รีเซต

โทษที่อาจเกิดขึ้น จากการนอนกลางวัน

โทษที่อาจเกิดขึ้น จากการนอนกลางวัน
TeaC
5 กรกฎาคม 2566 ( 14:06 )
127
โทษที่อาจเกิดขึ้น จากการนอนกลางวัน

การนอนกลางวันถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่รู้หรือไม่? ถ้านอนมากเกินไปจะกลายเป็นส่งผลเสีย และทำให้ช่วงกลางคืนหลับได้ยาก ถ้าหากใครกำลังประสบปัญหาลักษณะนี้อยู่ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ "โรคนอนไม่หลับ"

 

โทษที่อาจเกิดขึ้น จากการนอนกลางวัน

 

เบื้องต้นอาการดังกล่าวจะทำให้รู้สึกง่วง ซึมใช้เวลาฟื้นฟูตัวเองให้กลับมาสดชื่นนานกว่าปกติ ซึ่งจากข้อมูลทางการแพทย์หากต้องการนอนกลางวันให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรปฏิบัติด้วย 3 ข้อ ดังนี้

 

  1. ไม่ควรงีบหลับเกิน 30 นาทีต่อวัน
  2. ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การงีบหลับ คือ 13.00-15.00 น.
  3. นอนในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก ปิดไฟในห้องให้มืด และปราศจากสิ่งกวนใจ

 


นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยบางรายที่นั่งอยู่ดี ๆ พอกล้องตัดมาอีกทีอาจกำลังวูบหลับไปโดยไม่รู้ตัว สาเหตุนี้มาจากความผิดปกติของร่างกายเกี่ยวกับการนอนเช่นกัน เนื่องจากสารไฮโปเครติน (Hypocretin) ในสมองลดน้อยลง จนก่อให้เกิดอาการหลับแบบฉับพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมเวลาหลับเองได้ และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด 

 

การหงอยหลับกลางวัน Daytime somnolence คืออะไร?

ขณะที่ นายแพทย์ รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ "หมอหม่อง" อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักอนุรักษ์เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ Rungsrit Kanjanavanit ระบุข้อความเกี่ยวกับ การหงอยหลับกลางวัน Daytime somnolenceว่า

 

ในฐานะแพทย์ มองอาการแบบนี้แล้วก็เป็นห่วง การหงอยหลับกลางวัน Daytime somnolence เป็นอาการหนึ่ง ของ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือ ทางเดินหายใจอุดกั้นตอนกลางคืน หรือ โรคกรน Obstructive sleep apnea (OSA)

 

การหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ตอนกลางคืน ทำให้ไม่สามารถหลับลึก ร่างกาย สมอง ไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ ความดันโลหิต สูงตอนกลางคืน nocturnal hypertension ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น สมองไม่แจ่มใส

 

ใครมีอาการแบบนี้ อย่านิ่งนอนใจ มันส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว เพิ่มความเสี่ยง หัวใจวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ แนะนำให้ไปทำ sleep test (polysomnography) นะครับ

 

หากเป็นรุนแรง แนะนำให้ใช้ เครื่อง CPAP ใส่นอนครับ

 

รู้แบบนี้แล้ว! อย่าลืมสังเกตการนอนหลับของตัวเองกันด้วยนะ จะได้รีบปรึกษาแพทย์ อย่าปล่อยนานทำให้เสียการเสียงานกันนะ ห่วงนะรู้ไว้

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง