รีเซต

ชูเกียรติ-คีรีนำทีม ควักเงินล้านซื้อหุ้น

ชูเกียรติ-คีรีนำทีม ควักเงินล้านซื้อหุ้น
ทันหุ้น
16 มีนาคม 2566 ( 07:08 )
182
ชูเกียรติ-คีรีนำทีม ควักเงินล้านซื้อหุ้น

#ผู้บริหารบจ. #ทันหุ้น – 20 บิ๊กบจ. มั่นใจหุ้นตัวเอง จ่ายเงินล้านซื้อหุ้นตอนแพนิค ชูเกียรติ นำทีมกวาด SABUY 74.67 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 11.76 บาท ตามด้วย “คีรี” ตัดหน้ารถไฟฟ้าสีเขียวซื้อหุ้น BTS มูลค่า 26.76 ล้านบาท ขณะที่บิ๊ก NOBLE, SIRI, ORI, CHASE, ACE, KKP, PCC, JDF, IP, AAI, MTW ติดโผ ด้านชูเกียรติรับสร้างมั่นใจ

 

การตื่นตระหนกของตลาดหุ้นไทยในช่วงวันที่ 13 และ 14 มีนาคม 2566 ที่ปรับตัวลงแรงรวม 75.76 จุด หลังโลกสั่นสะเทือนกับกรณีที่ธนาคารพาณิชย์สหรัฐประสบปัญหาจนต้องปิดตัวลง นับเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่าบรรดาผู้บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน คิดอย่างไรกับราคาหุ้นของบริษัทตัวเองที่ลดลงมา

 

จากข้อมูลแบบรายงการการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของผู้บริหาร หรือแบบ 59-2 ที่รายงานโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. พบว่า มีผู้บริหารหลายรายได้เข้ามาซื้อหุ้นเก็บเข้าพอร์ต 

 

โดยมีถึง 20 บริษัทจดทะเบียนที่ควักเงินจำนวนเกินล้านบาทเข้าซื้อหุ้นช่วงหุ้นลงแรง อันดับ 1 คือ นายชูเกียรติ รุจนพรพจี ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY ที่เข้ามาซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 จำนวน 6,350,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 11.76 บาท คิดเป็นมูลค่า 74,676,000 บาท อย่างไรก็ดีนายชูเกียรติได้ขาย SABUY-W1 จำนวน 20,500,000 หน่วย ราคา 4.73 บาท มูลค่ารวม 96,965,000.00 บาท

 

รองลงมาได้แก่นายคีรี  กาญจนพาสน์ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้เข้ามาซื้อหุ้นเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 จำนวน 4,000,000 ล้าน ในราคาหุ้นละ 6.69 บาท คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 26,760,000 บาท, อันดับ 3นาย แฟรงค์ ฟง คึ่น เหลียง ซื้อหุ้น NOBLE รวม 19,860,000บาท อันดับ 4นาย วันจักร์ บุรณศิริ ซื้อหุ้น SIRI รวม 17,500,000บาท

 

อันดับ 5นาย บรรยง พงษ์พานิช ซื้อหุ้น KKP มูลค่า 12,800,000บาท อันดับ 6 นาง อารดา จรูญเอก ซื้อหุ้น ORI มูลค่า 6,000,000บาท อันดับ7 นาย จอมทรัพย์ โลจายะ ซื้อหุ้น SUPER มูลค่า 4,845,000 บาท อันดับ8 นาย กิตติ สัมฤทธิ์ ซื้อหุ้น PCC มูลค่า 7,536,000 บาท อันดับ9นายประชา ชัยสุวรรณ ซื้อหุ้น CHASE มูลค่า4,215,000บาท

 

อันดับ 10นายธีรวุฒิ ทรงเมตตา เข้าซื้อหุ้น ACE  มูลค่าเงินลงทุน 3,696,000 บาท อันดับ11นายวิบูลย์ อุตสาหจิต ซื้อหุ้น SPA มูลค่า 3,395,241บาท  อันดับ12นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ซื้อหุ้น KKP มูลค่า 2,981,250บาท

 

อันดับ13นาย เชง นิรุตตินานนท์ ซื้อหุ้น TU มูลค่า2,850,000บาท  อันดับ 14นาย สุริยันต์ โคจรโรจน์ ซื้อหุ้น SKR มูลค่า 2,495,160บาท อันดับ 15 นาย ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ ซื้อหุ้น IP มูลค่า1,923,000 บาท อันดับ 16 นาง อรสา ตั้งสัจจะพจน์ ซื้อหุ้น EKH มูลค่า1,580,000 บาท อันดับ 17 นายสุรพล นิติไกรพจน์ ซื้อหุ้น JDF คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 1,500,784 บาท อันดับ 18 นาย ปิติ ตัณฑเกษม ซื้อหุ้น TTB มูลค่า 1,320,000 บาท

 

อันดับ 19  ร.อ.สุทธินันท์ หัตถวงษ์ ซื้อหุ้น AAI  รวมมูลค่า 1,300,000 บาท อันดับ 10 นางสาว ลัดดา คำราช เข้าซื้อหุ้น MTW รวมมูลค่า 1,188,510 บาท

 

@ลึกชูเกียรติโกยหุ้น SABUY

 

นายชูเกียรติ รุจนพรพจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SABUY เปิดเผยว่า การที่เข้าซื้อหุ้น SABUY เนื่องจากมีความมั่นใจในบริษัท ซึ่งได้ประกาศไว้ก่อนหน้าว่า SABUY เป็นชีวิตของตน โดยการเข้าซื้อหุ้น SABUY นั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ SABUY มีความมั่นใจ มีเงินทุน สามารถเดินตามแผนงานได้ ไม่ได้มองราคาหุ้นเป็นสำคัญ

 

นายชูเกียรติ ยอมรับว่า ช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงแปลงวอร์แรนต์ SABUY-W2 ในราคา 5 บาท จะพบว่า ราคา SABUY-W2 ซึ่งตนขายไปนั้น In the money สามารถแปลงวอร์แรนต์แล้วได้กำไร ทำให้ผู้ถือ SABUY-W2 และนำมาแปลงเป็นหุ้น SABUY จำนวนมาก

 

ซึ่งการแปลง SABUY-W2 ราคา 5 บาท ทำให้เงินเข้าบริษัทเป็นจำนวนมากถึงขณะนี้ 600 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มการแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ นับพันล้านบาท ดังนั้นบริษัทจะได้รับเงินมาในช่วงนี้ค่อนข้างมาก ท่ามกลางการระดมทุนยาก ซึ่งจะทำให้บริษัทมีเม็ดเงินในการลงทุนในจังหวะที่น่าสนใจเช่นนี้

 

ดังนั้นเป้าหมายของตนต้องการให้ SABUY มีเงินทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนตัวอาจจะมีการเสียบ้างแต่บริษัทได้ ไม่ได้มองราคาแต่อย่างใด และยืนยันว่าการซื้อหุ้น SABUY ไม่ได้ใช้มาร์จิ้นเพื่อดันหุ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าหุ้น SABUY ที่ร่วงต่ำมาจาก 38 บาท ตนไม่เคยไปเร่งหาเงินไปคืนใคร

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง