รีเซต

จรวด SLS กลับเข้าฐาน เตรียมปล่อยภารกิจอาร์เทมิส 1 วันที่ 14 พฤศจิกายนนี้

จรวด SLS กลับเข้าฐาน เตรียมปล่อยภารกิจอาร์เทมิส 1 วันที่ 14 พฤศจิกายนนี้
TNN ช่อง16
4 พฤศจิกายน 2565 ( 13:51 )
40
จรวด SLS กลับเข้าฐาน เตรียมปล่อยภารกิจอาร์เทมิส 1 วันที่ 14 พฤศจิกายนนี้

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2022 เวลาประมาณเที่ยงคืน หรือประมาณ 11 โมง ตามเวลาประเทศไทย จรวดเอสแอลเอส (SLS หรือ Space Launch System) ได้เดินทางกลับเข้าสู่ฐานปล่อยจรวด 39บี (39B) ณ ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ในรัฐฟลอริดาอีกครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายทั้งหมด 8 - 12 ชั่วโมง เพื่อเตรียมปล่อยตัวในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2022 นี้ สำหรับภารกิจอาร์เทมิส 1 (Artemis 1)


แม้ว่าการเคลื่อนย้ายจรวดในช่วงกลางคืนจะส่งผลต่อวิสัยทัศน์การมองเห็น และทีมเจ้าหน้าที่มีความต้องการปฏิบัติงานในช่วงกลางวันมากกว่า แต่การเคลื่อนย้ายจรวดในช่วงกลางคืนสามารถทำได้อย่างปลอดภัยมากกว่า และเป็นไปตามข้อกำหนดของภารกิจทั้งหมด ดังนั้นทีมเจ้าหน้าที่จึงต้องอาศัยทั้งกล้องอินฟราเรดและไฟขนาดใหญ่ เพื่อช่วยเสริมทัศนวิสัยในการมองเห็น


เตรียมปล่อยภารกิจอาร์เทมิส 1 (Artemis 1) 

สำหรับการปล่อยตัวของจรวดเอสแอลเอสในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2022 ที่จะถึงนี้ นับเป็นความพยายามอีกครั้งในการดำเนินตามกำหนดการของภารกิจอาร์เทมิส 1 ซึ่งเป็นภารกิจที่จะส่งยานอวกาศโอไรออน (Orion) ไปบินรอบดวงจันทร์ก่อนจะเดินทางกลับสู่โลก 

โดยกำหนดการปล่อยจรวดในเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา ถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากพายุเฮอร์ริเคน เอียนที่เข้าถล่มชายฝั่งฟลอริดา ส่งผลให้ทีมเจ้าหน้าที่ต้องนำจรวดเอสแอลเอสออกจากฐานปล่อยจรวด แล้วนำไปเก็บในอาคารประกอบยานพาหนะ (VAB) ที่อยู่ห่างออกไปหลายร้อยไมล์ เพื่อความปลอดภัย


“ตอนที่เราต้องเก็บจรวดหนีพายุเฮอร์ริเคน ผมบอกได้เลยว่ามันน่าผิดหวังมาก” - คลิฟฟ์ แลนแฮม (Cliff Lanham) ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการด้านยานยนต์ของโครงการระบบตรวจสอบภาคพื้นดินกล่าว


บูสเตอร์อาจหมดอายุการรับรอง 

อย่างไรก็ตาม การเลื่อนกำหนดการปล่อยตัวจรวดของภารกิจอาร์เทมิส 1 อาจตามมาด้วยข้อกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของบูสเตอร์ เนื่องจากข้อต่อที่เชื่อมระหว่างบูสเตอร์และจรวดมีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และแบตเตอรี่บูสเตอร์มีอายุการใช้งานเพียง 3 เดือนต่อรอบการชาร์จ รวมไปถึงระยะเวลารับรองจากผู้ผลิตบูสเตอร์ที่จะหมดอายุในวันที่ 9 ธันวาคม 2022 นี้


ข้อมูลจาก www.theverge.com

ภาพจาก www.nasa.gov

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง