5 เหตุผลที่คุณควรนอนกลางวัน
เพราะภาระงานที่มีอยู่มากมายตลอดทั้งวัน อาจไม่งานหนักที่พนักงานออฟฟิศหรือคนวัยทำงานทั้งหลายจะหาเวลาชาร์จพลังให้กับตัวเองในระหว่างวันได้ แต่มีงานวิจับมากมายหลายชิ้นที่พิสูจน์ข้อดัของการงีบหลับในตอนกลางวัน เป็นเวลาสั้น ก็สามารถกระตุ้นร่างกายที่เหนื่อยให้กับมากระปรี้ประเปร่า พร้อมสำหรับการทำงานในยามบ่ายต่อได้
บทความล่าสุดจาก CNN Health ระบุว่า แม้จะมีคนอยู่ไม่น้อยที่ชอบคิดว่า การนอนกลางวันเป็นนิสัยของคนขี้เกียจ แต่จริงๆแล้ว การงีบหลับระหว่างวันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และทำให้ร่างกายสามารถกลับทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนัก ทำให้หลายคนเกิดภาวะ “coronasomnia” ซึ่งเป็นอาการของโรคโควิด-19 ที่มีภาวะนอนไม่หลับ (insomnia) ร่วมด้วย ก็ยิ่งทำให้คุณภาพการนอนของหลายๆ คนลดลงไปอีก ดังนั้น การงีบหลับจะช่วยเติมเต็มระยะเวลาที่ร่างกายต้องการการพักผ่อนให้เพียงพอมากขึ้น แต่ต้องระวังระยะเวลาของการงีบ ไม่ควรเกินกว่า 45 นาที ไม่อย่างนั้นอาจะมีผลต่อวงจรชีวิต (circadian rhythm) ซึ่งการหลับระหว่างวันที่นานเกินไป จะทำให้คุณหลับยากขึ้นในตอนกลางคืน
ลองมาดู 5 เหตุผลที่ทำไมคุณถึงควรงีบหลับระหว่างวันดู
1.Daylight Saving Time หรือเวลาออมแสง ซึ่งเป็นการปรับนาฬิกาให้เร็วขึ้น ในช่วงหน้าหนาวเพื่อให้มีเวลากลางวันยาวขึ้น ส่งผลให้คนนอนหลับนอนลง อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในประเทศเมืองหนาว ดังนั้น การงีบหลับช่วยทดแทนเวลาที่เสียไปนี้ได้
2.การงีบเปรียบเสมือนการชาร์จแบตเตอรี่ให้กับสมอง คำกล่าวนี้ได้รับการยืนยันแล้วจากองค์การนาซาของสหรัฐฯ ที่ได้ทดลองกับนักบินอวกาศ พบว่าการให้พวกเขานอนกลางวันอย่างน้อย คนละ 1 ชั่วโมง ช่วยให้ระบบความจำในการทำงานดีขึ้น
3.การนอนกลางวันลดความเสี่ยงก่อโรคหัวใจ เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Heart เมื่อปี 2019 โดยพบว่าการนอนกลางวัน อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ลดความมเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมอง ของผู้เข้าร่วมงานวิจัยอายุระหว่าง 35-75 ปี
4.มีงานวิจัยที่ทำขึ้นในปี 2020 ชี้ว่าผู้หญิงที่มีภาวะนอนไม่พอ มีแนวโน้มบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันเยอะและคาเฟอีนมากกว่า คนที่ได้นอนหลับอย่างพอเพียง ดังนั้น การนอนกลางวันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนได้ และร่างกายจะอยากของหวานน้อยลง
5.การนอนกลางวันพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทำให้มีสมาธิจดจ่อกับงานและสมองแล่นมากขึ้น
ที่มา: CNN Health