รีเซต

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เผยชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์เอเลี่ยน

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เผยชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์เอเลี่ยน
TNN ช่อง16
24 พฤศจิกายน 2565 ( 13:16 )
118
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เผยชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์เอเลี่ยน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2022 ที่ผ่านมา นาซา (NASA) ได้เผยภาพจำลองดาวเคราะห์แวส์ป-39 บี (WASP-39 b) ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเราออกไป 700 ปีแสง นอกระบบสุริยะ ซึ่งมันมีฉายาว่า “ดาวเสาร์ที่ร้อนแรง” เนื่องจากมันมีขนาดเทียบเท่ากับดาวเสาร์

ภาพจำลองจากข้อมูล 

สำหรับภาพจำลองดังกล่าวถูกจำลองมาจากข้อมูลชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่วัดได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบรายละเอียดคุณสมบัติด้านเคมีของดาวเคราะห์ที่ไม่เคยพบมาก่อน นั่นก็คือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อันเป็นโมเลกุลที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่กระตุ้นโดยแสงพลังงานสูงจากดาวฤกษ์แม่ ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบโมเลกุลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ


องค์ประกอบของชั้นบรรยากาศที่คล้ายกับโลก 

เหตุผลที่การตรวจสอบโมเลกุลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ก็เพราะว่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดจากซัลเฟอร์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ นั่นหมายความว่าในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงดังกล่าวมีก๊าซออกซิเจนอยู่คล้ายกับชั้นบรรยากาศของโลก

 

โดยก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม 2022 กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์เคยตรวจพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ดังกล่าวมาก่อนแล้ว และนอกจากคาร์บอนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้ว กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ยังตรวจพบคาร์บอนมอนอกไซด์, โซเดียม, โพแทสเซียม และไอน้ำด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดังกล่าวมีไฮโดรเจนซัลไฟด์และมีเทนอยู่หรือไม่ เนื่องจากตรวจไม่พบร่องรอยที่ชัดเจน หรือหากมีอยู่ก็อาจมีในปริมาณที่น้อยมากจนไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์


สำหรับรายละเอียดการค้นพบทั้งหมดในครั้งนี้ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ถูกเขียนเป็นรายงานการวิจัยถึง 5 เล่น ด้วยกัน ซึ่ง 3 เล่ม ถูกเปิดเผยต่อสื่อแล้ว ส่วนอีก 2 เล่ม ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง 


ข้อมูลและภาพจาก www.nasa.gov

ข่าวที่เกี่ยวข้อง