รีเซต

หาว สัญญาณสุขภาพ อันตรายมากกว่าที่คิด

หาว สัญญาณสุขภาพ อันตรายมากกว่าที่คิด
TNN ช่อง16
18 เมษายน 2568 ( 13:24 )
13

หาว เป็นสัญญาณของการขาดการนอนหลับอย่างรุนแรงที่อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพในระยะยาวได้

คงไม่แปลกถ้าเราจะหาวเวลาง่วงนอนบ้าง แต่เคยสังเกตตัวเองไหม? ว่าเราหาวบ่อยแค่ไหน หากคุณเป็นคนที่ต้องอาศัยกาแฟ 3-4 แก้วต่อวันเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างลุล่วง อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของการขาดการนอนหลับอย่างรุนแรงที่อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพในระยะยาวได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับชี้ว่า การไม่ได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพอย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมง ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพที่เชื่อมโยงไปถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน ภาวะซึมเศร้า โรคหัวใจและไต ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหลอดเลือดสมอง

ดร.เอริค โอลสัน ประธานสถาบัน AASM ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดและการนอนหลับจากคลินิกเมโยในเมืองโรเชสเตอร์ รัฐมินนิโซตา กล่าวว่า ตั้งแต่อุบัติเหตุจากการขับรถขณะง่วง ข้อผิดพลาดในที่ทำงาน ไปจนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพในระยะยาว ผลกระทบของภาวะง่วงนอนในเวลากลางวันมากเกินไปส่งผลต่อทั้งระดับบุคคล กับคนรอบตัว ซึ่งสัญญาณเตือนหนึ่ง ก็คือ การหาว

อันตรายที่ซ่อนเร้น

เมื่อมีภาวะง่วงนอนรุนแรง ร่างกายจะแสดงสัญญาณแปลกๆ รวมถึงการเอาชนะความงัวง ด้วยการหาว 

อย่างไรก็ตาม หลายครั้ง ที่มีแม้ว่าร่างกายจะส่งสัญญาณออกมาแล้ว ควมง่วงก็ยังไม่หายไป และดูเหมือนจะยิ่งรุนแรงกว่าเดิม 

เมื่อมีความง่วงอย่างต่อเนื่อง สมองอาจเข้าสู่ภาวะงีบหลับระยะสั้น หรือที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า "microsleeps" 

ภาวะนี้ จะทำให้สมองกำลังเข้าสู่ภาวะงีบหลับสั้นๆ ประมาณ 2 วินาที 3 วินาที ไปจนถึง 10 วินาที แล้วดีดกลับมามีสติอีกครั้ง ความน่ากลัวคือ เจ้าตัวอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้น

อันตรายของ microsleeps ถ้าเกิดตอน กำลังขับรถหรือทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ 

โดยจากสถิติ อุบัติเหตุรถยนต์ประมาณ 100,000 ครั้งต่อปีมีความเชื่อมโยงกับการขับรถขณะง่วงนอน

ปัญหาสุขภาพอื่นๆ

ความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) โรคนอนไม่หลับ (insomnia) กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (restless leg syndrome) และความผิดปกติของการนอนหลับที่เกี่ยวกับวงจรชีวภาพ (circadian rhythm sleep disorders) รวมทั้งภาวะเจ็บปวดเรื้อรังและยาต่างๆ ก็สามารถส่งผลต่อความง่วงได้เช่นกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับจะเป็นผู้วินิจฉัยแยกโรค

นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างก็สามารถส่งผลต่อภาวะง่วงนอนเรื้อรังได้  เช่น การบริโภคคาเฟอีนมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน การใช้กัญชา ปริมาณการออกกำลังกายที่คุณทำ และการปฏิบัติตามสุขอนามัยการนอนหลับที่ไม่ดี เช่น การนอนในห้องนอนที่สว่าง หนาว ร้อน หรือมีเสียงดัง

และถึงแม้ หลายคนหันไปพึ่งแอลกอฮอล์หรือกัญชาด้วยความเชื่อที่ผิดว่าสามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น แม้ว่าแอลกอฮอล์จะดูเหมือนว่าทำให้ง่ายต่อการเข้านอน แต่ร่างกายจะตื่นขึ้นในช่วงกลางคืนเมื่อแอลกอฮอล์ถูกเผาผลาญหมดแล้ว ยิ่งจะทำให้ปัญหาการนอนแย่กว่าเดิม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง