงกระสวยอวกาศนานเกือบสองปี ก่อนเริ่มภารกิจ STS-114 การส่งกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 26 กรกฎาคม 2005 โครงการกระสวยอวกาศของนาซาดำเนินการต่อไปจนถึงปี 2011 จึงได้ยกเลิกการใช้งานกระสวยอวกาศไป โดยตลอดระยะเวลายาวนานของโครงการนาซาใช้กระสวยอวกาศทั้ง 6 ลำ ทำภารกิจไปทั้งหมด 135 ภารกิจ


การจากไปของนักบินอวกาศทั้ง 7 คน ได้ถูกจดจำและชื่อของพวกเขาได้ถูกนำไปตั้งเป็นสถานที่สำคัญต่าง ๆ บนอวกาศ เช่น  ดาวเคราะห์น้อย 7 ดวง ที่ถูกค้นพบในปี 2001 ได้รับการตั้งชื่อตามนักบินอวกาศทั้ง 7 คน นอกจากนี้เนินเขา 7 เนิน บนดาวอังคารบริเวณที่เรียกว่า Columbia Hills  ได้รับการตั้งชื่อเนินเขาตามชื่อของนักบินอวกาศทั้ง 7 คน 


สำหรับสถานที่สำคัญบนโลกรายชื่อของนักบินอวกาศทั้ง 7 คน ได้รับการบันทึกลงในหอเกียรติยศ Space Mirror Memorial ร่วมกับนักบินอวกาศคนอื่น ๆ ในศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา ยอดเขาแซงเกร เด คริสโต เรนจ์ (Sangre de Cristo Range) ในเทือกเขาร็อกกี ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโคลัมเบีย พอยต์ (Columbia Point) รวมไปถึงการจัดงานรำลึกถึงนักบินอวกาศผู้ล่วงลับในทุก ๆ วันที่ 1 กุมภาพันธ์




ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ Wikipedia 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง