ผู้ป่วยพาร์กินสัน เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ ?
"ความเข้าใจของคนทั่วไปอาจจะคิดว่าสมองเสื่อม หมายถึงความจำไม่ดี แต่ความจริงแล้วสมองเสื่อม คือการทำงานของสมองมีความเสื่อม ขึ้นอยู่กับสมองส่วนไหนเสื่อม หากสมองส่วนการเคลื่อนไหว ซึ่งอยู่บริเวณก้านสมองและแกนกลางของสมองเสื่อม ก็จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน โดยจะมีอาการด้านการเคลื่อนไหวเป็นอาการเด่น ส่วนโรคอัลไซเมอร์ ก็เป็นสมองเสื่อมที่พบบ่อยชนิดหนึ่ง แต่เสื่อมในส่วนระบบความจำ ซึ่งทั้งสองโรคก็คือภาวะสมองเสื่อม" ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าว
โรคพาร์กินสัน นำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ได้ ?
ศ.นพ.รุ่งโรจน์ ชี้แจงว่า สามารถเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยที่มีความเสื่อมทางด้านความจำ ก็อาจจะนำไปสู่สมองเสื่อมด้านการเคลื่อนไหวได้เช่นเดียวกัน โดยพบว่า 50% ของผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีระยะเวลาของโรคนาน จะมีอาการอัลไซเมอร์ร่วมด้วย เช่นเดียวกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ที่มีระยะเวลาของโรคนาน ก็อาจส่งผลให้เป็นพาร์กินสันได้
ภาวะสมองเสื่อม 1 ใน 3 มีสาเหตุจากปัจจัยทางพันธุกรรม แต่อีก 2 ส่วน คือปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น พฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถเลี่ยงและปรับเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองได้ เช่น การใช้ความคิดอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง กินอาหารที่ดี และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
เรียบเรียงโดย : ธัญรมณ ไพศาลสุนทรกิจ
ผู้สื่อข่าว คอลัมน์
ข่าวนี้จริงไหม ?
ภาพจาก
getty images
ช่างภาพTNN ช่อง16