รีเซต

NASA จำลองที่อยู่อาศัยบนดาวอังคารและเปิดให้อาสาสมัครใช้ชีวิต 1 ปี

NASA จำลองที่อยู่อาศัยบนดาวอังคารและเปิดให้อาสาสมัครใช้ชีวิต 1 ปี
TNN ช่อง16
19 เมษายน 2566 ( 09:10 )
84
NASA จำลองที่อยู่อาศัยบนดาวอังคารและเปิดให้อาสาสมัครใช้ชีวิต 1 ปี

ภารกิจของนาซา คือ การมุ่งมั่นพามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง หรือเป็นการเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบ 50 ปี ทั้งนี้ภารกิจการเดินทางไปสู่ดวงจันทร์ จะมีการแวะพักที่ดาวอังคาร ซึ่งการเดินทางไปยังดาวอังคารในครั้งนี้จะเริ่มต้นขึ้นในปี 2030


การนำยานลงจอดบนดาวเคราะห์สีแดงของนาซาเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่การพามนุษย์ไปอยู่ที่นั่นและพากลับมายังโลกอีกครั้ง คือที่สุดของความท้าทายที่จะเกิดขึ้น ภารกิจอวกาศที่มีนักบินอวกาศเดินทางไปด้วยอาจใช้เวลานานหลายปี เนื่องจากกว่าจะไปถึงที่นั่นได้ก็ใช้เวลาประมาณ 9 เดือน นาซาจำเป็นต้องแน่ใจว่าลูกเรือทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย และเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากบนโลก


นาซาได้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับวิธีที่มนุษย์จะอยู่นอกโลกในช่วงเวลาที่ยาวนาน ด้วยการจัดให้อาสาสมัคร 4 คน(วรรค)เข้าไปอยู่ในที่อยู่อาศัยจำลองบนดาวอังคารที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อใช้อยู่อาศัยตลอดทั้งปี ที่อยู่จำลองบนดาวอังคาร (CHAPEA: Crew Health and Performance Exploration Analog) ติดตั้งอยู่ที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันในเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส และมีการเปิดเผยต่อสื่อมวลชนเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ 1,700 ตารางฟุต มีห้องประมาณ 9 ห้อง รวมถึงห้องนอนส่วนตัว และห้องที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ ห้องสุขา และพื้นที่ส่วนกลาง


สิ่งอำนวยความสะดวกนี้สร้างขึ้นโดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อดูว่าสามารถใช้วิธีการสร้างที่คล้ายกันนี้บนดาวอังคารได้หรือไม่ โดยระหว่างที่อาศัยอยู่นั้นอาสาสมัครทั้ง 4 คน ที่มีพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แตกต่างกันและไม่ใช่นักบินอวกาศที่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนจะต้องอยู่อาศัยและทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยจะปฏิบัติงานคล้ายกับที่นักบินอวกาศจะทำบนดาวเคราะห์สีแดง ซึ่งจะรวมถึงการปลูกผักสลัดเพื่อใช้เป็นอาหาร การทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การไปเดินบนดาวอังคาร (Marswalks) และการใช้เครื่องจักรหุ่นยนต์มากมายตลอดการเข้าพัก 12 เดือน


การตรวจสอบสภาพร่างกายและจิตใจของแต่ละคนเป็นส่วนสำคัญของการฝึก ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าประสบการณ์จะสมจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อาสาสมัครจะต้องรับมือกับความต้องการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความโดดเดี่ยว ข้อจำกัดด้านทรัพยากร และอุปกรณ์ขัดข้อง โดยผู้อยู่อาศัยจะสามารถติดต่อกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ได้ แต่การสื่อสารจะล่าช้า 20 นาที เสมือนเป็นการติดต่อระหว่างโลกกับดาวอังคาร นั่นหมายถึงการโทรแบบปกตินั้นจะไม่สามารถทำได้ ข้อความวิดีโอ และอีเมลจึงน่าจะเป็นวิธีการติดต่อที่ดีที่สุด


หากอาสาสมัครคนใดพบว่าไม่สามารถรับมือกับสภาวะสุดขั้วได้ในเวลา 12 เดือน ก็จะได้รับอนุญาตให้ออกจากศูนย์ได้ และนาซามีสมาชิกสำรอง 2-3 คนที่จะเข้ามาทำการทดสอบแทน ที่จำเป็นต้องมีการทดสอบในลักษณะนี้เนื่องจากผู้ที่จะอาศัยอยู่บนดาวอังคารในอนาคตนั้น เพราะพวกเขาไม่สามารถละทิ้งภารกิจและความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ได้ หากต้องเผชิญกับความรู้สึกตึงเครียดเมื่ออยู่นอกโลก


ที่มาของข้อมูล Digitaltrends

ที่มาของรูปภาพ NASA

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง