รีเซต

ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วทำไมยังติดเชื้อโควิด หรือต้องฉีดสลับยี่ห้อ?

ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วทำไมยังติดเชื้อโควิด หรือต้องฉีดสลับยี่ห้อ?
Ingonn
7 เมษายน 2564 ( 22:03 )
1.6K
1

จากข่าววันนี้ ที่มีบุคคลสำคัยใสนหลากหลายวงการติดเชื้อโควิด-19 โดยพบว่าในวงการการเมือง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ มีผลตรวจเป็นบวก เท่ากับว่าติดเชื้อโควิด-19 แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกไปแล้ว และยังอยู่ระหว่างการจะฉีดเข็มที่สอง แต่การติดเชื้อยังคงเกิดขึ้นได้ ตามข้อมูลทางวิชาการทางการแพทย์ ที่ยืนยันว่า ความเสี่ยงยังคงมีอยู่ แต่อาจช่วยให้ไม่รุนแรง หรือลดทอนอาการลงได้

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด 19 ในรอบที่สามนี้ ประเทศไทยยังคงต้องรับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง แต่จะให้มีประสิทธิภาพต้องฉีดถึงสองเข็มด้วยกัน ซึ่งจากข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มีคนไทยที่ฉีดวัคซีนแล้วจำนวน 180,477 คน รับการฉีดเข็มแรกไปแล้วจำนวน  151,413 คน และฉีดครบสองเข็มแล้วจำนวน 29,064  คน แต่ก็ยังพบคนที่ติดเชื้อโควิด-19 อีกหลังจากฉีดวัคซีนไป ขณะเดียวกัน สถิติขณะนี้ถึงวันที่ 7 เม.ย. พบว่า มีการได้รับวัคซีนไปแล้วของคนไทย ประมาณ ร้อยละ 0.4 เท่านั้น การเดินหน้าฉีดวัคซีนให้ได้ในวงกว้างจึงยังคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ 

 

 

ทำไมยังติดเชื้อโควิด-19 หลังฉีดวัคซีน

 

    • วัคซีนโควิด-19 ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค ทำให้ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และไม่เสียชีวิต แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100%
      
    • การติดเชื้อ ‘หลัง’ ฉีดวัคซีนมีความเป็นไปได้สูง หากผู้ป่วยได้รับเชื้อมาก่อนที่จะฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนไปแล้วยังไม่ครบ 2 สัปดาห์
      
    • เน้นย้ำ ฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องสวมหน้ากากป้องกัน

 

 

นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า วัคซีนที่ดีที่สุด คือ วัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ วัคซีนที่ดีรองลงมาคือยังติดเชื้อได้ แต่ติดเชื้อแล้วไม่ป่วย และวัคซีนที่ดีรองลงมาอีกคือวัคซีนที่ติดเชื้อได้ ป่วยได้ แต่อาการไม่รุนแรง ลดการนอนโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิต 


ดังนั้นเมื่อคนไทยได้รับวัคซีนแล้ว จึงยังสามารถติดเชื้อได้ แต่อาการไม่รุนแรง และมีโอกาสในการแพร่เชื้อน้อยมาก เมื่อมีการรับวัคซีนมากพอ โรคโควิด-19 ก็จะค่อยๆ หยุดการแพร่ระบาดได้ 

 

 

"วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันทุกคนที่ฉีดจากการติดเชื้อควิด-19 ได้ และยังไม่มีข้อมูลว่าเมื่อฉีดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 ได้นานเท่าไร รวมถึงไม่มีข้อมูลว่าผลการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันนั้น ทำให้ภูมิต่อไวรัสโควิด-19 มีผลลดลงกว่าในคนปกติหรือไม่ "

 

 

เปิดเคสทั่วโลกที่ฉีดวัคซีนแล้วยังติดเชื้อ

 

1.ประเทศไทย ผู้ป่วยจังหวัดราชบุรีติดเชื้อก่อนจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด แต่เป็นการติดเชื้อที่ไม่ได้รับอาการรุนแรง

2.ประเทศจีน ผู้ป่วยได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว แต่ทำงานในพื้นที่กักกันของโรค ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองซีอาน จึงพบติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน

3. ประเทศสหรัฐฯ ชายชาวอเมริกันจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ติดเชื้อโควิด-19 หลังจากเพิ่งได้รับวัคซีนโดสที่ 2 และเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนการตรวจพบเชื้อ ผู้ป่วยรายนี้เข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลมิชชั่น ในเมืองมิชชั่นวีโจ เพื่อรักษาอาการป่วยที่ไม่เกี่ยวข้องกับโควิด-19

4.ประเทศสหรัฐฯ มีชาวฮาวาย 3 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ครบ 2 เข็มแล้ว แต่ 1 ใน 3 ตระเวนเดินทางไปหลายเมืองในสหรัฐ

5.ประเทศฝรั่งเศส คือ นางโรสลิน บาเชโล รัฐมนตรีวัฒนธรรมฝรั่งเศส วัย 74 ปี เข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว ยังพบติดเชื้อ แต่มีอาการไม่รุนแรง และเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในกรุงปารีส

 

 

จะเห็นได้ว่าหลังฉีดวัคซีนโควิด-19แล้ว ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรเดินทางไปในสถานที่เสี่ยง หรือใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ และที่สำคัยต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยุ่ร่วมกับผู้อื่น

 

 

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มี 2 ชนิดที่ให้ประชาชนรับการฉีด


1.วัคซีนแอสตร้าเซนเนกา  เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector

  • ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • ฉีดเข้ากล้ามครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน)
  • ฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 4 – 12 สัปดาห์


       
2.วัคซีนซิโนแวค เป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine)

  • ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน)
  • ฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 2 – 4 สัปดาห์ (ผู้ที่อยู่บริเวณความเสี่ยงสูงหรือระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์)

 

 

 

ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อได้ไหม

ยังไม่มีข้อมูลวิทยาศาสตร์เพียงพอที่จะสรุปว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ยี่ห้อต่างกัน มีผลข้างเคียงอย่างไร ขณะที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ไว้ดังนี้

 

  • การฉีดวัคซีนโควิด19 จำนวน 2 โดสที่มียี่ห้อต่างกันมีความเป็นไปได้ เนื่องจากการทำงานของวัคซีนโควิด คือ เข้าไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันหรือกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีเพื่อจัดการเชื้อโควิค 19 ถ้ารับโดสแรกไปแล้ว น่าจะมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาระดับหนึ่ง เมื่อเว้นระยะประมาณ 1 เดือน ถ้าฉีดวัคซีนต่างยี่ห้อ ก็จะยิ่งเพิ่มภูมิคุ้มกันขึ้นไปอีก ไม่น่ามีปัญหาอะไรมากนัก
  • ถ้าฉีดยี่ห้อใดครบ 2 โดสแล้ว อยากไปฉีดซ้ำยี่ห้ออื่นซ้ำสามารถทำได้ ยกเว้นกรณีที่มีคำเตือนหรือคำห้ามจากองค์กรแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ออกมา 

 

 

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม

 

ในเดือน พ.ค. – ส.ค. จะเป็นช่วงเวลาที่กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ ซึ่งจะคาบเกี่ยวกับแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเดือน มิ.ย.


วัคซีนของแอสตราเซเนกา จะเว้นช่วงเข็มแรกกับเข็มที่ 2 ประมาณ 12 สัปดาห์ (3 เดือน) ก็สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่คั่นกลางได้ 

วัคซีนของซิโนแวค จะเว้นช่วงระหว่างเข็มแรกและเข็มที่ 2 ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ควรฉีดให้ครบ 2 เข็มก่อน แล้วเว้นไปอีก 4 สัปดาห์จึงสามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้

 


1 เมษายนนี้ ให้ทุกจังหวัดเตรียมฉีดวัคซีน


1.จังหวัดเป้าหมาย 22 จังหวัด ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ 
พื้นที่เพื่อควบคุมการระบาดของโรค 6 จังหวัด 3.5 แสนโดส
พื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8 จังหวัด 2.4 แสนโดส โดยอาจเพิ่มกลุ่มพนักงานโรงแรม และพนักงานขับรถสาธารณะ 
พื้นที่ชายแดนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ 8 จังหวัด 5 หมื่นโดส เน้นผู้ที่ทำงานที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ปฏิบัติในสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และสถานกักตัว 

 

2.จังหวัดอื่นๆ ที่เหลือจำนวน 1.6 แสนโดส เพื่อซักซ้อมความพร้อมทุกจังหวัดก่อนเริ่มฉีดวัคซีนจำนวนมากในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป 
จังหวัดขนาดเล็ก ประชากรน้อยกว่า 1 ล้านคน จำนวน 800 โดส
จังหวัดขนาดใหญ่ ประชากร 1 -1.5 ล้านคน จำนวน 1,000 โดส 
จังหวัดขนาดใหญ่พิเศษมีประชากรมากกว่า 1.5 ล้านคน จำนวน 1,200 โดส 
เน้นการฉีดในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 

 

นอกจากนี้ ยังเตรียมวัคซีนสำหรับ อสม.อีกจังหวัดละ 1,000 โดส ดังนั้น จังหวัดขนาดเล็กจะได้รับวัคซีน 1,800 โดส จังหวัดขนาดใหญ่ได้รับวัคซีน 2,000 โดส และจังหวัดขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับวัคซีน 2,200 โดส

 

สำหรับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า 1 ขวด ตามปกติสามารถฉีดได้ 10 โดส โดสละ 0.5 มิลลิลิตร เนื่องจากผู้ผลิตได้บรรจุวัคซีนมาเผื่อ โดย 1 ขวดมีวัคซีนปริมาณ 6.5 มิลลิลิตร หากบริหารจัดการการฉีดอย่างดีอาจฉีดได้ 11-12 โดสต่อขวด จะทำให้ฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชาชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง ขอให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำรวจความต้องการผู้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ตามความสมัครใจ

 

 

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19, กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต, โรงพยาบาลกรุงเทพ, TNN, เพจนพ.ยง ภู่วรวรรณ, เพจธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ไขข้อข้องใจ ถึงสาเหตุ ‘เสียชีวิต’ หลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19

ทั่วโลกฉีดวัคซีนแล้วกว่า 500 ล้านโดส ใน 140 ประเทศ อาเซียน 12 ล้านโดส

รู้จักวัคซีนโควิด-19 “จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” ฉีดเข็มเดียวรู้เรื่อง!

"วัคซีนโควิด-19" ของไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก

สำรวจอาการแพ้วัคซีนป้องกันโควิด-19 “แอสตราเซเนกา” หลายประเทศจ่อทบทวนความปลอดภัย

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง