รีเซต

สรุปสัญญาณอันตราย ! ขั้วโลกใต้หายไปจากภัยโลกร้อน

สรุปสัญญาณอันตราย ! ขั้วโลกใต้หายไปจากภัยโลกร้อน
TNN ช่อง16
26 มิถุนายน 2566 ( 11:26 )
65
สรุปสัญญาณอันตราย ! ขั้วโลกใต้หายไปจากภัยโลกร้อน

ภาวะโลกร้อน เป็นสภาพการณ์ที่คนส่วนใหญ่ล้วนรู้จัก แต่การแก้ปัญหาหรือแม้แต่การชะลอสถานการณ์นี้กลับยากลำบากและเชื่องช้า ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นลุกลามไปยังทุกส่วนและทุกชีวิตบนโลก ไม่เว้นแม้แต่ขั้วโลกใต้ (Antarctica) ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน


แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้กำลังร้อนขึ้นอย่างรุนแรง

องค์การสหประชาชาติ (The United Nations) เปิดเผยรายงานอุณหภูมิพื้นผิวทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctic continent) ในช่วงที่ร้อนที่สุดของปี โดยสร้างสถิติสูงสุดใหม่ในปี 2020 อยู่ที่ 18.3 องศาเซลเซียส (°C) ณ ฐานสำรวจเอสเปแรนซา (Esperanza base) ของประเทศอาร์เจนตินา พุ่งขึ้นจากปี 2015 ที่บันทึกได้ 17.5 องศาเซลเซียส


ศาสตราจารย์ เพตเตอร์รี่ ทาลาส (Prof. Petteri Taalas) เลขาธิการใหญ่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้ย้ำว่าคาบสมุทรแอนตาร์กติกได้กลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งร้อนขึ้นเร็วที่สุดในโลก ด้วยอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียส ภายใน 50 ปี ซึ่งเป็นคำเตือนสำคัญที่ต้องการการตอบสนองอย่างเร่งด่วน


การคาดการณ์ผลกระทบจากขั้วโลกใต้ร้อนขึ้น

ข้อมูลจากองค์กรสำรวจแอนตาร์กติกาแห่งอังกฤษ (British Antarctic Survey: BAS) ได้เผยแพร่ข้อมูลการคาดการณ์ผลกระทบจากการละลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้เมื่อ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยชี้ว่าโลกจะได้รับผลกระทบทั้งด้านน้ำทะเล, ธรณีวิทยา, สภาพภูมิอากาศ, ตลอดจนระบบนิเวศท้องถิ่นทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในปี 2100 หรืออีกไม่เกิน 67 ปี ข้างหน้า


รายงานได้สรุปตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงที่อิงจากการปล่อยมลภาวะสู่ชั้นบรรยากาศ เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น 0.5 องศาเซลเซียส หากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ แต่จะพุ่งสูงสุดที่ 1.75 องศาเซลเซียส หากมีการปล่อยมลภาวะอย่างต่อเนื่อง 


ในทำนองเดียวกัน รายงานได้ระบุตัวเลขคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในปี 2100 รวมไปถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น 0.03 - 0.34 เมตร พร้อมปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 5 - 25 และอุณหภูมิเฉลี่ยโลกอาจเพิ่มขึ้น 0.5 - 3.6 องศาเซลเซียส 


การสำรวจวิจัยสภาพและองค์ประกอบของโลกที่บริเวณขั้วโลกใต้หรือแอนตาร์กติกานั้นไม่ได้มีแค่เรื่องของน้ำแข็ง เช่นงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ที่มีการค้นพบโครงสร้างประหลาดใต้โลกซึ่งสูงกว่าเทือกเขาเอเวอเรสต์กว่า 4.5 เท่า ก็เกิดจากการค้นพบด้วยเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวในบริเวณนี้เช่นกัน



ที่มาข้อมูล StatistaBritish Antarctic Survey

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง