รีเซต

ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้!

ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้!
TeaC
19 มิถุนายน 2566 ( 16:45 )
259
ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้!

ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? ทำไมใคร ๆ ก็อยากได้เก้าอี้นี้! ประเด็นร้อนแรงทางการเมืองที่ทำเอานักการเมืองเดือดไม่น้อย สำหรับตำแหน่ง "ประธานรัฐสภาไทย" ที่เหล่า พรรคการเมือง ต่างอยากได้กุมบังเหียน

 

ประธานสภา หน้าที่มีอะไรบ้าง? 

 

สำหรับ ประธานรัฐสภาไทย ถือเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติของไทย มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่ได้กำหนดไว้ เป็นผู้ดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา และยังเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

 

 

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภานั้นจะเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้รัฐสภาไทยประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรโดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง

 

ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน คือใคร?

ปัจจุบันพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน เนื่องจากประธานสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดวาระลงภายหลังการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566

 

อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาไทย

 

ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อที่ 5 ประธานรัฐสภามีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

 

  1. เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา และต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
  2. กำหนดการประชุมรัฐสภา
  3. ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา
  4. รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา
  5. เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก
  6. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตาม (7)
  7. หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

 

ประวัติ ประธานรัฐสภา

 

ตำแหน่งประธานรัฐสภานั้น เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พร้อมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับแรกคือ

 

  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ได้กำหนดให้รัฐสภามีแค่สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว จึงถือว่าประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา

 

ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบไปด้วยพฤฒิสภา (วุฒิสภา) และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในมาตรา 63 กำหนดไว้ว่า ให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และให้ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธาน ซึ่งรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับต่อมาคือ

 

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ก็ได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภาเช่นกัน

 

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ทำการรัฐประหารตนเอง และได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้รัฐสภามีเพียงแค่สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น จึงทำให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา

 

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้วนั้น และยังคงให้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ต่อไป แต่ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งและได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502แทน ซึ่งกำหนดให้ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นประธานรัฐสภา

 

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511

ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ซึ่งได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ต่อมาวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจรได้ทำการรัฐประหารตนเอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ได้กำหนดให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานรัฐสภา หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งทำให้จอมพลถนอม กิตติขจรหมดอำนาจลง และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ได้กำหนดไว้ว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ฝ่ายนิติบัญญัติที่ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา

 

ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ทำการรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 กำหนดให้ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นประธานรัฐสภาต่อมาพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้งพร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 กำหนดให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานรัฐสภา ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ซึ่งได้กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา

 

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ทำการรัฐประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ซึ่งกำหนดให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานรัฐสภา ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็ รัฐสภา ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยแก้ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับถาวรต่อมาคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็ได้กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาเช่นกัน

 

ในช่วงก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้เกิดการรัฐประหารขึ้น 2 ครั้งและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนั้นได้บัญญัติไว้ว่า ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา จึงทำให้ประธานสภานิติบัญญัติเป็นประธานรัฐสภา

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย 

 

เกาะติด เลือกตั้ง 2566 

 

 

บทความเกี่ยวกับการ เลือกตั้ง 2566

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง