จับตา “รัฐบาลขั้วใหม่” “เพื่อไทย-ภท.”ประเดิม 212 เสียง
แถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (7 ส.ค.66) กับการจับขั้วรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคอันดับ 2 ของสภาผู้แทนราษฎร หลังต้องพลิกมาเล่นเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล หลังจากที่พรรคก้าวไกล ไม่สามารถรวบรวมเสียง ในการจัดตั้งรัฐบาลได้ และนำไปสู่การ “ฉีกเอ็มโอยู” ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลเดิม
จัดตั้งรัฐบาล 2566
เมื่อ“ก้าวไกล” ไม่สามารถเดินต่อไปได้ “เพื่อไทย”ก็ต้องรับหน้าที่ และล่าสุด ก็ได้ตัดสินใจเชิญพรรคอันดับ 3 นั่นก็คือ “ภูมิใจไทย” มาหารือ เพื่อร่วมกันในการจัดตั้งรัฐบาล
แต่คนที่จะมาร่วมหัวจมท้ายกัน จะต้องคุยกันก่อน โดยภูมิใจไทย ก็ได้ตั้งเงื่อนไขและหลักการ 3 ข้อ ก่อนที่จะร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย
โดยเงื่อนไขและหลักการ 3 ข้อ ที่ภูมิใจไทย เสนอนั่นก็คือ
1.ไม่แตะ และไม่แก้ไขมาตรา 112
2. ไม่จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย
และ 3. ต้องไม่มีพรรคก้าวไกล เป็นพรรคร่วมรัฐบาล
ทั้งนี้ “อนุทิน ชาญวีรกูล”หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ก็ได้ให้คำยืนยันว่า “ขณะนี้ ถ้ายังไม่เชิญพรรคอื่นมาหารือ ก็ถือว่า พรรคเพื่อไทยสามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลโดยมี 141 +71 เสียง รวมเป็น 212 เสียง เมื่อมีการเชิญพรรคอื่นๆ ก็จะได้มีความมั่นใจว่า ในขั้วนี้เราสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้”
ขณะที่ “นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว” หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้แถลงว่า พรรคเพื่อไทย ในฐานะพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ร่วมกับพรรคภูมิใจไทย เห็นว่า ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้ จึงกำหนดแนวทางในการจัดตั้งรัฐบาล ดังนี้
1. ยึดวาระของประเทศ และประชาชนเป็นที่ตั้ง โดยเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ และประชาธิปไตย นำความปรองดอง สมานฉันท์กลับคืนสู่ประเทศ
2. เร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการประชุมคณะรัฐมนตรีในวาระแรก จะมีมติให้ทำประชามติขอจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกระบวนการจัดตั้ง สสร.
3. ดำเนินงานการเมืองอย่างสร้างสรรค์ ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเต็มที่ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์จะร่วมกันผลักดันให้สำเร็จ สิ่งใดที่เป็นปัญหา จะต้องถูกตรวจสอบ และเร่งแก้ไขให้ถูกต้อง
4. จัดตั้งรัฐบาลที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
และ 5. การจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ เปิดกว้างให้ สส. และ สว. มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการเลือกนายกฯ เพื่อผ่าทางตันระบบการเมืองของประเทศ และฝ่าวิกฤตรัฐธรรมนูญ ที่สร้างปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ นพ.ชลน่าน ยังได้ขอบคุณ และกล่าวว่า 212 เสียงของเพื่อไทยและภูมิใจไทย ถือเป็น “สารตั้งต้นที่ถือว่ามีความเข้มแข็ง” และหลังจากนี้ จะเดินหน้าทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้ง สส.และ สว. เพื่อแสวงหาความร่วมมือ และกอบกู้วิกฤตของประเทศในครั้งนี้
เมื่อได้ฟังเงื่อนไข หลักการ และเจตนารมณ์ ของแกนนำทั้ง 2 พรรค อีกทั้ง นพ.ชลน่าน มั่นใจว่า จะเป็น“สารตั้งต้นที่ถือว่ามีความเข้มแข็ง” ถือว่า เป็นทิศทางดีที่ ที่ประเทศจะได้เดินหน้า
แต่ทางเดินใหม่ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในห้วงที่ผ่านมา เกมการเมืองไทย ซับซ้อน และมีเงื่อนไขมากมาย และที่สำคัญ นับจากนี้ ต้องจับตาเกมการดีลกับพรรคการเมืองอื่นๆ ที่จะเข้าร่วมรัฐบาล เพราะเชื่อว่า การต่อรองจะเป็นไปอย่างเข้มข้น และเกม “ขั้วรัฐบาลใหม่” นี้ จะต้องวัดใจว่าพรรคเพื่อไทย จะยอมได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ผ่านด่าน 375 เสียง ไปให้ได้.
มนตรี ขัดเรือง เรียบเรียง
เกาะติด โหวตนายก 2566
บทความเกี่ยวกับการ โหวตนายกรัฐมนตรี 2566
- ประธานสภา ก้าวไกล-เพื่อไทย ใครได้นั่ง?
- ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้!
- ประธานรัฐสภา จากอดีต-คนปัจจุบัน 2566 ไทยมี ประธานรัฐสภาไทย มาแล้วกี่คน
- เลือกนายกฯ เปิดโพลสำรวจความเห็นปชช. 'ราบรื่น-มีอุปสรรค' หรือไม่?
- "ส.ว.วุฒิพันธุ์" ย้ำจุดยืน โหวตนายกฯคนที่ 30 จากพรรคที่มี ส.ส.มากสุด
- โหวตนายกได้กี่รอบ? เปิด 3 แนวทาง โหวตนายกฯ คนที่ 30
- ประชุมสภา 13 กรกฎาคม 2566 โหวตนายกรัฐมนตรี 09.30 น. เป็นต้นไป
- เปิด 3 แนวทาง 13 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 30
- เปิด "กติกา" โหวตนายกฯ คนที่ 30 พร้อมเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาล
- ตร.เตรียมกำลังดูแลวัน "โหวตนายกรัฐมนตรี" แนะเลี่ยงเส้นทางหน้ารัฐสภา
- เปิดท่าทีส.ส.แต่ละพรรคมอง ‘วันโหวตนายกฯ’ ราบรื่นหรือไม่?
- ถ่ายทอดสด "โหวตนายกรัฐมนตรี" 13 กรกฎาคม 2566 เกาะติดพร้อมกันที่นี่!
- เปิดแผนการรักษาความปลอดภัยรอบรัฐสภารับ “วันโหวตนายกฯ” ย้ำยึดหลักสากล
- "พิธา" พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ วันโหวตนายกฯ
- "โหวตนายกฯ" เช็กเสียง 750 สมาชิกรัฐสภา
- ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งรับคำร้องกกต.ยื่นสอบ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" เข้าระบบแล้ว
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก