รีเซต

"โนวาแวกซ์-คาซิโน-โควาซิน" สำรวจวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตออกมาแล้ว ประสิทธิภาพดี แต่เรายังไม่รู้จัก

"โนวาแวกซ์-คาซิโน-โควาซิน" สำรวจวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตออกมาแล้ว ประสิทธิภาพดี แต่เรายังไม่รู้จัก
Ingonn
5 กรกฎาคม 2564 ( 17:00 )
162
"โนวาแวกซ์-คาซิโน-โควาซิน" สำรวจวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตออกมาแล้ว ประสิทธิภาพดี แต่เรายังไม่รู้จัก

รู้หรือไม่จริงๆแล้ว มีหลายประเทศที่พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ขึ้นมากมายและมีประสิทธิภาพดี สามารถป้องกันการกลายพันธุ์ได้สูง แต่เราอาจไม่เคยได้ยินชื้อหรือชื่อไม่คุ้นหู เนื่องจากเป็นวัคซีนที่บางรายอาจยังไม่ผ่านการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก WHO และไทยก็ไม่ได้พูดถึงวัคซีนเหล่านั้นเท่าไหร่

 

 

วันนี้ TrueID จะพามารู้จักวัคซีนโควิด-19 ที่มีอยู่บนโลกแต่เราไม่รู้ พร้อมประสิทธิภาพคับแก้ว แถมยังป้องกันโควิดกลายพันธุ์ได้ด้วย เผื่ออนาคต วัคซีนเหล่านี้ อาจเป็นกุญแจอีกดอกที่ช่วยลดการระบาดของโควิด-19 ได้

 

 

 

วัคซีนโนวาแวกซ์


วัคซีนโนวาแวกซ์หรือ NVX-CoV2373  ผลิตโดยบริษัทโนวาแวกซ์ ในรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เป็นวัคซีนผลิตด้วยกระบวนการดั้งเดิม ด้วยการสร้างโปรตีนของเชื้อไวรัสด้วยระบบ cell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด19 ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการผลิตวัคซีนโรคไอกรน และงูสวัด 

 


ในการทดลองทางคลินิกเฟส 3 มีอาสาสมัครเข้าร่วม 29,960 คน จากศูนย์ทดลอง 113 แห่งในสหรัฐฯ และอีก 6 แห่งในเม็กซิโก พบว่า มีประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19 โดยรวมอยู่ที่ 90.4%ประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) เบตา (แอฟริกาใต้) และแกมมา (บราซิล) สูงถึง 93% ยังไม่มีการศึกษาการใช้กับสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) แต่ประเมินว่าในกลุ่มเสี่ยงสูงมีระสิทธิภาพ 91%

 


สำหรับผลข้างเคียงที่พบ ได้แก่ อาการปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งจะหายภายใน 3 วัน อาการเพลียเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะหายเองภายใน 2 วัน ยังไม่พบผลข้างเคียงหรือภาวะไม่พึงประสงค์รุนแรง

 

 

 

 

วัคซีนคานซิโน


วัคซีน “คานซิโน” พัฒนาโดยบริษัทคานซิโน ไบโอโลจิกส์ อิงก์ (CanSino Biologics Inc.) ประเทศจีนใช้เทคโนโลยีฝากอะดีโนไวรัสชนิด 5 (Adenovirus type 5) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในคน เช่น ไข้หวัด เจ็บคอ ตาแดง ให้เป็นพาหะนำรหัสพันธุกรรม (DNA) ของไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อโปรตีนส่วนที่เป็นหนามของเชื้อไวรัส วัคซีนชนิดนี้ฉีดเพียงเข็มเดียว เหมือนวัคซีน “จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” ของสหรัฐอเมริกา และ “สปุตนิก วี” ของรัสเซีย 

 

 

ปัจจุบันวัคซีนคานซิโนอนุมัติใช้แล้วในประเทศจีน ปากีสถาน เม็กซิโก ชิลีและฮังการี กำลังรอการอนุมัติขึ้นทะเบียนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยขณะนี้ บริษัท แคนซิโน กำลังพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่ให้ครอบคลุมเชื้อกลายพันธุ์ สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนทุกชนิดมากที่สุด

 

 

ปัจจุบันวัคซีนคานซิโน กำลังทดลองทำวัคซีนแบบสูดหายใจเข้า ซึ่งหากสามารถประสบผลสำเร็จจะสามารถกระจายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้คนทั้งโลกได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้นกว่าปัจจุบัน

 

 

 


วัคซีนโควาซิน 


วัคซีนโควิดโควาซิน (Covaxin) หรือ BBV152 หรือที่รู้จักในชื่อ “Bharat Biotech’s COVID-19 vaccine” พัฒนาโดยภารัต ไบโอเทค ร่วมกับสภาวิจัยทางการแพทย์แห่งอินเดีย (ICMR) และสถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติ (NIV)

 

 

วัคซีนโควิดโควาซินใช้เทคโนโลยีการผลิต inactivated virus vaccine หรือวัคซีนเชื้อตายคือ การทำให้เชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ตายด้วยสารเคมี หรือความร้อนก่อน เมื่อนำมาฉีดเข้าไปในร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสดังกล่าวขึ้นมา เช่นเดียวกับวัคซีนโควิดซิโนแวคและวัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม

 

 

ผลการศึกษายังพบว่าวัคซีนตัวนี้มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิดแบบแสดงอาการได้ถึง 77.8% สามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงจากโควิด-19 ได้ถึง 93.4% และยังสามารถต้านทานเชื้อสายพันธุ์“เดลตา”หรือสายพันธุ์อินเดียที่พบเป็นครั้งแรกในอินเดียได้ถึง 65.2% ในผลการทดลองระยะที่ 3

 

 

 

 

วัคซีนไซคอฟ-ดี 

 

วัคซีนไซคอฟ-ดี (ZyCoV-D) ผลิตโดยบริษัท ไซดุสคาดิลา เป็นวัคซีนพลาสมิดดีเอ็นเอ (Plasmid DNA) ตัวแรกของโลก การปรับใช้เทคโนโลยีนี้สามารถปรับให้เข้ากับการกลายพันธุ์ของไวรัสได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันอยู่ในระยะสการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดียในศูนย์ทดลองมากกว่า 50 แห่ง และเป็นครั้งแรกของอินเดียที่ทดสอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประชากรวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี

 


วัคซีนไซคอฟ-ดี เป็นแบบฉีด 3 โดส ที่ใช้วิธีฉีดผ่านเครื่องเพื่อให้น้ำยาเข้าไปในผิวหนังหรือระบบการฉีดยาแบบไร้เข็มของบริษัทฟาร์มา เจ็ต (Pharma Jet) ทั้งยังสามารถลดการเกิดผลข้างเคียงใดๆ ลงได้อย่างมาก และปลอดภัยสำหรับเด็ก

 


วัคซีนสามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส แต่จะยังคงปกติดีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน อีกทั้งยังมีความทนทานต่อความร้อน ช่วยให้สามารถขนส่งและจัดเก็บวัคซีนได้ ลดความเสี่ยงจากการขนส่งแบบห่วงโซ่ความเย็นที่อาจทำให้วัคซีนเสียหาย

 

 

 

วัคซีนโควิชีลด์


วัคซีนโควิชีลด์ (Covishield) ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย(Serum Institute)ร่วมกับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าจากอังกฤษ 


องค์การอนามัยโลก(WHO)อนุญาตให้ทุกประเทศทั่วโลกใช้วัคซีนโควิชีลด์ในกรณีฉุกเฉินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่ในปัจจุบันสำนักงานยาแห่งยุโรปไม่รับรองวัคซีนโควิชิลด์ เนื่องจากความกังวลว่าจะมีความแตกต่างจากวัคซีนตัวดั้งเดิม และมีผลให้โควิชิลด์ไม่ได้รับการบรรจุให้อยู่ในวัคซีนพาสปอร์ตของยุโรป ซึ่งทำให้สหภาพแอฟริกาที่มีการใช้โควิชิลด์เป็นวัคซีนหลักระบุว่า ประกาศของยุโรปอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในแอฟริกา

 

 

 

 

วัคซีนคิวบา โซเบอรานา 2 และ อับดาลา

 

รัฐบาลคิวบาพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ถึง 2 ตัวมีชื่อว่า “โซเบอรานา 2” (Soberana 2) มีประสิทธิภาพต้านโควิดได้ 62% และวัคซีน “อับดาลา” (Abdala) มีประสิทธิภาพต้านไวรัสโควิด-19 สูงถึง 92.28% จากผลการทดลองทางคลินิกในมนุษย์ขั้นสุดท้าย แต่วัคซีนทั้ง 2 ตัวของคิวบา ต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม

 

 

คิวบาอาจกลายเป็นประเทศที่ไม่ต้องสั่งซื้อวัคซีนจากประเทศอื่นที่อาจมีราคาแพง เพราะสามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของตัวเองขึ้นมา 4 ชนิด จนใกล้สำเร็จแล้ว ขณะนี้ มีหลายประเทศ โดยเฉพาะเวียดนาม อาร์เจนตินา และอิหร่าน ให้ความสนใจติดต่อขอซื้อวัคซีนจากคิวบาแล้ว

 

 

สถาบันฟินเลย์ หนึ่งในองค์กรวิจัยด้านวิทยาศาสตร์แถวหน้าของคิวบา ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติของคิวบา เปิดเผยผลการทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิกในระยะที่สามของวัคซีนทั้ง 2 ตัวที่คิวบาพัฒนาขึ้นเอง ได้แก่ ‘Abdara’ และ ‘Soberana 2’ พบว่า มีประสิทธิภาพเกินมาตรฐานสากลในการต้านไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ คาดองค์การอนามัยโลกเตรียมรับรองให้ใช้เป็นการฉุกเฉินเร็วๆ นี้

 

 

ส่วนแผนการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนหลังจากวัคซีนได้รับอนุมัติ รัฐบาลคิวบาจะเริ่มฉีดให้แก่กลุ่มเสี่ยงสูงสุดก่อน คือบุคลากรการแพทย์ และผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และตั้งเป้าหมายจะฉีดวัคซีนให้ชาวคิวบาได้ 6 ล้านคนภายในเดือนสิงหาคมนี้ และฉีดครบทุกคนภายในสิ้นปีนี้ โดยคิวบามีประชากรทั้งหมด 11 ล้านคน

 

 



 

 

 

ข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ , PPTV , TNN , infoquest

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง