รีเซต

วิจัยพบ 'งีบกลางวัน' มากขึ้น อาจเพิ่มเสี่ยง 'ความดันเลือดสูง-หลอดเลือดสมอง'

วิจัยพบ 'งีบกลางวัน' มากขึ้น อาจเพิ่มเสี่ยง 'ความดันเลือดสูง-หลอดเลือดสมอง'
Xinhua
16 สิงหาคม 2565 ( 10:22 )
84
วิจัยพบ 'งีบกลางวัน' มากขึ้น อาจเพิ่มเสี่ยง 'ความดันเลือดสูง-หลอดเลือดสมอง'

ปักกิ่ง, 15 ส.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยจีนพบว่าการงีบหลับตอนกลางวันมากขึ้น อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ หรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ

 

สำหรับกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุทั่วโลก โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตหลักที่มีต้นตอจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ขณะโรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะพิการ โดยการศึกษาช่วงต้นพบว่าผู้คนจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นหลังจากงีบหลับผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารไฮเปอร์เทนชัน (Hypertension) ระบุว่ายูเค ไบโอแบงก์ (UK Biobank) ฐานข้อมูลชีวการแพทย์ขนาดใหญ่ของสหราชอาณาจักร ได้รวบรวมข้อมูลพันธุกรรม วิถีชีวิต และสุขภาพจากอาสาสมัครชาวสหราชอาณาจักรกว่า 500,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 40-69 ปีทีมวิจัยจากโรงพยาบาลเซียงหย่า สังกัดมหาวิทยาลัยเซ็นทรัลเซาธ์ (CSU) ทำการวิเคราะห์การถดถอยค็อกซ์ (Cox regression) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบการวิเคราะห์อัตราการมีชีวิตรอด ในกลุ่มผู้เข้าร่วม 358,451 คนจากฐานข้อมูล ที่ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดสมองบรรดาผู้เชี่ยวชาญดำเนินการศึกษาที่เกี่ยวข้องผ่านการสุ่มแบบเมนเดล (Mendelian randomization) และพบว่าผู้ที่งีบหลับบ่อยเสี่ยงเผชิญโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมองตีบมากกว่าผู้ที่ไม่เคยงีบหลับ ร้อยละ 12 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ซึ่งบ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างความถี่ในการงีบหลับตอนกลางวัน กับโอกาสการเกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดสมองหวังเอ้อ หัวหน้าทีมวิจัยดังกล่าว เผยว่าแม้การศึกษานี้จะมุ่งเป้าไปที่กลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุในยุโรป ทว่ามันอ้างอิงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของการศึกษาทางคลินิก จึงถือเป็นภาพสะท้อนกลุ่มประชากรโดยทั่วไป อีกทั้งเสริมว่ากลไกภายในของความเชื่อมโยงระหว่างการงีบหลับกับโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่นๆ นั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจนและจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง